กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดเสี่ยงลดโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง

หมู่ที่ 1 ,2 ,4 และ 10 ตำบลเขาย่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

46.30
2 ร้อยละประชาชนสงสัยเป็นโรคเบาหวาน

 

3.59
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

22.62
4 ร้อยละประชาชนที่สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

22.62
5 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

50.23
6 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

32.25
7 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

20.15
8 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (เนื้อสัตว์ ข้าว พืชผัก ผลไม้ ไขมัน) ครบ 3 มื้อ

 

35.20

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน ให้มีการเร่งรีบแข่งขันกับเวลาเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงเช่นการเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงขาดการออกกำลังกายเครียดทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าคนไทยที่มีความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ประมาณ 3.7 เท่าของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติและยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย และภาวะหัวใจล้มเหลวผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาเกือบครึ่งหนึ่งจะตายด้วยโรคหัวใจ ส่วนโรคเบาหวาน จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาบอดไตวาย การถูกตัดอวัยวะ เป็นต้นปัญหาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด คือการบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ยังพบการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มมัน และหวานสาเหตุ คือ ความเคยชิน โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง พบอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ในปี พ.ศ. 2562 – 2564 สูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 40.0 , 48.78 , 51.41และ 49.65 ตามลำดับ และพบอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ในปี พ.ศ.2562 - 2565 สูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 45.69, 68.03 , 73.44 และ 67.94 ตามลำดับด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปราง จึงได้จัดทำโครงการลดเสี่ยงลดโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลามะปรางในกลุ่มเสี่ยงเพื่อลดปัญหากลุ่มเสี่ยงที่จะส่งผลไปเป็นผู้ป่วยต่อไปและเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี มีความรู้ในการดูแลสุุขภาพตนเอง ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะประชาชนที่ีมีความเสี่ยงโรคเบาหวาน

ร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานลดลง

46.30 40.00
2 เพื่อลดประชาชนที่ีมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงลดลง

ร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงลดลง

22.62 20.00
3 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

32.20 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ และการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ และการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ รพสต จำนวน2 คนแกนนำส่งเสริมกิจกรรมทางกายหมู่ละ2 คนจำนวน 8 คนและอสม.แกนนำชุมชน จำนวน 12คน รวมทั้งหมด22คนและมีการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย มีการชี้แจงกรรมการขับเคลื่อนเพื่อตกลงแนวทางในการดำเนินงานและกำหนดข้อตกลงในการดำเนินงาน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 1 มื้อๆละ 25.-บาท จำนวน22 คนรวมเงิน 550 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2022 ถึง 1 กรกฎาคม 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการประชุมเกิดขึ้น1 ครั้ง
  2. มีคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการจำนวน 22 คน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
550.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสร้างความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมาย และคืนข้อมูลให้แก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมาย และคืนข้อมูลให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสร้างความเข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมายและคืนข้อมูลจากการสำรวจให้แก่กลุ่มเป้าหมายถึงข้อมูลด้านพฤติกรรมสุขภาพก่อนดำเนินโครงการโดยมีการประชุมกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงจำนวน200 คนของแต่ละหมู่บ้านโดยมีการประชุม 4 วันหมู่บ้านละ 1 วัน/50 คน/หมู่บ้านดังนี้
1. การให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเรื่องพฤติกรรมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 200คนๆละ 2มื้อๆละ25 บาทจำนวน 10,000 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน200 คน ๆละ1มื้อๆละ70 บาทจำนวน14,000บาท -ทีมวิทยากร จำนวน6ชั่วโมงๆละ 600บาท จำนวน4 วัน เป็นเงิน จำนวน14,400บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2022 ถึง 15 กรกฎาคม 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุมร้อยละ 80
2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38400.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการตรวจปริมาณเกลือโซเดียมในอาหารของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการตรวจปริมาณเกลือโซเดียมในอาหารของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการตรวจปริมาณเกลือโซเดียมในอาหารของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง  โดยการออกเก็บตัวอย่างอาหารที่บ้านกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง   และใช้แบบสอบถามประเมินพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงร่วมด้วย  โดยมีการสำรวจข้อมูล 2 ครั้ง ก่อนดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการ -ค่าตอบแทน  อสม.ในการออกเก็บข้อมูลปริมาณโซเดียมในอาหาร  จำนวน  12  คนๆละ  2 ครั้งๆละ  200 บาท   จำนวน  4,800  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2022 ถึง 20 กรกฎาคม 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีฐานข้อมูลปริมาณเกลือโซเดียมในอาหารของกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง 2.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตได้รับความรู้เรื่องปริมาณเกลือโซเดียมในอาหาร 3.กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจปริมาณเกลือในอาหารที่บริโภคร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคจัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายตามความถนัดเช่น -ส่งเสริมกิจกรรมการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ เพื่อนำผักมาปรุงอาหารเพื่อส่งเสริมการกินผักปลอดสารพิษในครัวเรือนและการทำแปลงปลูกผักได้ออกแรงเพิ่มขึ้นด้วย -ส่งเสริม กิจกรรมปั่นจักรยาน กิจกรรมเล่นฟุตบอล เปตอง การเต้นบาสโลบและ การเต้นแอร์โรบิค ตามความถนัดอย่างน้อยวันละ 30 นาที -ส่งเสริมกิจกรรมการเดินเพื่อสุขภาพ
-มีการประชุมแกนนำส่งเสริมกิจกรรมทางกายจำนวน12คนหมู่ละ 3 คน มีการฝึกปฏิบัติเพื่อเป็นแ กนนำส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชุมชนจำนวน3วัน
ค่าใช้จ่ายดังนี้ -ค่าวัสดุพันธุ์ผัก จำนวน5,000 บาท -ค่าวัสดุอื่นๆ จำนวน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2022 ถึง 31 สิงหาคม 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 2.กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง 3.มีรูปแบบการมเพิ่มกิจกรรมทางกายที่หลากหลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้ง ที่ 1

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้ง ที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้ง ที่ 1
1.ประชุมแกนนำขับเคลื่อนจำนวน22 คนเพื่อให้ลงประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 22 คนๆละ 25 บาทจำนวน 1 มื้อจำนวน 550บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กรกฎาคม 2022 ถึง 5 กรกฎาคม 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีการประชุมกรรมการขับเคลื่อน 2.ผลการดำเนินงานปรับเปลี่ยน กลุ่มเสี่ยงลดลงร้อยละ20

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
550.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้ง ที่ 2

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้ง ที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมติดตามประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครั้ง ที่ 2 1.ประชุมแกนนำขับเคลื่อน  จำนวน  22 คน  เพื่อให้ลงประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 22 คนๆละ 25 บาท  จำนวน 1 มื้อ  จำนวน 550  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 สิงหาคม 2022 ถึง 5 สิงหาคม 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีการประชุมกรรมการขับเคลื่อน 2.ผลการดำเนินงานปรับเปลี่ยน กลุ่มเสี่ยงลดลงร้อยละ 20

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
550.00

กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมสรุปผลการดำเนินโครงการ คืนข้อมูลสู่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสรุปผลการดำเนินโครงการ คืนข้อมูลสู่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสรุปผลการดำเนินโครงการคืนข้อมูลสู่ชุมชนโดยมีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 22 คนสรุปผลการดำเนินตลอดโครงการและฐานข้อมูลการสำรวจปริมาณเกลือโซเดียมก่อนและหลังดำเนินโครงการ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 22 คนๆละ 1 มื้อจำนวน550บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 สิงหาคม 2022 ถึง 19 สิงหาคม 2022
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีการประชุมร่วมกัน1 ครั้ง 2.มีฐานข้อมูลการสำรวจเกลือโซเดียมในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีปริมาณเกลือโซเดียมลดลง
2.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงลดลง
3.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีการเพิ่มกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น


>