กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ TO BE NUMBER ONE รณรงค์ลดการใช้สารเสพติดในเยาวชน ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลบ้านสวน

1.นายวชิรพันธ์บุญมณี โทร 0636194115
2. นายกุมพันธ์ปิ่นสวัสดิ์
3. นางสาวชาดาไชยงาม
4. นางสาววริศรามีชู
5. นางสาวเปรมกมลคงมั่น

โรงยิมโรงเรียนดอนศาลานำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้เสพรายใหม่วัยเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี(คน)

 

20.00
2 จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

 

5.67

ด้วยในปัจจุบันยาเสพติดเป็นปัญหาหนึ่งในสังคมไทยได้แพร่ขยายในวงกว้างทั้งในสถานศึกษา แหล่งมั่วสุมต่างๆ ทำให้รัฐบาลต้องกำหนดนโยบายและใช้งบประมาณในการป้องกันปราบปรามจับกุม บำบัดรักษาผู้ที่ติดยาเสพติดและให้ส่วนราชการต่าง ๆ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รู้ถึงพิษภัยของยาเสพติด
ทำให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงปัญหาและหาทางช่วยเหลือเพื่อให้ทุกคนห่างไกลยาเสพติด โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนและเด็กนักเรียน ที่ล่อแหลมกับเรื่องยาเสพติดอันจะนำมาถึงโรคภัยไข้เจ็บอย่างเช่นโรคเอดส์ ซึ่งน่าเป็นห่วงมากในหมู่เด็กนักเรียนและเยาวชน
สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลบ้านสวน เป็นองค์กรหนึ่งในชุมชนที่ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยรวมและได้ส่งเสริมสนับสนุนให้เยาวชนลดการใช้สารเสพติดและส่งเสริมกิจกรรมการคัดแยกขยะในกลุ่มเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลบ้านสวนจึงได้จัดทำโครงการ TO BE NUMBER ONE รณรงค์ลดการใช้สารเสพติดในเยาวชน ปี 2565

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี

อัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(ร้อยละ)

20.00
2 เพื่อลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชน

อัตราการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(ร้อยละ)

20.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้เสพรายใหม่วัยเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี

จำนวนผู้เสพรายใหม่วัยเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ(คน)

20.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 21
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
พี่เลี้ยงสภาเด็ก 4

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน ประกอบด้วย ประธานสภาเด็ก เจ้าหน้าที่ รวม 5 คน ชี้แจงโครงการและรายละเอียด

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มิถุนายน 2565 ถึง 9 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ก่อนการอบรม 21 ชุด-หลังการอบรม 21 ชุด

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มิถุนายน 2565 ถึง 11 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แบบทดสอบก่อนการอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้โดยวิทยากรจากเฉพาะทางจากสาธารณสุขเกี่ยวกับยาเสพติด บุหรี่และเหล้า โทษของยาเสพติดอาการ อาการแสดงคนติดยาเสพติด แนวทางการเลิกยาเสพติด ฯลฯ 1. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ และวิทยากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 40 คน จำนวน 1 มื้อ ๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,000.- บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ และวิทยากร จำนวน 40 คน จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 2,000.- บาท 3. วิทยากรให้ความรู้เรื่องการใช้สารเสพติด การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 1 คนๆละ 600 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท 4. จัดเวทีเสวนา การเล่าประสบการณ์เรื่องการใช้สารเสพติด การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากบุคคลต้นแบบ(ท่านนายก ทต.บ้านสวน) 5. เลือกแกนนำเยาวชนต่อต้านยาเสพติดในกลุ่มสภาเด็กเพื่อช่วยสอดส่องดูแลพฤติกรรมของเพื่อนๆ หากมีปัญหาเรื่องยาเสพติดสามารถปรึกษาสถานีอนามัยใกล้บ้านได้ 8. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.20x2.40 เมตร จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 500 บาท 9. ค่าวัสดุอุปกรณ์และเครื่องเขียน จำนวน 21 ชุด ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,050บาท กำหนดการโครงการ TO BE NUMBER ONE รณรงค์ลดการใช้สารเสพติดในเยาวชน ปี 2565 ในวันที่24มิถุนายน พ.ศ. 2565 ณเทศบาลตำบลบ้านสวนแำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ พร้อม Pre-test ทดสอบความรู้ก่อนการอบรม เรื่อง คุณและโทษของการใช้สารเสพติด 09.30 - 10.00 น. ประธานกล่าวเปิดโครงการ โดยนายสมเกียรติ ทองพันธ์พร้อมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสบการณ์ 10.00 - 10.05 น. รับประทานอาหารว่าง 10.05 - 12.05 น. บรรยายความรู้เกี่ยวกับคุณและโทษของการใช้สารเสพติดโดยวิทยากร 13.00 - 14.00 น. บรรยายทักษะชีวิตเพื่อการป้องกันยาเสพติดและการแก้ไขปัญหายาเสพติด 14.15 - 14.25 น. รับประทานอาหารว่าง 15.25 - 16.30 น. กิจกรรมเยาวชนเข้มแข็งต้านยาเสพติดพร้อมกับให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์การคัดแยกขยะลงพื้นที่เก็บขยะบริเวณโรงเรียนดอนศาลานำวิทยาและรอบ ๆ บริเวณวัด หมายเหตุ: กำหนดการนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 มิถุนายน 2565 ถึง 24 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กๆเข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องยาเสพติดมากขึ้นและได้แกนนำเยาวชนต่อต้านยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7350.00

กิจกรรมที่ 4 เยาวชนร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์

ชื่อกิจกรรม
เยาวชนร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทีมพี่เลี้ยงสภาเด็กให้ความรู้เรื่องขยะและการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง รวมถึงส่งเสริมการคัดแยกขยะในครัวเรือนให้เยาวชนทราบ เยาวชนร่วมกันลงพื้นที่เก็บขยะบำเพ็ญประโยชน์สองฝั่งถนนจากวัดดอนศาลาถึงสถานีอนามัยบ้านดอนศาลา
1.ถุงดำใส่ขยะ 30x40 cm จำนวน 3 แพ็กๆละ 170 บาท เป็นเงิน 510 บาท 2.ถุงมือเบอร์ m จำนวน 1 กล่องๆละ 200 บาท เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 มิถุนายน 2565 ถึง 24 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กๆตระหนักการคัดแยกขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
710.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปกิจกรรมและถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
สรุปกิจกรรมและถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปบทเรียนกิจกรรมและถอดบทเรียนจากโครงการคืนข้อมูลให้ชุมชน - ค่าสรุปรูปเล่ม 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กรกฎาคม 2565 ถึง 4 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้เล่มรายงาน สปสช 1  เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,260.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี
2. ลดอัตราการสูบยาสูบของเด็กและเยาวชน
3. ลดจำนวนผู้เสพรายใหม่วัยเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี


>