กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตำบลบ้านกาศ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านกาศ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตำบลบ้านกาศ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านกาศ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาศ

นายทองเงิน ใจไว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาศ และคณะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาศ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

2.00

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางโรคเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นและมีแนวโน้มการเกิดโรคเพิ่มและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน เช่นการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์มากเกินไป การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วนและไม่เหมาะสมทางโภชนาการ ขาดการออกกำลังกายและมีความเครียดจากครอบครัวและสังคม จากการศึกษาแนวปฏิบัติการบริการป้องกันควบคุมโรคและความดันโลหิตสูงพบว่าปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก ได้แก่ภาวะความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ ปัจจัยเสี่ยงรอง ได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ขาดการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล บริโภคอาหารที่เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งรับประทานผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ รวมทั้งประชาชนมีความรู้ที่ไม่ถูกต้องและไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคที่ไม่ติดต่อเหล่านั้น
ในปีงบประมาณ 2565 รายงานจากคลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center) จังหวัดแพร่ พบว่าในพื้นที่ตำบลบ้านกาศ มีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ 20 ราย ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ 65 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยเหล่านี้เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลหลายๆแห่ง นอกจากนี้จากผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่ตำบลบ้านกาศในปีงบประมาณ 2565โดยการการคัดกรองความเสี่ยงของเบาหวานด้วยวาจา (Verbal Screening) และการการตรวจคัดกรองระดับน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีเจาะเลือดปลายนิ้วประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่จำนวน 1,440 คน พบว่ามีประชาชนสงสัยเป็นโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 30 คนคิดเป็นร้อยละ 2 และจากการตรวจวัดความดันโลหิตอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่จำนวน 1,085 คน เชิงรุกในพื้นที่โดย อสม. พบสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 5 คนเป็นเรื่องที่ทราบกันดีว่า โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ การนำประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคดังกล่าวมารับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจะส่งผลให้ผู้ป่วยรายใหม่ทั้ง 2 โรคมีแนวโน้มลดลง ดังนั้นเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตรายใหม่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคดังกล่าวจึงเป็นสิ่งสำคัญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกาศ จึงได้จัดทำ โครงการคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงตำบลบ้านกาศปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ขึ้นเพื่อปรับรูปแบบและกระบวนการด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มุ่งเน้นการสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ (Health literacy) ตลอดจนการให้ความสำคัญกับการตรวจสอบสุขภาพด้วยตนเอง (Health Monitoring)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่ ต.บ้านกาศ ได้รับ การตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและ เฝ้าระวังโรคและป้องกัน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และโรค  ความดันโลหิตสูง

0.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

2.00 1.00
3 เพื่อลดผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและเพื่อเป็นการยืนยันการวินิจฉัยขั้นต้นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วย
  1. อัตราผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ≤ ร้อยละ1.95
  2. ≥ร้อยละ 90 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในพื้นที่รับผิดชอบของปีที่ผ่านมาได้รับการตรวจน้ำตาลซ้ำ
  3. ≥ร้อยละ 40 ของประชากรกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน            และส่งพบแพทย์
0.00
4 เพื่อปรับรูปแบบกระบวนการด้านให้ความรู้ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,443
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2022

กำหนดเสร็จ 31/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป โดยใช้แบบคัดกรองสุขภาพ
  2. ออกรณรงค์เจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด และ วัดความดันโลหิตในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่ โดย อสม.
  3. บันทึกผลการคัดกรองในโปรแกรม HOSxP_PCU ของรพ.สต.โดยเจ้าหน้าที่
    4 . สรุปความครอบคลุมและประเมินผลการคัดกรองตามกลุ่มเพื่อวางแผนการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมตามระดับความเสี่ยงของกลุ่ม

(ไม่ใช้งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่อง "การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยเน้นหลัก 3 อ.2 ส. (อาหาร,อารมณ์,ออกกำลังกาย,งดสูบบุหรี่และสุรา)" ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยรายใหม่

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่อง "การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยเน้นหลัก 3 อ.2 ส. (อาหาร,อารมณ์,ออกกำลังกาย,งดสูบบุหรี่และสุรา)" ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยรายใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่อง  "การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยเน้นหลัก 3 อ.2 ส.   (อาหาร,อารมณ์,ออกกำลังกาย,งดสูบบุหรี่และสุรา)" ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยรายใหม่ มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับการตรวจสอบสุขภาพด้วยตนเอง (Health Monitoring )ตลอดจนการสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ (Health literacy )เพื่อให้ สามารถเข้าถึงข้อมูล ความรู้ด้านสุขภาพ ตลอดจนมีทักษะในการดูแลตนเองสามารถตัดสินใจเลือกปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

ค่าใช้จ่าย
-  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม  คนละ 1 มื้อ  มื้อละ 25 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 1,250 บาท -  ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรม  คนละ 1 มื้อ  มื้อละ 70 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 3,500 บาท -  ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 4 ชั่วโมง เป็นเงิน 2,400 บาท -  ค่าถ่ายเอกสารเข้าเล่ม เอกสารความรู้ เล่มละ 25 บาท จำนวน 50 เล่ม เป็นเงิน 1,250 บาท -  ค่าเอกสารแบบบันทึกพฤติกรรมสุขภาพในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 50 ชุด ชุดละ 10  บาท เป็นเงิน 500 บาท -  ค่าจ้างเหมาจัดทำ ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ป้ายละ 450 บาทจำนวน 1ป้าย เป็นเงิน 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 เมษายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9350.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจสุขภาพและติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพและติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการตรวจสุขภาพและติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงดังนี้ 1  กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 1.1 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ได้แก่ ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจระดับน้ำตาล โดยวิธีเจาะเลือดปลายนิ้วหลังอดอาหารมากกว่า 8 ชั่วโมง (FCBG) มีค่าน้ำตาลในเลือด >100 - 125 mg% ดำเนินการออกติดตาม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ รพ.สต.บ้านกาศ
1.2 กรณีประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน หลังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ รพ.สต.แล้วแล้วระดับน้ำตาลในเลือด (DTX) ยังสูงเกิน 160 mg%  ส่งต่อ รพ.สูงเม่น เพื่อยืนยันการวินิจฉัยขั้นต้นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ 1.3 กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ได้แก่ ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจระดับน้ำตาล โดยวิธีเจาะเลือดปลายนิ้วหลังอดอาหารมากกว่า 8 ชั่วโมง (FCBG) มีค่าน้ำตาลในเลือด ≥ 126 mg/dl ติดตามเจาะเลือดปลายนิ้วซ้ำภายใน3 เดือน 1.4 กรณีกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ได้รับการติดตามเจาะเลือดปลายนิ้วซ้ำภายใน 3 เดือน แล้วมีค่าน้ำตาลในเลือด ≥ 126 mg/dl ส่งต่อ รพ.สูงเม่น 2 กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 2.1 ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ที่ได้รับการคัดกรองความดัน โลหิตสูงและที่มีค่าระดับความดันโลหิตตัวบน (SBP) ในช่วง 140-179 mmHg และ/หรือค่าระดับความดันโลหิตตัวล่าง (DBP) ในช่วง 90-109 mmHg และยังไม่ได้รับการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง ดำเนินการออกติดตาม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ รพ.สต.บ้านกาศ และออกติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านโดย อสม. ภายใน 120 วัน
2.2 กรณีประชาชนกลุ่มสงสัยโรคความดันโลหิตสูง หลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแล้วระดับความดันโลหิตยังไม่ลด ส่งต่อ รพ.สูงเม่น เพื่อยืนยันการวินิจฉัยขั้นต้นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่

(ไม่ใช้งบ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เล่าสู่กันฟัง รู้เท่าทันอย่างไรจึงห่างไกลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง”

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เล่าสู่กันฟัง รู้เท่าทันอย่างไรจึงห่างไกลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เล่าสู่กันฟัง รู้เท่าทันอย่างไรจึงห่างไกลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง”โดยมีการคัดเลือกบุคคลต้นแบบที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วประสบผลสำเร็จมาเล่าสู่กันฟังในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตลอดจน ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ค่าใช้จ่าย -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม    คนละ 1 มื้อ  มื้อละ 25 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 1,250 บาท -  ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรม  คนละ 1 มื้อ  มื้อละ 70 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 3,500 บาท -  ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 4 ชั่วโมง เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7150.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ -  ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสาร เล่มละ 100 บาท จำนวน 2 เล่ม เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่ ต.บ้านกาศ ได้รับ การตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและ เฝ้าระวังโรคและป้องกัน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
2. ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต และสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
3. ลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่


>