กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริการทันตกรรมป้องกันในนักเรียนประถมศึกษา ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

โรงเรียนในเขตรับผิดชอบ จำนวน 4 แห่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบเป็นปัญหาด้านทันตสุขภาพที่สำคัญพบมากในนักเรียนประถมศึกษา เมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ ที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกันและปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้น นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็กนักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ๖ - ๑๒ ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่าย นอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานอาหารของหวานตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอ โรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันและสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดี และการส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะแรกของการเป็นโรคจะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ จากการดำเนินงาน ทันตกรรมในเด็กวัยเรียน ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ พบว่าเด็กวัยเรียนเกิดโรคฟันผุร้อยละ ๕๒.๔ เฉลี่ย (DMFT) ๑.๕ ซี่/คน ซึ่งโรคฟันผุแลพโรคเหงือกอักเสบนี้ สามารถป้องกันและแก้ไขไม่ให้ลุกลามได้ โดยการให้ความรู้ สร้างทัศนคติ เพื่อให้เด็กนักเรียนปฏิบัติตนในการดูแลทันตสุขภาพอย่างถูกวิธีและสามารถป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม
ดังนั้น งานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตจึงจัดทำโครงการบริการทันตกรรมป้องกันในนักเรียนประถมศึกษา ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายในการประเมินคัดกรองภาวะสุขภาพช่องปากนักเรียน และให้บริการทันตกรรมตามความจำเป็น เพื่อป้องกัน รักษา และส่งเสริมสุขภาพช่องปากนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินคัดกรองสภาวะช่องปากในนักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6

นักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากร้อยละ 100

100.00
2 2. เพื่อให้นักเรียนประถมศึกษา ชั้นอนุบาล 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับบริการทันตกรรมตามความจำเป็น เช่นเคลือบฟลูออไรด์ เคลือบหลุมร่องฟัน

นักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับการบริการทันตกรรมตามความจำเป็น ร้อยละ 100

100.00
3 เพื่อให้นักเรียนประถมศึกษา ชั้นอนุบาล 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6 มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น (Cavity free)

นักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6 มีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น (Cavity free) ร้อยละ 60

60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 70
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 210
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองสภาวะช่องปากเด็กปฐมวัยชั้นเตรียมอนุบาล - อนุบาล 2

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองสภาวะช่องปากเด็กปฐมวัยชั้นเตรียมอนุบาล - อนุบาล 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองสภาวะช่องปากเด็กปฐมวัยชั้นเตรียมอนุบาล- อนุบาล 2 1. ค่าถ่ายเอกสารแบบตรวจสุขภาพช่องปากจำนวน70ใบ ๆ ละ 50 สตางค์ เป็นเงิน 35 บาท 2.ชุดแปรงสีฟัน+ยาสีฟันเด็กปฐมวัยจำนวน70 ชุดๆละ 35 บาทเป็นเงิน 2,450บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กปฐมวัยชั้นเตรียมอนุบาล- อนุบาล 2 ได้รับการคัดกรองสภาวะช่องปาก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2485.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองสภาวะช่องปากในนักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล 1 – ประถมศึกษา ปีที่ 6

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองสภาวะช่องปากในนักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล 1 – ประถมศึกษา ปีที่ 6
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองสภาวะช่องปากในนักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล 1 – ประถมศึกษา    ปีที่ 6

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนประถมศึกษาชั้นอนุบาล 1 – ประถมศึกษา ปีที่ 6 ได้รับการคัดกรองสภาวะช่องปาก ร้อยละ 100 1. ค่าถ่ายเอกสารแบบตรวจสุขภาพช่องปาก
จำนวน  410  ใบ ๆ ละ 50 สตางค์ เป็นเงิน 205 บาท 2.ชุดแปรงสีฟัน+ยาสีฟันเด็กอนุบาล  จำนวน  83
ชุดๆละ 35 บาท  เป็นเงิน 2,905  บาท 3.ชุดแปรงสีฟัน + ยาสีฟันเด็กชั้น ป.1 - ป.6 จำนวน 320 ชุดๆละ 20 เป็นเงิน 6,400  บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9510.00

กิจกรรมที่ 3 ให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้บริการตรวจสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียน  จำนวน 4 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง 1.เก้าอี้สนามจำนวน 1 ตัวๆ ละ 13,000  บาท เป็นเงิน 13,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียน  ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,995.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>