กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ภาคีเครือข่ายวังประจันร่วมใจต้านภัยโรคเบาหวาน ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน

1.นางวนิดาศรีริภาพ
2.นางฮามีดะหลังยาหน่าย
3.นางอภิยาเหตุทอง
4.นางรสนา บินหมาน
5.นางสาวมารียา สุขสง่า

ตำบลวังประจัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคเรื้อรังซึ่งเกิดจากพันธุกรรมและพฤติกรรมสุขภาพที่มีความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารการสูบบุหรี่การดื่มสุรา การไม่ออกกำลังกายความเครียด โรคอ้วนโรคเรื้อรังดังกล่าวเป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงถ้าไม่ได้รับการดูแลอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน และทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

จากการดำเนินงานในคลินิกโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจันประจำปีงบประมาณ 2563 พบว่า มีกลุ่มป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.31 และโรคเบาหวาน จำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.39 ในปีงบประมาณ 2564 มีกลุ่มป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.92 ของประชากรอายุ 35 ปีข้นไปที่ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และกลุ่มป่วยรายใหม่โรคเบาหวาน จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.86 ของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน (ข้อมูลจากโปรแกรม HDC) เห็นได้ว่าอัตราป่วยรายใหม่มีแนวโน้มลดลง และยังพบว่าในปีงบประมาณ 2563 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้โดยผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ 17.50 และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ร้อยละ 49.19 (ข้อมูลจากโปรแกรม HDC) จากผลการดำเนินงานดังกล่าวจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยเรื้อรังไม่สามารถควบคุมอาการและความรุนแรงของโรคได้ตามเกณฑ์ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่จะต้องเร่งรัดการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะในพื้นที่เนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม ส่งผลต่อวิถีชีวิตและก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล(รับประทานหวาน มันเค็มมากเกินไปและรับประทานผัก ผลไม้น้อยเกินไป) การเคลื่อนไหวทางกายน้อยการบริโภคยาสูบรวมถึงภาวะเครียดซึ่งหากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดังกล่าวจะส่งผลให้โรคเรื้อรังที่เป็นอยู่มีความรุนแรงและมี ภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตตามมา ซึ่งการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อในชุมชน ไม่สามารถดำเนินการได้โดยกระทรวงสาธารณสุขเพียงลำพัง หากแต่ชุมชนและภาคีเครือข่ายองค์กรต่างๆล้วนมีอิทธิพลและมีความสำคัญในการลดปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรค ฉะนั้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายในการค้นหาปัญหา และดำเนินการในการแก้ไขปัญหาร่วมกันจึงเป็นแนวทางที่สำคัญ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด

อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานลดลง

10.00 7.00
2 ข้อที่ 2.เพื่อพัฒนาระบบบริการคลินิกโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ให้ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน โดยยึดชุมชนเป็นฐาน การมีส่วนร่วมของบุคลากรสาธารณสุขและผู้รับบริการ ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน

ผู้ป่วยเรื้อรังสามารถเข้าถึงบริการได้ทั่วถึง

50.00 80.00
3 ข้อที่ 3.เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังสามารถควบคุมความรุนแรงของโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับความรุนแรงได้ตามเกณฑ์ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น

80.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดทำค่ายผู้ป่วยโรคเบาหวาน / ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดทำค่ายผู้ป่วยโรคเบาหวาน / ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำค่ายผู้ป่วยเรื้อรัง/ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง HT/DM) แบบไม่พักค้างแรมโดยทีมสหวิชาชีพใน การจัดกิจกรรมตามฐานประกอบด้วย

-ฐานให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน

-ฐานความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา

-ฐานโภชนาการให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารในท้องถิ่น ขนาดปริมาณที่ผู้ป่วยรับประทานได้ในชีวิตประจำวัน อาหารทดแทนในผู้ป่วย

-ฐานการออกกำลังกาย แนะนำการสาธิตฝึกการออกกำลังกายที่สอดคล้องกับสภาพผู้ป่วยและการคลายเครียด

-ตรวจประเมินโดยการเจาะเลือด HbA1c ในผู้ป่วยเบาหวานและวัด ความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ก่อน- หลัง เข้าร่วมโครงการ

ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่มจำนวน80คนๆละ1มื้อๆละ60บาทเป็นเงิน 4,800บาท

ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน80คนๆละ2มื้อๆละ30บาทเป็นเงิน4,800บาท
ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆละ500บาท เป็นเงิน 2,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานได้รับการวินิจฉัยโรคและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีในรายที่จำเป็น

  2. ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในพื้นที่ตำบลวังประจัน เกิดการตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เข้มข้นสามารถควบคุมความรุนแรงของโรคและความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในรูปแบบต่างๆ อย่างยั่งยืน เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างสุขภาพให้มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี และการขยายผลการเกิดนวัตกรรมสุขภาพชุมชนสร้างความเข็มแข็งและการพึ่งตนเองทางสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานได้รับการวินิจฉัยโรคและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีในรายที่จำเป็น
2. ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในพื้นที่ตำบลวังประจัน เกิดการตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เข้มข้นสามารถควบคุมความรุนแรงของโรคและความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในรูปแบบต่างๆ อย่างยั่งยืน เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างสุขภาพให้มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี และการขยายผลการเกิดนวัตกรรมสุขภาพชุมชนสร้างความเข็มแข็งและการพึ่งตนเองทางสุขภาพอย่างต่อเนื่อง


>