กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กตาดีกา ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ

พื้นที่ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคนให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และเป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะทำให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้ พร้อมเปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อาหารเช้าจึงสำคัญ เพราะการที่เด็กได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอนั้น ทำให้เกิดผลดีหลายๆอย่าง และสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ดีกว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้า อย่างไรก็ตามอาหารมื้อเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับ แต่ด้วยปัจจุบัน การใช้ชีวิตที่เร่งรีบของผู้ปกครองและเด็กนักเรียน ทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่รีบไปทำงาน มื้อเช้าของเด็กๆคือขนมจากร้านค้าใกล้บ้าน ซึ่งไม่มีประโยชน์ และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้เด็กมีปัญหา เรื่องโภชนาการการที่ไม่เหมาะสม และขาดสารอาหารสำคัญ
ดังนั้นปัญหาการบริโภคอาหารของเด็กตาดีกาในตำบลจวบ ยังเป็นปัญหาอยู่ จากการสำรวจเด็กในปีที่ผ่านมา เด็กยังประสบเลือกกินอาหารไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กตาดีกา ต้องมีการส่งเสริมการเลือกอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพื่อที่จะพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่การสมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการส่งเสริมโภชนากการและพัฒนาการเด็กในสถานศึกษา เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง
จากสภาพปัญหาดังกล่าว งานสาธารณสุข สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กตาดีกา ประจำปีงบประมาณ 2565 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย เพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัว และชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตสมวัย 2. เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็ก
  1. เด็กในตาดีกาได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางสารอาหาร และพัฒนาการสมวัย
  2. เด็กในตาดีกาที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 300 คน มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน
1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 300 คน 300
เด็กโรงเรียนตาดีกา ในพื้นที่ตำบลจวบ จำนวน 300 คน 300

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กตาดีกาในพื้นที่ตำบลจวบ จำนวน 10 โรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กตาดีกาในพื้นที่ตำบลจวบ จำนวน 10 โรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารเสริมนม ขนาด 200 มิลลิลิตร จำนวน 300 คนๆละ 10 บาท 32 วัน เป็นเงิน 96,000.-บาท (นมบริโภคเฉพาะ วันเสาร์ - วันอาทิตย์ จำนวน 4 เดือน)
  • ค่าอาหารเสริมไข่ วันละ 1 ฟอง จำนวน 300 คนๆละ 4 บาท 120 วันเป็นเงิน 144,000.-บาท (ไข่บริโภคทุกวันๆละ 1ฟอง) รวมเป็นเงิน 240,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กในตาดีกา ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับการเฝ้าระวัง และติดตามทางโภชนาการ
  2. เด็กในตาดีกา มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบดตสมวัย
  3. ผู้ปกครองของเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็ก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
240000.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมให้ความรู้ภาวะทุพโภชนาการ แก่ ผู้ปกครองของเด็กตาดีกาในพื้นที่ตำบลจวบ จำนวน 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมให้ความรู้ภาวะทุพโภชนาการ แก่ ผู้ปกครองของเด็กตาดีกาในพื้นที่ตำบลจวบ จำนวน 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครั้งที่ 1
- ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600บาท จำนวน 5 ชั่วโมง 10 รุ่นเป็นเงิน 30,000.-บาท
- ค่าอาหารว่างจำนวน 300คนๆละ 2มื้อๆละ 25บาท เป็นเงิน 15,000.-บาท
- ค่าอาหารกลางวันจำนวน 300คนๆละ 1มื้อๆละ 60บาท เป็นเงิน 18,000.-บาท
- ค่าวัสดุในการฝึกอบรม จำนวน 300คนๆละ 60บาท (สมุด ปากกา กระเป๋า) เป็นเงิน 18,000.-บาท
- ค่าป้ายไวนิลขนาด 1.2 X 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 720.-บาท
รวมเป็นเงิน 81,720.-บาท

ครั้งที่ 2
- ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600บาท จำนวน 5 ชั่วโมง 10 รุ่นเป็นเงิน 30,000.-บาท
- ค่าอาหารว่างจำนวน 300คนๆละ 2มื้อๆละ 25บาท เป็นเงิน 15,000.-บาท
- ค่าอาหารกลางวันจำนวน 300คนๆละ 1มื้อๆละ 60บาท เป็นเงิน 18,000.-บาท
รวมเป็นเงิน 63,000.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กในตาดีกา ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับการเฝ้าระวัง และติดตามทางโภชนาการ
  2. เด็กในตาดีกา มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบดตสมวัย
  3. ผู้ปกครองของเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็ก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
144720.00

กิจกรรมที่ 3 3. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในโครงการ

ชื่อกิจกรรม
3. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล เครื่องละ 1,600บาท จำนวน 10 เครื่อง เป็นเงิน 16,000.-บาท
  • เครื่องวัดส่วนสูง เครื่องละ 1,200บาท จำนวน 10 เครื่อง เป็นเงิน 12,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กในตาดีกา ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับการเฝ้าระวัง และติดตามทางโภชนาการ
  2. เด็กในตาดีกา มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบดตสมวัย
  3. ผู้ปกครองของเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็ก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 412,720.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กในตาดีกา ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับการเฝ้าระวัง และติดตามทางโภชนาการ
2. เด็กในตาดีกา มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบดตสมวัย
3. ผู้ปกครองของเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจ ด้านโภชนาการในเด็ก


>