กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบ้านฉันปลอดขยะ ปลอดโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

ศูนย์การศึกษาประจำมัสยิดดารุสสลามปูโปะ

1. นายมะรอยิ ดามะ ประธานศูนย์ฯ
2. นายอิสมาแอลดอเฮง ที่ปรึกษาศูนย์ฯ
3. นายสะอารี ดอเลาะกรรมการ
4. นายซูลกีฟลีเปาะลีกรรมการ
5. นายอัสรีมะยี เลขานุการ/ผู้บริหารฯ

ณ ศูนย์การศึกษาประจำมัสยิด(ตาดีกา) ดารุสลามและบริเวณบ้านเด็กเยาวชนในกิจกรรม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงาร)
ในชุมชนยุคปัจจุบันขยะมูลฝอยเป็นปัญหาใหญ่ และมีความรุนแรงตามอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร และพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่จัดการ ขยะมูลฝอย แต่ก็ไม่สามารถรับมือปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่วมทั้งหมู่บ้านปูโปะแต่เดิมเป็นแหล่งทิ้งขยะของตำบลซึ่งทำให้เกิดปัญหาด้านมลพิษและความทรุดโทรมของสิงแวดล้อมร่วมทั้งเกิดโรคภัยเพิ่มมากขึ้น เช่นนั้นแล้วกิจกรรมของศูนย์การศึกษาร่วมกับกลุ่มชมรมเยาวชนจิตอาสาพัฒนาชุมชน(PDP) ได้จัดกิจกรรมบ้านฉันปลอดขยะ ปลอดโรคโดยใช้หลักการแรงจูงใจการฝึกฝนทักษะการใช้ประโยชน์จากขยะมาแปลงเป็นผลิตภัณฑ์สาธิตเพื่อสร้างมูลค่าของขยะรีไซเคิลในชื่อกิจกรรม Rumah ku tanpa Sampah tanpa Penyakit ร่วมกับงบสนับสนุนจากชุมชนและศูนย์ในการจัดกิจกรรม รายได้ที่เกิดจากการจัดกิจกรรมมาจากเงินที่ได้จากการขายขยะให้ร้านรับซื้อของเก่า ร่วมกับเงินสมทบจากศูนย์และชุมชน ซึ่งสามารถใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป ร่วมทั้งให้เด็ก เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ด้วยเหตุนี้ทางคณะกรรมการศูนย์การศึกษาประจำมัสยิด จึงได้จัดโครงการบ้านฉันปลอดขยะ ปลอดโรคซึ่งเป็นกิจกรรมต่อเนื่องภายใต้กิจกรรมของศูนย์ ร่วมถึงการจัดการของเยาวชนหมู่บ้าน เพื่อการเสริมทักษะความรู้ ด้านการจัดการขยะอย่างถูกวิธีและการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อส่งเสริมให้เยาวชน และชุมชนมีความคิดสร้างสรรค์ ตระหนัก รู้จักการดูแลรักษาสุขภาพตัวเองและสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งเพราะเด็กคือ อนาคตของชุมชนและสังคม เพื่อก่อเกิดผลต่อการมีสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยจากมลพิษรวมทั้งสามารถนำประสบการณ์นี้เพื่อไปใช้พัฒนาในชีวิตประจำวันได้
กิจกรรมดังกล่าวนี้สามารถทำให้เยาวชนมีความตระหนักถึงปัญหาขยะ สามารถใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ห่างไกลจากสิ่งอบายมุก และรู้จักการจัดการขยะในชุมชนได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กเยาวชนได้มีความรู้ รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของขยะต่างๆ และสามารถนำมาจัดการได้ถูกต้อง

เด็กละเยาวชนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 90

0.00 90.00
2 เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะในพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิด สร้างภูมิคุ้มกันทางด้านป้องกันร่างกาย อารมณ์ จิตใจให้กับเยาวชนในการดำเนินชีวิตเพื่อห่างไกลจากสิ่งอบายมุกได้

เด็กและเยาวชนตระหนัก มีจิตสำนึกมีความเข้าใจและถึงพิษภัยของขยะที่มีผลต่อสุขภาพ สังคมและสิ่งแวดล้อมและสามารถนำมาใช้ใหม่ได้

0.00 0.00
3 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะมูลฝอยได้

ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรคจากมลพิษขยะ

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/03/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน2 คน คนละ 3 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50คนๆละ 50 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 35 บาท2 มื้อเป็นเงิน 3,500บาท
    • ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ -ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 เมตร x 3 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 900บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์การอบรม ป็นเงิน 5,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมขยะแลกของ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมขยะแลกของ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุอุปกรณ์ถังขยะพลาสติกเยาวชนบ้านฉันปลอดขยะ
(นำขยะที่สามารถรีไซร์เคิลมาแลกของในกิจกรรมได้) จำนวน 20 ชุดๆละ 180บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการคัดแยกขยะในพื้นที่เป้าหมาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมกลุ่ม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมกลุ่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากรกลุ่มเดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน - ค่าวิทยากรกลุ่ม จำนวน 3 คนๆละ 4 ชม.ๆละ 200 บาท / 3 ครั้งเป็นเงิน 7,200 บาท ดังนี้ 1.3.1.กิจกรรมขวดหรรษา (กิจกรรมของวิทยากรชุดที่1) 1.3.2.กิจกรรมปุ๋ยบ้านฉันก็ทำได้(กิจกรรมของวิทยากรชุดที่2) 1.3.3.กิจกรรมหมอนจากหลอดพลาสติก (กิจกรรมของวิทยากรชุดที่3)

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มีนาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีการนำขยะไปใช้ประโยชน์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้อยละ 90 เยาวชนได้มีความรู้ รับทราบถึงปัญหาของขยะและสามารถจัดการได้ถูกต้อง
2. สามารถนำขยะมาใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะความคิด อารมณ์ จิตใจให้กับ เยาวชนในสภาวะปัจจุบันได้


>