กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะบุคลากรเทศบาลตำบลบ้านสวน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

สำนักปลัด ทต.บ้านสวน

นางกัญญาภัค สว่างรัตน์ 0897741537
น.ส.ฐิติมา วิเชียรโชติ

สนามกีฬา ทต.บ้านสวน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

50.47
2 ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน

 

62.50

ผู้ใหญ่อายุ 18 - 64 ปี ทั้งหมด 3460 คน
มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 1625 คนมีหน่วยงาน
สถานประกอบการทั้งหมด 8 แห่ง
หน่วยงานและสถานประกอบการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 5 แห่ง
การพัฒนาทรัพยากรบุคคลในองค์กรให้มีคุณภาพ นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรจะต้องมีความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ดังนั้น การส่งเสริมการจัดกิจกรรมการกีฬา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นสื่อการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้สามารถมีส่วนร่วม และส่งผลดีต่อการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ การกีฬาสร้างความมีน้ำใจและความสามัคคีให้เกิดขึ้นในองค์์กรได้เป็นอย่างดีการส่งเสริมกีฬา ไม่ได้เป็นเรื่องระดับองค์กรเท่านั้น แต่ถือเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกรัฐบาล ให้ความสำคัญรวมถึงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แถลงนโยบายในด้านการยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพของบุคลากรในองค์กร ส่งเสริมการกีฬาเพื่อสุขภาพ ใช้กีฬาเป็นสื่อในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในองค์กรให้มีน้ำใจนักกีฬา มีวินัย ปฏิบัติตามกฎกติกามารยาท ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาคน โดยการจัดการทุนมนุษย์ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนและสังคมไทยเป็นสังคมที่มีคุณภาพ รวมถึงการบูรณาการหลาย ๆ ด้านเพื่อให้สังคมอยู่รวมกันอย่างมีความสุข
สำนักปลัดงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบ้านสวน เห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะบุคลากรเทศบาลตำบลบ้านสวน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

50.47 60.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน

ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน

62.50 65.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน ประกอบด้วยผู้บริหาร 5 คน ผู้อำนวยการกอง/หัวหน้าฝ่าย 8 คน ผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ จำนวน 2 คน รวม 15 คน เพื่อทำความเข้าใจโครงการ วางแผนการดำเนินกิจกรรม และสร้างแบบสำรวจพฤติกรรมการขยับกายของพนักงาน

• งบประมาณ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท รวมทั้งสิ้น 375 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2565 ถึง 16 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ
2.มีการประชุมร่วมกัน1 ครั้งจำนวน15 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
375.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจประเมินพฤติกรรมการขยับกายของพนักงานเทศบาลตำบลบ้านสวน

ชื่อกิจกรรม
สำรวจประเมินพฤติกรรมการขยับกายของพนักงานเทศบาลตำบลบ้านสวน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

•สำรวจประเมินพฤติกรรมการขยับกายของพนักงานเทศบาลทุกคน ตามแบบสำรวจที่คณะทำงานได้ร่วมกันออกแบบ โดยแบบสำรวจดังกล่าวมีรายละเอียดครอบคลุมพฤติกรรมการขยับกาย ดังนี้ 1) มีพฤติกรรมการขยับกายเพียงพอ(60 นาที/วัน) จำนวนกี่คน
2) มีพฤติกรรมการขยับกายไม่เพียงพอ(น้อยกว่า 60 นาที/วัน)จำนวนกี่คน
3) ไม่มีกิจกรรมทางกาย กี่คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 มิถุนายน 2565 ถึง 21 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

•ได้ข้อมูลพฤติกรรมการขยับกายของพนักงานเทศบาลทุกคน •ได้ข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมพฤติกรรมการขยับกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 เวทีสร้างความเข้าใจ ความตระหนัก ในพฤติกรรมการขยับกายที่เหมาะสมของพนักงานเทศบาล

ชื่อกิจกรรม
เวทีสร้างความเข้าใจ ความตระหนัก ในพฤติกรรมการขยับกายที่เหมาะสมของพนักงานเทศบาล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

•เวทีประชุมให้ความรู้และสร้างการตระหนักเรื่องพฤติกรรมการขยับกายที่เหมาะสมเของพนักงานเทศบาลทุกคน โดยวิทยากรด้านสุขภาพผู้ชำนาญการ •ร่วมกันกำหนดกติกา เพื่อดำเนินการพฤติกรรมทางกายในแต่ละสัปดาห์ เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการ - ประเมินชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง รอบเอว ความดัน ให้พนักงานทุกคนและบันทึกข้อมูลไว้ งบประมาณ - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1200 บาท - ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2x2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและวิทยากร จำนวน 81 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2025 บาท - ค่าตอบแทนบุคคลในการวัดดัชนีมวลกาย จำนวน 2 คนๆละ 200 บาท เป็นเงิน 400 บาท - ค่าสมุดบันทึกสุขภาพรายบุคคลพร้อมปากกา จำนวน 80 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มิถุนายน 2565 ถึง 28 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

•  สามารถจัดเวทีให้ความรู้และสร้างการตระหนักเรื่องพฤติกรรมการขยับกายที่เหมาะสม จำนวน 1 ครั้ง •  กติกาในการสร้างพฤติกรรมทางกายที่เหมาะสมในแต่ละสัปดาห์ •  ได้ข้อมูลน้ำหนัก ส่วนสูง ความดัน ของพนักงานเทศบาลทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6125.00

กิจกรรมที่ 4 ปฏิบัติกิจกรรมทางกาย

ชื่อกิจกรรม
ปฏิบัติกิจกรรมทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงมือปฏิบัติกิจกรรมทางกายดังนี้ 1.กิจกรรมกรีฑา กีฬาพื้นบ้านสัมพันธ์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เวลา 1ุ5.00-16.30 น - วิ่ง, ชักกะเย่อ วิ่งกระสอบ มอญซ่อนผ้า ฯลฯ 2.กิจกรรมส่งเสริมเล่นกีฬาเปตอง สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เวลา 1ุ5.00-16.30 น. งบประมาณ
- ค่าลูกเปตอง จำนวน 8 ชุดๆละ 3 ลูก ราคาชุดละ 2,500บาท เป็นเงิน 20,000 บาท - ค่าตลับเมตร 1 อันๆละ 150บาทเป็นเงิน150 บาท - ค่าเครื่องดื่ม 17 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 300 บาท เป็นเงิน 5,100 บาท 3.กิจกรรมเคลื่อนไหวจังหวะเสียงเพลง - ค่าอุปกรณ์เครื่องเสียง 1 ชุดๆละ 10,000 บาท - ค่าวิทยากรนำเต้น ครั้งละ 100 บาท (ตั้งเเต่เดือน มิถุนายน-กันยายน 2565 จำนวน 28 ครั้ง) เป็นเงิน 2,800 บาท - ออกกำลังกายเต้นแอโรบิก สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เวลา 1ุ5.00-16.00 น. (พุธ/พฤหัสบดี) (กิจกรรมเล่นสลับสับเปลี่ยนกันไป)

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

บุคลากร จำนวน 80 คน ได้ดำเนินกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38050.00

กิจกรรมที่ 5 ถอดบทเรียน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้/ทบทวน/ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้/ทบทวน/ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ถอดบทเรียน จำนวน 2 ครั้ง ในเดือนสิงหาคม 2565 และกันยายน 2565ค่าใช้จ่ายดังนี้ - ค่าตอบแทนบุคคลในการวัดดัชนีมวลกาย จำนวน 2 คนๆละ 2 ครั้งๆละ 200 บาทต่อคน เป็นเงิน 800 บาท - ค่าวิทยากรถอดบทเรียน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้/ทบทวน/ติดตามประเมินผล (ในครั้งสุดท้าย เพื่อช่วยวิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินงานและต่อยอดในครั้งต่อไป) จำนวน 1 คน รวม 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 83 คนๆละ1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2075 บาท (บุคลากรจำนวน 80 คน,บุคคลในการวัดดัชนีมวลกาย จำนวน 2 คน, วิทยากร จำนวน 1 คน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กันยายน 2565 ถึง 28 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ค่า BMI เปลี่ยนแปลงดีขึ้นร้อยละ20 - พนักงานอายุ 18-64 ปีมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4075.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,625.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ
- มีความพึงพอใจต่อโครงการ
- มีความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมต่อไป
- ให้คำแนะนำผู้อื่นต่อในด้านสุขภาพ
- ได้เครือข่ายในการดูแลสุขภาพตนเอง
- มีสุขภาพที่ดีขึ้น สามารถลดปริมาณการเจ็บป่วย และค่าใช้จ่ายในการรักษาและใช้ยาที่ไม่จำเป็นลง


>