กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สูงเม่น

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมการรวมพลังสร้างสุขภาพ อสม.ต้นแบบ สุขภาพดี ด้วยการออกกำลังกาย ปี2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สูงเม่น

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)โรงพยาบาลส่งเสริมเสริมสุขภาพตำบลบ้านโตน

นางรัชดาเด็ดขาด
นางไพรินทร์ ทาทาน และคณะ

หมู่ที่ 4,5,6,9,10 รพ.สต. บ้านโตน ตำบลสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
โรคไขมันในเส้นเลือดที่เป็นปัญหาในระดับชาติ ในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจาก การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน เช่นการบริโภคอาหาร การเคลื่อนไหวหรือมีกิจกรรมทางกายน้อย และไม่ต่อเนื่อง ซึ่ง เป็นปัจจัยหลักที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อหรือโรคเรื้อรัง เหล่านี้เนื่องด้วย อสม. คือแกนนำ หลักในการสร้างสุขภาพ ส่งเสริมหรือรณรงค์ให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกาย มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวด้วยรูปแบบต่างๆที่ส่งผลดีต่อร่างกาย สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ อันจะนำไปสู่ การไม่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังเหล่านี้ได้
ชมรม อสม.เขต รพ.สต.บ้านโตน ทั้ง 5 หมู่บ้าน มีสมาชิกจำนวน103 คน ส่วนใหญ่ เป็นสมาชิกออกกำลังกายในแต่ละหมู่บ้านที่ มารวมกันเต้นบาสโลบในช่วงตอนเย็นแต่การจัดกิจกรรมกลุ่มยังคงมีการดำเนินการไม่ต่อเนื่องหรือเป็นรูปธรรม เพราะ ขาดการประชุมติดตามประเมินกิจกรรมและองค์ความรู้ ใหม่ๆ ที่นำไปปรับปรุงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสุขภาพที่ยั่งยืน ซึ่งมีหลากหลายกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว และ สามารถนำไปต่อยอดที่บ้านหรือเผยแพร่ให้ประชาชนละแวกตนเองได้
ดังนั้นเพื่อส่งเสริมการรวมพลังสร้างสุขภาพให้ อสม.เป็นต้นแบบสุขภาพดี ด้านการเคลื่อนไหวทางกายและการออกกำลังกาย สามารถนำความรู้ ความเข้าใจ ในการขับเคลื่อนกิจกรรมสู่ชุมชน จะส่งผลดีต่อสุขภาพ ในระยะยาว ลดหรือชะลอการเจ็บป่วย ด้วยโรคไม่ติดต่อได้ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านโตน จึงจัดทำโครงการส่งเสริมการรวมพลังสร้างสุขภาพ อสม.ต้นแบบสุขภาพดีด้วยการออกกำลังกายปี 2565ขี้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อส่งเสริมการรวมพลังและ การพัฒนากิจกรรมทางกายในกลุ่มแกนนำอสม.
2. เพื่อพัฒนาความรู้ อสม.สู่การเผยแพร่และ ขับเคลื่อนกิจกรรม ในชุมชนให้ต่อเนื่องและยั่งยืน
3. เพื่อให้ ประชาชนมีความรอบรู้วิธีการและรูปแบบการเคลื่อนไหวกิจกรรมทางกาย สู่การ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ชะลอการเจ็บป่วย ด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาครู ข. ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ รูปแบบการเคลื่อนไหวและกิจกรรมทางกายและ พัฒนาทักษะกิจกรรมทางกายให้ แกนนำอสม. เพื่อนำไปขยายต่อในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาครู ข. ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ รูปแบบการเคลื่อนไหวและกิจกรรมทางกายและ พัฒนาทักษะกิจกรรมทางกายให้ แกนนำอสม. เพื่อนำไปขยายต่อในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้  รูปแบบการเคลื่อนไหวและกิจกรรมทางกายและ พัฒนาทักษะกิจกรรมทางกายให้ แกนนำอสม.  เพื่อนำไปขยายต่อในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ทักษะ เกี่ยวกับรูปแบบการเคลื่อนไหวและกิจกรรมทางกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6550.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเสวนา ส่งเสริมการเคลื่อนไหวทางกาย และจัดกิจกรรม kick off มหกรรมรณรงค์ ขยับกาย สไตล์บ้านโตน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเสวนา ส่งเสริมการเคลื่อนไหวทางกาย และจัดกิจกรรม kick off มหกรรมรณรงค์ ขยับกาย สไตล์บ้านโตน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเสวนา ส่งเสริมการเคลื่อนไหวทางกาย   และจัดกิจกรรม  kick off มหกรรมรณรงค์ ขยับกาย สไตล์บ้านโตน  ในกลุ่มผู้นำหมู่บ้าน อสม. สอบต. กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง  อสม.และประชาชนทั่วไป และนำเสนอ การออกกำลังกายของแต่ละหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม kick off มหกรรมรณรงค์ ขยับกาย สไตล์บ้านโตน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีครู ข.คือแกนนำอสม.ต้นแบบ รวมพลังและมีรูปแบบการพัฒนากิจกรรมทางกายสู่การสร้าง
สุขภาพที่ยั่งยืน
2. อสม. มีความรอบรู้สามารถเป็นแกนนำกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเรื้อรังและประชาชนทั่วไปใน การ
ขับเคลื่อนกิจกรรม การเคลื่อนไหวทางกาย ในชุมชนให้ต่อเนื่องและยั่งยืน
3.ประชาชนใส่ใจสุขภาพ มีรูปแบบในการปฏิบัติตัวสู่การเคลื่อนไหวทางกายชะลอการเจ็บป่วย
4.ประชาชนตื่นตัวเข้าร่วมกิจกรรมมหกรรมรณรงค์และมีการออกกำลังกายด้วยตนเองที่บ้าน


>