กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ลดหวาน มัน เค็ม เติมเต็มออกกำลังกาย ห่างไกลโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตำบลสบสาย ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สบสาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ลดหวาน มัน เค็ม เติมเต็มออกกำลังกาย ห่างไกลโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตำบลสบสาย ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สบสาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบสาย

นางประภากรขัดชา และคณะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบสาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรควิถีชีวิต 5 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับประเทศ ซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นและเป็นภาระต่อระบบบริการสุขภาพและค่าใช้จ่ายทั้งต่อครอบครัว ชุมชน สังคมประเทศ ส่วนใหญ่มาจากปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล บริโภคเกิน เค็มจัด หวานมาก มันมาก การเคลื่อนไหวทางกายน้อย การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา รวมถึงภาวะเครียด หากไม่สามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรควิถีชีวิตได้ ความพิการและเสียชีวิตก็ตามมา โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาไม่ถูกต้องจะเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วย จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าคนไทยที่มีความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ประมาณ ๓.๗ เท่าของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติและยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย และภาวะหัวใจล้มเหลวผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาเกือบครึ่งหนึ่งจะตายด้วยโรคหัวใจ ส่วนโรคเบาหวาน จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาบอด ไตวาย การถูกตัดอวัยวะ เป็นต้นปัญหาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด คือการบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ยังพบ การบริโภคอาหารที่มีรสเค็ม มัน และหวาน สาเหตุคือ ความเคยชิน ที่ประกอบอาชีพนอกบ้านไม่มีเวลาใน การประกอบอาหารเอง จึงหาซื้ออาหารสำเร็จรูปรวมถึงขาดการออกกำลังกายและไม่สามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกหลักได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ การเสริมสร้างสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ที่ทุกคนควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ การมีความสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ส่งผลต่อ การมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ จากสถิติการเจ็บป่วยของโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลสบสาย พบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรค ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น การรณรงค์ ส่งเสริมให้ประชาชน ได้ ตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทั้งในประชาชน กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ได้มีการปฏิบัติ ตามแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข ในการลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคโดยให้ดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและมีความ ยั่งยืน ซึ่งต้องอาศัยการติดตามความเปลี่ยนแปลงทางด้านการตรวจสุขภาพ เชิงรุกในชุมชนรวมถึงการเฝ้าระวังพฤติกรรมต่อการเกิดโรค โดยเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ. 2 ส.(ออกกำลังกาย อาหาร อารมณ์ ไม่ดื่มสุรา และไม่สูบบุหรี่) และส่งเสริมการสร้างมาตรการสังคมในชุมชน ในการส่งเสริมสุขภาพ รณรงค์ งดอาหาร หวาน มัน เค็ม รวมถึงการหันมาเอาใจใส่สุขภาพของตนเองไม่ให้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง สามารถจัดการปัญหาสุขภาพของตนเองได้ ที่เรียกว่า “ชุมชนสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย”

จากผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงสุขภาพกลุ่มประชาชนทั่วไปตามนโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบสาย ปีงบประมาณ 2564 จากการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง อายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,963 คน พบว่ามีเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวาน จำนวน 149 คนคิดเป็นร้อยละ 7.59 ของกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด และพบว่ามีภาวะเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 241คน คิดเป็นร้อยละ 12.28 ของกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด ซึ่งสถานการณ์โรคดังกล่าว มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หากประชาชนยังไม่ตระหนัก ถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยเฉพาะการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายจะทำให้มีการพัฒนากลายเป็นกลุ่มป่วยรายใหม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสบสาย ได้เห็นความสำคัญของสภาพปัญหาและตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว หากเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ป่วยจะทำให้มีภาระด้านการดูแลรักษาพยาบาลไปจนตลอดชีวิต โดยจะมีผลกระทบต่อทั้งตนเอง ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับประเทศ ดังนั้น จึงได้จัดทำ โครงการลดหวาน มัน เค็ม เติมเต็มออกกำลังกาย ห่างไกลโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตำบลสบสาย ปี 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและ เฝ้าระวังโรคและป้องกัน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
2. เพื่อลดผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและเพื่อเป็นการยืนยันการวินิจฉัยขั้นต้น และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มสงสัย
3. เพื่อปรับรูปแบบกระบวนการด้านให้ความรู้ และการปรับเปลี่ยนพฤติกกรมสุขภาพ ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความด้านโลหิตสูง ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
4. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตสูงได้ดี

ตัวชี้วัด
1. ≥ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองเบาหวาน จากระดับน้ำตาลในเลือด
2. ≥ร้อยละ 90 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในพื้นที่รับผิดชอบของปีที่ผ่านมาได้รับการตรวจน้ำตาลซ้ำ
3. อัตราผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ≤ ร้อยละ 1.95
4. ≥ ร้อยละ 70 ของกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจติดตาม
5. ≥ ร้อยละ 70 ของกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจติดตาม
6. กลุ่มสงสัยป่วยมีการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ (HL) ≥ ร้อยละ 10
7. ≥ ร้อยละ 40 ของกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านและส่งพบแพทย์ตามนัด

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 291
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 แลกเปลี่ยนเรียนรู้แกนนำเครือข่ายในชุมชนในการดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้แกนนำเครือข่ายในชุมชนในการดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้แกนนำเครือข่ายในชุมชน ในการดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  สุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยง  1 วัน จำนวน 50  คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำเครือข่ายในชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  สุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำหรับกลุ่มเสี่ยง เบาหวาน และเสี่ยงความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำหรับกลุ่มเสี่ยง เบาหวาน และเสี่ยงความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการและจัดกิจกรรม Seft Health Group ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรรมสุขภาพ สำหรับกลุ่มสมัครใจเข้าค่ายกิจกรรม 1 ครั้ง  โดยการจัดผู้เข้ารับการอบรม ตามฐาน จำนวน 4 ฐาน
ฐานที่  1 ตรวจสุขภาพ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประเมินสุขภาพเบื้องต้น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดBP วัดรอบเอว  ตรวจเลือดเบาหวาน (DTX) ลงบันทึกตามแบบฟอร์มการประเมิน ฐานที่ 2 ฐาน ลดเสี่ยง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อาหารลดโรค การสาธิตและ จัดหาอาหารเมนูชูสุขภาพ อาหารควบคุมน้ำหนัก และปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละวัน
ฐานที่ 3  ฐานเลี่ยงโรค  ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองให้เหมาะสมและความรู้เรื่องสุรา บุหรี่      การออกกำลังกายหลากหลายรูปแบบ ตามความเหมาะสมและออกกำลังกายร่วมกัน 30 นาที
ฐานที่ 4  การควบคุมอารมณ์ ผ่อนคลายและฝึกสมาธิ
ฐานที่ 5  การ ทบทวนกิจกรรมทั้ง 4 ฐานและปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินงานตามฐาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ ที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
2. อัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูง หรือ โรคเบาหวาน รายใหม่ลดลง
3. กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ ความเข้าใจ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ นำไปสู่การลดเสี่ยงและเลี่ยงโรคได้


>