กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสเปรย์สมุนไพรไล่ยุง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

คณะกรรมการชุมชนบ้านหินงอม

นางอารีย์ชุมวงษ์
นายอามารัตศิริรัตน์
นางอุบลอนทร์ดำ
นางจำเริญโพธิ์วิจิตต์
นายทวีชุมวงษ์

บ้านหินงอมหมู่ที่7 ตำบลท่างิ้วอำเภอห้วยยอดจังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever: DHF) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี มีลักษณะของโรคที่สำคัญคือ มีอาการไข้ร่วมกับอาการเลือดออก (Hemorrhagic) และอาจมีอาการตับโตร่วมด้วย ในบางรายอาจมีอาการช็อกถึงตายได้ โรคไข้เลือดออกมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ และจัดอยู่ใน กลุ่มโรคติดต่อที่นำโดยยุง โรคไข้เลือดออกแพร่ระบาดและก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสาธารณสุขในหลายประเทศเกือบทั่วโลก โดยเริ่มเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๑ จนถึงปัจจุบันซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ พบผู้ป่วยทั้งในชุมชนเขตเมืองและเขตชนบท มีการระบาดมากในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกที่มีการระบาดอยู่ทั่วประเทศ และเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญ ส่งผลการะทบตามมามากมาย เช่น เป็นภาระของครอบครัว ส่งผลต่อการเรียน ต่อการทำงานและค่าใช้จ่ายในการรับบริการการรักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายของครอบครัวผู้ป่วย ตลอดจนอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร ด้วยเหตุนี้ ปัญหาโรคไข้เลือดออก จึงเป็นปัญหาสำคัญที่เราทุกคนในสังคม ควรช่วยกันป้องกัน แก้ไข อย่างจริงจัง เพื่อลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ในประเทศไทย และเพื่อลดผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพของประชาชนจากการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ระดับครัวเรือน ชุมชน จนถึงระดับชาติ และในส่วนของเขตชุมชนบ้านหินงอมเอง ก็มีผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคไข้เลือดออกในทุกๆปี ทั้งที่มีการรณรงค์ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการควบคุมลูกน้ำยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย อย่างต่อเนื่อง โดยทางคระกรรมการหมู่บ้านร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน คณะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่างิ้ว และหน่วยงานภาครัฐ
ดังนั้น กลุ่มจิตอาสาประจำหมู่บ้าน บ้านหินงอมได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับคณะ อสม.หมู่ที่ 7 จัดทำโครงการสเปรย์ตะไคร้หอมไล่ยุงขึ้น ซึ่งเป็นการแปรรูปสมุนไพรที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่นนำมาใช้ประโยชน์ในการไล่ยุงป้องกันยุง และแมลงอื่นๆ ประชาชนได้ใช้เสปรย์ตะไคร้หอมไล่ยุงที่ปลอดสารพิษ ราคาถูก และยังสามารถทำได้เองในครัวเรือนเพื่อลดรายจ่ายในครอบครัวอีกด้วย ซึ่งคุณสมบัติของตะไคร้หอมมีหลายอย่าง เช่น ช่วยไล่ยุง ขับเหงื่อ เป็นยา สาระสำคัญในการออกฤทธิ์ไล่ยุงและแมลงของตะไคร้หอม มีการทดลองทางคลีนิค ใช้ในการไล่ยุง โดยทางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ใช้ครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอม 17% พบว่ามีฤทธิ์ไล่ยุงได้นาน 3 ชั่วโมง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้ทดลองประสิทธิภาพป้องกันยุงกัดของครีมที่ดีส่วนผสมตะไคร้หอม 20 % พบว่ามีฤทธิ์ไล่ยุงได้นานประมาณ 2 ชั่วโมง ขึ้นไป ในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีกลิ่นฉุน จึงสามารถนำไปไล่แมลงบางชนิดได้ เช่น มอด และมด ที่อยู่ในข้าวสารนอกจากนี้มะกรูดยังใช้ในการไล่ยุงและกำจัดลูกน้ำยุงลายนำเปลือกมาตากแห้งและเผาไฟจะช่วยไล่ยุงได้ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุโรคไข้เลือดออก วิธีปฏิบัติตะไคร้ไล่ยุง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุโรคไข้เลือดออก วิธีปฏิบัติตะไคร้ไล่ยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมฝึกทักษะการทำสเปรย์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกทักษะการทำสเปรย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22740.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,440.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดการเป็นไข้เลือดออกในหมู่บ้าน
2. ป้องกันและแก้ไขการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน
3. ป้องกันและแก้ไขก่อนการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน


>