กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางกล่ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์และควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางกล่ำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกล่ำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกล่ำ ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดต่อได้ง่าย โดยการไอหรือจามรดกันก็สมารถติดโรคได้ ผลกระทบที่ตามมา คือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะป่วย ซึ่งในปัจจุบันเชื้อไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ทุกปี ทำให้การรักษาใช้เวลานาน เสียค่าใช้จ่ายในการรักษามาก แลอาจทำให้ประชาชนต้องหยุดงานหรือขาดเรียนเป็นเวลาหลายวัน การเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะป่วย โดยเน้นประชาชนกลุ่มเสี่ยง 7 กลุ่ม ได้แก่ 1.หญิงตั้งครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป2.เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี3.ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด)4.ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป5.ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้6.ผู้ป่วยทาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ)7.ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 100 กก./BMI≥35 กิโลกรัมต่อตารางเมตรดังนั้น การฉีดวัคซีนจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สามารถลดอัตราการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ และการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะช่วยเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกล่ำ มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากการเป็นโรค
ผลจากการดำเนินงานการรณรงคน์การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกล่ำ ปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมาจากจำนวนวัคซีนที่ได้รับสนับสนุนทั้งหมด 250 โด๊ส (250 คน) มีผู้มารับบริการทั้งหมด 250 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกล่ำได้เห็นประโยชน์และความสำคัญในจุดนี้จึงได้ทำโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยง ปี 2564 ขึ้นเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้ห่างไกลจากโรค และเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ทำให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากการเป็นโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการรณรงค์และควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

ชื่อกิจกรรม
โครงการรณรงค์และควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สำรวจข้อมูลประชากรกลุ่มเสี่ยง
2.จัดทำแผนเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการ
3.ชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
4.กำหนดแผนรณรงค์และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5.ประชาสัมพันธ์โครงการ
6.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่
7.จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 400 คน (แบ่งเป็น 4 รุ่นๆละ100 คน)
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 400 คน x 25 บาท x1 มื้อ เป็นเงิน10,000 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท จำนวน 4ชั่วโมง เป็นเงิน2,400 บาท - ค่าเอกสารแนะนำความรู้เกี่ยวกับวัคซีนสำหรับประชาชน จำนวน 400 ชุดๆละ 10 บาทเป็นเงิน4,000 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมอบรม จำนวน 400 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน20,000 บาท รวมเป็นเงิน 36,400 บาท(เงินสามหมื่นหกพันสี่ร้อยบาท) หมายเหตุทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่าย 8.จัดให้บริการฉีดวัคซีน จำนวน 3 รอบ
9.ติดตามอาการข้างเคียงภายหลังได้รับวัคซีน 14 วัน
10.สรุปผลการดำเนินการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้ร้บวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ช่วงรณรงค์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้ร้บความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>