กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิปะสะโง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตาม ชะลอ โรคไต แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2565 ตำบลลิปะสะโง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิปะสะโง

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

1.นางสาวพาตีเมาะดาโอะ
2.นางสาวนูรีซันมะเสาะ
3.นางสาวมือล๊ะหะมะ
4.นางสาวกามารียะเจะแม
5.นางสาวอามาณียามา

ตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากข้อมูลปี 2558 โดยกระทรวงสาธารณสุข พบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 ของประชากร หรือประมาณ 8 ล้านคน เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2 แสนคน ป่วยเพิ่มปีละกว่า 7,800 ราย หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะเกิดโรคแทรกซ้อนถึงเสียชีวิต มีผู้ป่วยที่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รอการผ่าตัดเปลี่ยนไตใหม่ประมาณ 40,000 ราย ซึ่งมีขั้นตอนในการรักษายุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูงถึงปีละประมาณ 2 แสนบาทต่อคน ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตมีเพียงปีละ 400 รายเท่านั้นนอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดคือขาดแคลนผู้บริจาคไต ผู้ป่วยจึงต้องรักษาเพื่อยืดอายุโดยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือล้างของเสียออกทางหน้าท้องโดยในแต่ละปี ได้ใช้งบประมาณในการบำบัดทดแทนไตในสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประมาณกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี และคาดว่าในปี 2560 อาจจะต้องใช้งบประมาณกว่า 17,000 ล้านบาทมีผู้เสียชีวิตจากไตวาย 13,536 คน ประมาณ 1 ใน 3 ตายก่อนวัยอันควร อายุน้อยกว่า 60 ปี จากการรายงานของสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ พบผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังจำนวน 8 ล้านคน และมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 10,000 คน
สถิติผู้ป่วยโรคไต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง ปี 2559 มีจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 50 คนและมีภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 6 คน พบว่าผู้ป่วยทราบและไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคไตมาก่อน ก่อให้เกิดผลกระทบกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งทางร่างกาย จิตใจ และได้จัดทำโครงการโครงการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตาม ชะลอ โรคไตแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี ๒๕63 ปีที่3 ผู้ป่วยได้รับการแลกเปลี่ยน และติดตามเจาะเลือดประจำปี จากผู้ป่วยที่เป็นโรคไตระยะที่3 เป็นระยะที่2 จำนวน 2 คนจากผู้ป่วย50 คน
เพื่อไม่ให้มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตเพิ่มขึ้น อันจะส่งผลต่อการต้องล้างไตในอนาคต อาสาสมัครประจำหมู่บ้านได้จัดโครงการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตาม ชะลอ โรคไตแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี ๒๕65 ปีที่4 ต.ลิปะสะโง และเพื่อมุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการ ป้องกันชะลอ โรคไต ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ต.ลิปะสะโง เขตรับผิดชอบเข้ามาคัดกรองภาวะแทรกซ้อนที่รพ.สต

อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ต.ลิปะสะโง เขตรับผิดชอบเข้ามาคัดกรองภาวะแทรกซ้อนที่รพ.สต

20.00 40.00
2 เพื่อให้อาสาสมัครประจำหมู่บ้านมีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน

อาสาสมัครประจำหมู่บ้านมีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน

70.00 95.00
3 เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในตำบลลิปะสะโง

อุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในตำบลลิปะสะโงลดลง

2.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม อสม. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชะลอโรคไต แก่ผู้ป่วยโรคความดัน เบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อสม. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชะลอโรคไต แก่ผู้ป่วยโรคความดัน เบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1   อสม. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชะลอโรคไต แก่ผู้ป่วยโรคความดัน  เบาหวาน
                 1.1  ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่เจ้าหน้าที่ และอสม.              1.2  ให้ อสม. ทำแบบทดสอบก่อนทำการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้
                 1.3  ดำเนินกิจกรรม อสม. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชะลอ โรคไต ในหัวข้อ                        -  อาสาสมัคร แลกเปลี่ยน เรียนรู้ เรื่องโรคไต เกี่ยวกับผู้ป่วยโรคความดัน โรคเบาหวาน                        -  อาสาสมัคร แลกเปลี่ยน เรียนรู้ เรื่องการเลือกรับประทานอาหาร สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโรคเบาหวาน
                 1.4  ประเมินความรู้หลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ด้วยแบบทดสอบหลังการดำเนินกิจกรรม รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้     - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน อัตราคนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน  2,000 บาท     - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน คนละ ๕๐ บาท จำนวน ๑ มื้อ  เป็นเงิน  2,000 บาท
    - ค่าป้ายชื่อโครงการ ขนาด กว้าง 1.5 เมตร ยาว  3 เมตร  จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน  1,000 บาท
    - ค่าสมนาคุณวิทยากร  ชั่วโมงละ 600 บาท  6 ชม จำนวน 1 วัน เป็นเงิน    3,600 บาท     - ค่าวัสดุและอุปกรณ์สื่อความรู้ในการจัดกิจกรรมโครงการ เป็นเงิน  3,600 บาท                    รวมเป็นเงิน  12,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2565 ถึง 10 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อาสาสมัครประจำหมู่บ้านมีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานร้อยละ 50
2.อาสาสมัครประจำหมู่บ้านมีความรู้สามารถติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โดยวัดความดัน เจาะเลือดปลายนิ้ว ควบคุมความดันให้อยู่ที่ 130/80 mmhg ระดับน้ำตาลในเลือด 110 mg/dl รายงานเจ้าหน้าที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

กิจกรรมที่ 2 อาสาสมัคร ดูแลติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
อาสาสมัคร ดูแลติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.ติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หลังได้รับการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชะลอ โรคไต ทุกๆ 6 เดือน โดยวัดความดัน เจาะเลือดที่ปลายนิ้ว แล้วมาเจาะเลือดซ้ำ ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 6 เดือน ตามที่รพ.สต ได้กำหนดติดตาม  เพื่อเปรียบเทียบผลเลือดให้ผู้ป่วยได้ทราบ มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้    2.1 ประชุมเตรียมความพร้อมทีมติดตามเยี่ยม วันที่ 16 กันยายน 2565
                       -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน อัตราคนละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน  2,000บาท                                                                                       
                       -ค่าอาหารกลางวันจำนวน 40 คน คนละ 50 บาท จำนวน ๑ มื้อ             เป็นเงิน  2,000 บาท 2.2 ค่าตอบแทน อสม.ติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรัง วันที่ 20-23  กันยายน  2565  หมู่ที่ 1-5   ตำบลลิปะสะโง   จำนวน 40  คน x 55 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน  4,400 บาท
                       รวมเป็นเงิน   8,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.  อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ต.ลิปะสะโง เขตรับผิดชอบเข้ามาคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ที่รพ.สต  และมีการเปรียบเทียบผลเลือดให้ผู้ป่วยได้ทราบ 2.  ลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในตำบลลิปะสะโง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,600.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีการดำเนินงาน
กิจกรรมที่ 1. ทำแบบทดสอบก่อนดำเนินกิจกรรม
๑.๑ ประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการแก่เจ้าหน้าที่ และอสม.
๑.๒ ให้ อสม. ทำแบบทดสอบก่อนทำการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้
กิจกรรมที่ 2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ชะลอโรคไตแก่ผู้ป่วยโรคความดันโรคเบาหวาน ปี 2565 ปีที่4 ตำบลลิปะสะโง
ดำเนินกิจกรรม โครงการ อสม.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ชะลอ โรคไตแก่ผู้ป่วยโรคความดัน โรคเบาหวาน ปี ๒๕65 ปี่ที่4 ต.ลิปะสะโง
(๑) อาสาสมัคร แลกเปลี่ยน เรียนรู้ เรื่องโรคไต เกี่ยวกับผู้ป่วยโรคความดัน โรคเบาหวาน
(๒) อาสาสมัคร แลกเปลี่ยน เรียนรู้ เรื่องการเลือกรับประทานอาหาร สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโรคเบาหวาน
(3) ประเมินความรู้หลังแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยแบบทดสอบหลังการดำเนินกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๓ อาสาสมัคร ดูแลติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบ ทุกๆ 6 เดือน วัดความดัน เจาะเลือดที่ปลายนิ้ว
กิจกรรมที่ ๓.๑ ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน
มาเจาะเลือดซ้ำ ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 6 เดือน ตามที่รพ.สต ได้กำหนดติดตามเพื่อเปรียบเทียบผลเลือดให้ผู้ป่วยได้ทราบ
กิจกรรมที่ ๓.2 สรุป/ประเมินผลโครงการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อสม.ตำบลลิปะสะโง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ร้อยละ 50
2.อสม.ตำบลลิปะสะโง สามารถติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โดยวัดความดัน เจาะเลือดปลายนิ้ว ควบคุมความดันให้อยู่ที่ 130/80 mmhg ระดับน้ำตาลในเลือด 110 mg/dl รายงานเจ้าหน้าที่
3.อสม.ติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เพื่อมาเจาะเลือดประจำปีที่ รพ.สต ลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง ในตำบลลิปะสะโง


>