กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คอลอตันหยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.ปีงบประมาณ2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คอลอตันหยง

กลุ่มจิตอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลคอลอตันหยง

1.นางสาวปาตีเม๊าะ ระโอะ
2.นางนินาดียะห์ ซาหะ
3.นางสาวไรนะ เจะหะ
4.นายต่วนเซ๊ะ ตุแวจาโก
5.นางสาวราชาวดี อาแวกือจิ

ม.1,2,4,5,6

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง ๔ ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง ๔ ด้าน นั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบัน ประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของ เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกาย เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้า ขึ้น รวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชน จึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ ฯลฯ อีกทั้งยังมีโรคติดต่อที่กลับมาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอีก เช่น โรค วัณโรค เป็นต้น และ ที่สำคัญยังมีโรคติดต่อที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาสร้างปัญหา และเป็นภัยต่อสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้นอีก คือ โรคเอดส์ โรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ โรคโควิต เป็นต้น การจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยส่งเสริม และสนับสนุน การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง เสริมสร้างและพัฒนา ศักยภาพเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็ง แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งสถานบริการสาธารณสุขต้องมีการจัด กิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นพฤติกรรมพัฒนาปลูกต้อง ทำให้ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคทำให้ประชาชน สุขภาพถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคอลอตันหยง ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ให้สามารถดูแล และมีส่วนร่วมในการจัดการ สุขภาพของประชาชน ในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพ ให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสาน ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชนจึงมีนโยบายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะที่ จำเป็นในการปฏิบัติงานของ อสม.ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง และดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของ ชุมชน โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการอบรมพัฒนาศักยภาพอสม.ในทุกหมู่บ้านให้เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในเรื่องที่เป็น ปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนำไปถ่ายทอดความรู้ให้บริการ และประสานงานกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำ โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ปีงบประมาณ ๒๕๖5 นี้ขึ้นเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพ ทั้งด้าน การส่งเสริมสุขภาพประชาชน การป้องกันโรคในชุมชน นำไปสู่การจัดการสุขภาพครอบครัวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ แก่ อสม. ให้มีความเชี่ยวชาญตามหลักสูตรการเรียนการสอนโรงเรียน อสม.

มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ

42.00 42.00
2 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการฝึกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ ใน อสม. ให้มีความชำนาญนำไปใช้อย่างถูกต้อง

มีการฝึกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ ใน อสม. มีความชำนาญนำไปใช้อย่างถูกต้อง

42.00 42.00
3 เพื่อสร้างกลวิธีการบริการเชิงรุก โดยใช้กลไกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) โดยแบ่งสาขารับผิดชอบงานออกเป็น ๑๒ สาขาด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ

มีการบริการเชิงรุก โดยใช้กลไกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) โดยแบ่งสาขารับผิดชอบงานออกเป็น ๑๒ สาขาด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ

42.00 42.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 42

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และทักษะเรื่อง การปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพในทุกช่วงกลุ่มวัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และทักษะเรื่อง การปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพในทุกช่วงกลุ่มวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้และทักษะเรื่อง การปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพในทุกช่วงกลุ่มวัย
-ค่าอาหารในการประชุมให้ความรู้และฝึกทักษะแก่ อสม. 42 คนอัตราคนละ 50 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 4,200 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 42 คนอัตราคนละ 25 บาท จำนวน 4 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท ค่าวิทยากร 350 บ./ชม.6ชม.X2วัน เป็นเงิน 4200 บ. รวมเป็นเงิน 12,600 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กรกฎาคม 2565 ถึง 19 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้และทักษะการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีความชำนาญและนำไปใช้อย่างถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และทักษะการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีความชำนาญและนำไปใช้อย่างถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้และทักษะการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีความชำนาญและนำไปใช้อย่างถูกต้อง -ค่าอาหาร อสม. 42 คนอัตราคนละ 50 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 4,200 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 42 คนอัตราคนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท ค่าวิทยากร 350 บ./ชม.6ชม.X2วัน เป็นเงิน 4200 บ. รวมเป็นเงิน 12,600 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กรกฎาคม 2565 ถึง 21 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้และทักษะการสร้างกลวิธีการบริการเชิงรุก โดยใช้กลไกของ อสม.ประจำหมู่บ้าน แบ่งสาขารับผิดชอบงานเป็น 12 สาขา

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และทักษะการสร้างกลวิธีการบริการเชิงรุก โดยใช้กลไกของ อสม.ประจำหมู่บ้าน แบ่งสาขารับผิดชอบงานเป็น 12 สาขา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้และทักษะการสร้างกลวิธีการบริการเชิงรุก โดยใช้กลไกของ อสม.ประจำหมู่บ้าน แบ่งสาขารับผิดชอบงานเป็น 12 สาขา -ค่าอาหาร อสม. 42 คนอัตราคนละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 2,100 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 42 คนอัตราคนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท ค่าวิทยากร 350 บ./ชม.6ชม. เป็นเงิน 2,100 บ. รวมเป็นเงิน 6,300 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 กรกฎาคม 2565 ถึง 21 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ
2.มีการฝึกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ ใน อสม. มีความชำนาญนำไปใช้อย่างถูกต้อง
3.มีการบริการเชิงรุก โดยใช้กลไกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) โดยแบ่งสาขารับผิดชอบงานออกเป็น ๑๒ สาขาด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ


>