กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สบสาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

สร้างเสริมสุขภาพสตรีมีครรภ์ หญิงหลังคลอดและเด็ก 0- 5 ปี ตำบลสบสาย ปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สบสาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบสาย

นางปพิชญา สมหมาย และคณะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบสาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อคลอดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ปัจจุบัน ข้อมูลอนามัยและเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบสาย ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดปัญหาการป่วย และการตายของมารดาจากการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดได้ จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบสาย ของปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ครั้งแรกครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ จากปัญหางานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าวข้างต้น ส่งผลทำให้มารดาและบุตรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยโดยในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวการณ์เจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง และจากการประเมินผลการเฝ้าระวังทางภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน (0-6 ปี) และการดูแลช่องปากที่ไม่เหมาะสม สุขภาพช่องปากไม่ดี ไม่ได้รับการป้องกันและการรักษาหรือหยุดยั้งโรคก็จะลุกลามนำไปสู่การสูญเสียฟันต่อไปและส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ปัจจัยที่ทำให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสภาวะการเกิดโรคฟันผุ โรคปริทันต์อักเสบ หรือโรคในช่องปากเป็นปัญหาค่อนข้างสูง คือการเข้าถึงบริการทันตกรรมไม่ครอบคลุมมากนักการไม่ใส่ใจในการดูแล ป้องกันโรคในช่องปากของเด็กเมื่อเป็นถึงขั้นรุนแรงจึงทำการรักษา
เด็กคือทรัพยากรที่อันทรงคุณค่า และเป็นอนาคตของชาติ ที่ควรได้รับการเลี้ยงดูให้เจริญเติบโต และพัฒนาการสมวัย ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การพัฒนาสุขภาพเด็กปฐมวัย ยังต้องเร่งรัดกลยุทธ์ กลวิธี อีกหลายประการ รวมทั้งการกระตุ้นพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 3 ปี ซึ่งเซลล์สมองเจริญเติบโตร้อยละ 80 เป็นช่วงวัย “หน้าต่างแห่งโอกาส” ของการกระตุ้นและฝึกทักษะ ให้ได้รับการกระตุ้นทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ให้ได้เห็นได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส และได้สัมผัสตั้งแต่แรกเกิด ด้วยความรักจากแม่จะช่วยให้สานใยประสาทเซลล์สมองเพิ่มมากขึ้น เด็กจะฉลาด เรียนรู้ได้เร็ว มีชีวิตชีวา รู้เหตุผล และเติบโตอย่างมีคุณภาพอาหาร”ที่สำคัญที่สุดของเด็กคือ “นมแม่” เด็กที่ดื่มนมแม่จะมีค่าเฉลี่ยระดับเชาว์ปัญญา (IQ) เหนือกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ 3-10 จุด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การโอบกอด สัมผัส อุ้มลูกไว้ในอ้อมอก ส่งเสียง พูดคุย หยอกล้อ เด็กได้รับประสาทสัมผัสประสาททุกด้าน ส่งผลให้พัฒนาการเด็กสมวัย และฉลาดมากขึ้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นกระบวนการวางรากฐานพัฒนาการเด็กโดยได้รับอาหารที่เหมาะสมเพียงพอ พร้อมสร้างความรักความอบอุ่น และพัฒนาสมองของลูกตั้งแต่แรกเกิด ลูกได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักความอบอุ่นตั้งแต่แรกเริ่มของการมีชีวิตด้วยการได้กินนมแม่และการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อครั้งแรกในห้องคลอด สายใยรักที่ถ่ายทอดสู่ลูกจะเป็นแรงบันดาลใจให้แม่ไม่ทอดทิ้งลูก เลี้ยงลูกด้วยความรักความอบอุ่นทางใจซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโต พัฒนาการสมวัย และเติบโตเป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่มี สุขภาพกายและจิตที่ดี ไม่ก่อปัญหาสังคมเมื่อเติบโตในอนาคต ซึ่งประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมาย ร้อยละ 30 และในมาตรฐานตำบลนมแม่ได้กำหนดเป้าหมาย ร้อยละ 60 แม่ที่บุตรอายุ 0-6 เดือน เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในปี 2564 ชมรมอนามัยแม่และเด็กตำบลสบสาย ร่วมกับภาคีเครือข่ายเร่งรัดให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับบรรลุตามเป้าหมาย โดยได้รับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ตำบลสบสายพัฒนา สร้างแนวคิดเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรแม่และเด็ก โดยการพัฒนาในพื้นที่ตามกระบวนการคุณภาพการจัดระบบบริการในพื้นที่ตามมาตรฐาน เชื่อมโยงสู่ครัวเรือนและชุมชนตามเกณฑ์มาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบสาย จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพสตรีมีครรภ์ หญิงหลังคลอดและเด็ก 0 – 5 ปี ตำบลสบสาย ปี 2565 โดยเน้นการดูแลเด็กทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาในระยะตั้งครรภ์ หลังคลอด ภาวะโภชนาการสมวัย สูงดีสมส่วน แก้ไขปัญหาเด็กเตี้ย และการเลี้ยงดูบุตรแรกเกิดถึง 5 ปี โดยชุมชนมีส่วนร่วมการพัฒนาคุณภาพบริการ งานอนามัยแม่และเด็ก และเพื่อมุ่งหวังให้เด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการสมวัย ตลอดจนการพัฒนาชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลตามมาตรฐาน
2. เพื่อส่งเสริม เฝ้าระวังการเจริญเติบโตและภาวะโภชนาการเด็ก อายุ 0-5 ปี
3. เพื่อส่งเสริมให้เด็กเจริญเติบโต พัฒนาการสมวัย พร้อมเรียนรู้ตามช่วงวัย

ตัวชี้วัด
1. ร้อยละ 65 ของหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
2. ร้อยละ 85 ของเด็ก 0-5 ปีทั้งหมดตามช่วงวัยที่กำหนด (อายุ 9,18,30,42 และ 60 เดือน)มีพัฒนาการสมวัย
3. ร้อยละ 90 ของเด็ก 0-5 ปี ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ
4. ร้อยละ 20 ของเด็ก 0-5 ปี ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ พบสงสัยล่าช้า
5. ร้อยละ 90 ของเด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการติดตามและได้รับกระตุ้นพัฒนาการด้วย TEDA4L
6. ร้อยละ 64 ของเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงโครงการและวางแผนการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงโครงการและวางแผนการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงโครงการและวางแผนการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กร่วมกับแกนนำอนามัยแม่และเด็ก จำนวน 30 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำอนามัยแม่และเด็ก จำนวน 30 คน เข้าใจวัตถุประสงค์โครงการและมีแผนการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3900.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์และคู่สมรสหรือผู้ดูแลที่พร้อมมีบุตร

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์และคู่สมรสหรือผู้ดูแลที่พร้อมมีบุตร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์และคู่สมรสหรือผู้ดูแลที่พร้อมมีบุตร จำนวน 20 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงวัยเจริญพันธุ์และคู่สมรสหรือผู้ดูแลที่พร้อมมีบุตร  มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลบุตร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5200.00

กิจกรรมที่ 3 ฝึกทักษะผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเด็ก 0-5 ปี ตำบลสบสาย

ชื่อกิจกรรม
ฝึกทักษะผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเด็ก 0-5 ปี ตำบลสบสาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ฝึกทักษะผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเด็ก 0-36 เดือน จำนวน 25 คน
3.2 ฝึกทักษะผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในเด็ก 37-72 เดือน จำนวน 25 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมสามารถประเมินพัฒนาการ และเพิ่มพัฒนาการแก่เด็กได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11600.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ จำนวน 35 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ เข้าร่วมประชุม จำนวน 35 คน มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถประเมินภาวะโภชนาการของบุตรหลานได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 25 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ เข้าร่วมประชุม จำนวน 25 คน มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถประเมินภาวะโภชนาการของบุตรหลานได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์และฝากครรภ์คุณภาพตามเกณฑ์ 5 ครั้งตามเกณฑ์
2. เด็ก 0-5 ปี มีการเจริญเติบโต ภาวะโภชนาการสมวัยและพัฒนาการตามวัย
3. ชุมชนมีระบบการดูแล เฝ้าระวัง อนามัยแม่และเด็กที่มีประสิทธิภาพที่เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป


>