กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชาชนร่วมใจป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

พื้นที่หมู่ 1, 2 , 3, 6 ,9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสารและการคมนาคม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทยเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากในอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ในปัจจุบันปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมมากขึ้นตามลำดับ จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมความปลอดภัย การใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้นดังนั้นด้วยสภาวะความเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชนจากสภาพดังกล่าวส่งผลให้เกิดปัญหาโรคไม่ติดต่อ ตามมาได้แก่โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีแนวโน้มมีจำนวนเพิ่มขึ้น
จากสถิติการดำเนินงานที่ผ่านมาประชาชนในพื้นที่ตำบลยะหาอายุ35ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ปี2562,2563,2564 ร้อยละ93.14,92.93และ92.87ตามลำดับโดยในปี2563พบกล่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 103รายปี2564 พบกลุ่มสงสัยป่วยจำนวน113ราย ได้ส่งพบแพทย์เพื่อรักษาปี2563-2564จำนวน14รายและ12รายตามลำดับดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคเริ้อรังจึงได้จัดทำโครงการ ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมครอบครัว ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืนและมุ่งหวังในการที่จะเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 1. เพื่อกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน

อัตรากลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตสูงที่บ้านร้อยละ80 (คิดเป็นจำนวน78 คนจากกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ผ่านการคัดกรองจำนวน 98 คน)

80.00 0.00
2 2. กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามเพื่อวินิจฉัย

กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อร้อยละ100

100.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 69
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงติดตามการดำเนินงานติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงติดตามการดำเนินงานติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นดำเนินการ
1.จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน เพื่อกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน 2.ดำเนินคัดกรองโรคความดันโลหิต  โรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงอายุ35ปีขึ้นไปในพื้นที่5หมู่บ้าน 3.คัดแยกกลุ่มดี  กลุ่มเสี่ยง  กลุ่มสงสัยป่วย 4.นัดกกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตได้รับการตรวจติดตามซ้ำ  และอธิบายการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน 5.อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน  ดำเนินการติดตามกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิต  โดยสอนการตรวจวัดความดันโลหิตสูงที่บ้าน7วัน  ในรายที่ไม่มาตรวจตามนัดที่สถานบริการ 6.กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อ 7.สรุปผลดำเนินการ กิจกรรม ประชุมชี้แจงติดตามการดำเนินงานติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน -ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม  69 คน × 25 บาท × 1 มื้อ         เป็นเงิน  1,725     บาท -สนับสนุนอุปกรณ์เครื่องวัดความดัน 10 เครื่อง *2,500 บาท         เป็นเงิน  25,000   บาท
-สนับสนุนเครื่องชั่งน้ำหนัก14 เครื่อง *350 บาท                 เป็นเงิน  4,900    บาท    
รวมทั้งสิ้น  31,625บาท (สามหมื่นหนึ่งพันหกร้อยยี่สิบห้าบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อัตรากลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตสูงที่บ้านร้อยละ80 (คิดเป็นจำนวน78 คนจากกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ผ่านการคัดกรองจำนวน 98 คน)
    2.กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อร้อยละ100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31625.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,625.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการดำเนินงานติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วย
2. กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อ


>