กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ "กายใจสดใสในวัยชื่นบาน"

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าบอน

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลท่าบอน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอนอำเภอระโนดจังหวัดสงขลา

1. นางสุพิศ แก้วอนุรักษ์ ประธาน
2. นางดารา ช่วยเรือง รองประธาน
3. นางเล็ก พวงแก้ว กรรมการ
4. นายจรัญ จันทร์เมือง กรรมการ
5. นางสุดา คารทอง กรรมการและเลขานุการ

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลท่าบอน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สูงอายุมีปัญหาคุณภาพชีวิตทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตปัญญา

 

71.30
2 ผู้สูงอายุไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองในเบื้องต้น ป้องกันการเจ็บป่วย และดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมและมีความสุขตามช่วงวัย

 

69.40
3 ผู้สูงอายุ และผู้เรียนไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเตรียมเข้าสู่ช่วงวัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณค่า

 

61.20

ปัจจุบันจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว ส่งผลให้ประชากรไทยเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุหรือ “ภาวะประชากรผู้สูงอายุ” อันจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น เช่น เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจฯลจากจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น อันนำมาซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้สืบเนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นแต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของ โรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ จึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อมทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล เกิดภาวะทุพพลภาพ ในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข อีกทั้งสังคมปัจจุบันต้องทำงานแข่งกับเวลาผู้นำครอบครัวต้องรับภาระทางเศรษฐกิจ รายจ่ายมากกว่ารายรับ การดูแลสมาชิกในครอบครัวลดน้อยลง ผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร บางรายถูกทอดทิ้งให้อยู่ลำพัง บางคนเป็นโรคซึมเศร้า ขาดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของการดูแลสุขภาพที่ ถูกต้อง รวมทั้งความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิสวัสดิการต่างๆ อันพึงจะได้รับจากรัฐ การจะให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพ จำเป็นต้องมีการส่งเสริมด้านสุขภาพที่ถูกต้องและส่งเสริมความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีภูมิคุ้มกัน สามารถพึ่งตนเองได้ และมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขตามสมควรของวัย สามารถทำ ประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในปั้นปลายของชีวิต อีกทั้งผู้สูงอายุคือกลุ่มพลังเงียบที่ทรงคุณค่า หากสังคมให้โอกาสพลังเงียบที่มีอยู่ในตัวผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุก็สามารถสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นในสังคมได้อีกมาก
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลท่าบอน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณชีวิตผู้สูงอายุเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขตามสมควรของวัย โดยใช้กลไกในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ สนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับวัย จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ “กายใจสดใสในวัยชื่นบาน” ภายใต้กิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2566 ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม รวมทั้งให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองในเบื้องต้น ป้องกันการเจ็บป่วยและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมและมีความสุขตามช่วงวัย ตลอดจนให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเตรียมเข้าสู่ช่วงวัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณค่า จำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 1468 คน นักเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตปัญญา

นักเรียนผู้สูงอายุได้อบรมหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตปัญญา(ร้อยละ)

62.00 75.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองในเบื้องต้น ป้องกันการเจ็บป่วย และดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมและมีความสุขตามช่วงวัย

นักเรียนผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองในเบื้องต้น ป้องกันการเจ็บป่วย และดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมและมีความสุขตามช่วงวัย(ร้อยละ)

63.00 75.00
3 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเตรียมเข้าสู่ช่วงวัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณค่า

ติดตามประเมินพฤติกรรมนักเรียนผู้สูงอายุ(ร้อยละ)

74.00 85.00

1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเตรียมตัวเข้าสู่ช่วงวัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณค่า
2. เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันการเจ็บป่วยและสามารถดูแลตนเองเบื้องต้นได้
3. เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงข่าวสารและสื่อต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ และสามารถปรับตัวทันต่อความ
เปลี่ยนแปลงของโลกและดำรงชีวิตอย่างมีความสุขตามช่วงวัย
4. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเป็นการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ วิชาการดูแลสุขภาพที่จำเป็นของผู้สูงอายุจำนวน 6 ชม. (2 ครั้งๆละ 3 ชม.)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ วิชาการดูแลสุขภาพที่จำเป็นของผู้สูงอายุจำนวน 6 ชม. (2 ครั้งๆละ 3 ชม.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีการดำเนินกิจกรรม จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ วิชาการดูแลสุขภาพที่จำเป็นของผู้สูงอายุ จำนวน 6 ชม. (2 ครั้งๆละ 3 ชม.)
เนื้อหา - การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจและสังคมของผู้สูงอายุ/การประเมินคัดกรองภาวะซึมเศร้า - ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการดูแลตนเองเบื้องต้น - การส่งเสริมและการป้องกันปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ
งบประมาณที่ใชเในการดำเนินกิจกรรม มีประมาณการค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 500 บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน คนละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท
3.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 24 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ดังนี้ - การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจและสังคมของผู้สูงอายุ /การประเมินคัดกรองภาวะซึมเศร้า
- ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการดูแลตนเองเบื้องต้น - การส่งเสริมและการป้องกันปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6100.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ วิชานันทนาการและ การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 12 ชั่วโมง (4 ครั้งๆละ 3 ชม.)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ วิชานันทนาการและ การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 12 ชั่วโมง (4 ครั้งๆละ 3 ชม.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการ วิชานันทนาการและ การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ เนื้อหา - การออกกำลังกายประกอบดนตรี (ไลน์แดนซ์/รำไทย/ลีลาศ/บาสโลบ) - กิจกรรมยามว่าง (การทำงานประดิษฐ์ ได้แก่การทำสายคล้องแมส, การทำเหรียญโปรยทาน, การทำของชำร่วยตุ๊กตาผ้าขนหนู, การทำพรมเช็ดเท้าจากเศษผ้า, การจัดช่อดอกไม้ถวายพระ)
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน คนละ 25 บาท 4 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
2. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 12 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท 3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม เป็นเงิน 4,100 บาทประกอบด้วย
(1) อุปกรณ์ทำสายคล้องแมส จำนวน 10 ชุดๆละ 100 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท (2) อุปกรณ์ทำเหรียญโปรยทาน - ริบบิ้นจำนวน 10 ม้วนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 500 บาท (3) อุปกรณ์การทำของชำร่วย/ที่ระลึก(ตุ๊กตาผ้าขนหนู) - ผ้าขนหนูขนาด 30 X 70 ซม. จำนวน 50 ผืนๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
- ริบบิ้นผ้าซาตินจำนวน 5 ม้วนๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 500 บาท (4) อุปกรณ์สำหรับทำพรมเช็ดเท้า(ตาข่ายพลาสติก PVC 15 เมตร) เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ดังนี้ - การออกกำลังกายประกอบดนตรี(ไลน์แดนซ์/รำไทย/ลีลาศ/บาสโลบ) - กิจกรรมยามว่าง(การทำงานประดิษฐ์ ได้แก่ การทำสายคล้องแมส, การทำเหรียญโปรยทาน, การทำของชำร่วยตุ๊กตาผ้าขนหนู, การทำพรมเช็ดเท้าจากเศษผ้า, การจัดช่อดอกไม้ถวายพระ)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15300.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรม วิชาการพัฒนาจิตสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 6 ชม.(จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 3 ชม.)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรม วิชาการพัฒนาจิตสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 6 ชม.(จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 3 ชม.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรม วิชาการพัฒนาจิตสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 6 ชม.(จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 3 ชม.) - การผ่อนคลายคลื่นสมองด้วยการคิดบวก - การพัฒนาจิต/สมาธิเพื่อการเยียวยา - โยคะเพื่อผู้สูงอายุ
ค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน คนละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท
2. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ดังนี้ - การผ่อนคลายคลื่นสมองด้วยการคิดบวก - การพัฒนาจิต/สมาธิเพื่อการเยียวยา - โยคะเพื่อผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5600.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอบรม วิชาการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุ จำนวน 6 ชม.(จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 3 ชม.)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรม วิชาการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุ จำนวน 6 ชม.(จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 3 ชม.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรม วิชาการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุ จำนวน 6 ชม.(จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 3 ชม.) - การเสริมสร้างพลังอำนาจให้ผู้สูงอายุ/กระบวนการทางจิตปัญญา/สุนทรียสนทนา - การใช้ชีวิตในบั้นปลายอย่างมีคุณค่า - การบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม ค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน คนละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท
2. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ดังนี้ - การเสริมสร้างพลังอำนาจให้ผู้สูงอายุ/กระบวนการทางจิตปัญญา/สุนทรียสนทนา - การใช้ชีวิตในบั้นปลายอย่างมีคุณค่า - การบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุได้พัฒนาความรู้ ทักษะ ฝึกสมอง และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข
2. ผู้สูงอายุนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
3. ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเองและทำประโยชน์ให้กับสังคมได้
4. มีจิตอาสาในพื้นที่ในการช่วยเหลือสังคมและท้องถิ่นเพิ่มขึ้น


>