กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการระบาดใหญ่ไปทั่วโลก ส่งผลกระทบแก่หลายประเทศ ซึ่งโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโคโรนาชนิดที่มีการค้นพบล่าสุด โดยพบการระบาดครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 2019 สามารถแพร่จากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองจาก จมูกหรือปาก ซึ่งขับออกมาเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม เรารับเชื้อได้จากการหายใจเอาฝอยละอองเข้าไปจากผู้ป่วยหรือจากการเอามือไปจับพื้นผิวที่มีฝอยละอองเหล่านั้นแล้วมาจับตามใบหน้า โดยสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2564 พบว่า มีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อยู่ที่ 269,985,626 ราย และมียอดสะสมผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 5,317,622 ราย
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดได้ดี เป็น 1 ใน 7 ประเทศ ที่องค์การอนามัยโลกให้การชื่นชมเนื่องจากประเทศไทยได้รับความร่วมมือที่ดีจากทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยยังมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสถานการณ์ผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2564พบว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3,787ราย ผู้ป่วยสะสม 2,168,646ราย พบผู้เสียชีวิตใหม่ 20 ราย ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 21,171 ราย และยอดผู้ป่วยรักษาตัวหายกลับบ้านได้แล้ว 2,095,859 ราย
ส่วนสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดยะลาจัดเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ซึ่งข้อมูลในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 จังหวัดยะลามียอดผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 สะสมสูงถึง 38,237 ราย โดยมีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 รายใหม่จำนวน 532 ราย และพบยอดผู้เสียชีวิตสะสม 253 ราย โดยพบยอดผู้ติดเชื้อสูงสุดในเขตอำเภอเมืองยะลา ตำบลสะเตงนอก เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองยะลาที่พบปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 จากการสำรวจเเละติดตามผลพบว่า พื้นที่ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ข้อมูลอัตราป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก พบผู้ติดเชื้อสะสมจำนวน 1,100 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก) เเละยังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเเพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา 19 อย่างรวดเร็ว จึงจัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่ต้องดำเนินการเเก้ไขปัญหาให้กับประชาชนเพื่อให้ชุมชนพ้นวิกฤติการเกิดโรคระบาดครั้งนี้ จังหวัดยะลา พบว่าประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองที่ไม่เหมาะสม เช่น การสวมแมส การเดินทางไปที่แออัดและการไม่ยอมเข้ารับการตรวดหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นต้นทำให้เกิดการระบาดในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำให้กับนักเรียนในสถานศึกษา ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้ตระหนักดีในบทบาทหน้าที่ในการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่เด็กนักเรียน และเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน ประจำปี 2565 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่แกนนำนักเรียนโรงเรียนอิสลาฮียะห์

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกแก่แกนนำนักเรียนโรงเรียนอิสลาฮียะห์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คน X 75 บาท X 1 มื้อ            เป็นเงิน 11,250 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 3 รุ่นๆละ 50 คน X 35 บาท X 2 มื้อ X 1 วัน  เป็นเงิน 10,500 บาท
  • ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง X 500 บาท X 3 รุ่น                                         เป็นเงิน   7,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อัตราป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียนลดลง ร้อยละ 20

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียนลดลง ร้อยละ 20
2.ทำให้แกนนำนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และมี พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม
3. แกนนำนักเรียนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)


>