กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ตำบลกาหลง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอบต.กาหลง

ตำบลกาหลง อ.ศรีสาครจ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)

 

100.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

80.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

 

100.00
4 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

80.00
5 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม

 

50.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและการขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542และแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดให้ภารกิจด้านการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสการจัดสวัสดิการสังคม เป็นภารกิจที่ต้องถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอาจเลือกทำตามอำนาจหน้าที่ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญด้านสังคมและคุณภาพชีวิตซึ่งเป็นหลักประกันด้านพื้นฐานของการบริการสาธารณะของรัฐ ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลกาหลงจึงมีภารกิจเกี่ยวกับการให้บริการสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แก่ผู้พิการผู้ป่วยเอดส์ผู้สูงอายุผู้ด้อยโอกาสผู้ยากไร้ผู้ประสบปัญหาทางสังคมให้สอดคล้องกับศักยภาพและบริบทความพร้อมด้านทรัพยากรชุมชนท้องถิ่นที่มีอยู่ซึ่งการจัดสวัสดิการสังคมในรูปแบบต่าง ๆต้องทำเป็นการทำงานแบบพหุภาคีรวมทั้งมีภารกิจตามอำนาจหน้าที่และมีอิสระในการปกครองตนเองในการจัดบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นการดำเนินงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุถือเป็นภารกิจหนึ่งในอำนาจหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลกาหลงในเรื่องการเตรียมความพร้อมการส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุการวางระบบคุมครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลกาหลง เพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับผู้สูงอายุควรดำเนินการอย่างเป็นระบบเป็นไปตามภารกิจอำนาจหน้าที่ภารกิจตามแผนการถ่ายโอนและให้สอดคล้องกับแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่2(พ.ศ. 2545 - 2564) นั้น
จากสถานการณ์ของสังคมโลกปัจจุบันโลกเรากำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ(Aging Society) ซึ่งหมายความว่าโลกมีประชากรผู้สูงอายุอายุ65ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ7โดยพบว่าปี2555โลกมีประชากร7,058ล้านคนมีอายุ65ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ8หรือ565ล้านคนจากความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทยอัตราการเกิดน้อยลงประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้นจะส่งผลให้ประชากรไทยคาดว่าอีก20ปีข้างหน้าประเทศไทยจะเป็นสังคมสู.วัยระดับยอดสูงสุดซึ่งหมายถึงมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ65ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ20ขึ้นไปอาจกล่าวได้ว่าอีก10ปีข้างหน้า(2564)ประเทศไทยจะกลายเป็น“สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” (Aged Society) และจากนั้นอีก10ปีประเทศไทยจะกลายเป็น“สังคมสูงวัยระดับยอดสูงสุด” (Supper - Aged Society) จากสภาพปัญหาและสถานการณ์ของผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากส่งผลกระทบทางสุขภาพเศรษฐกิจสังคมโดยรวมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีให้สุขภาพแข็งแรงเพื่อยืดเวลาที่จะเกิดการเจ็บป่วยให้หายหรืออาการทุเลาจากการเกิดความพิการหรือทุพพลภาพการยืดเวลาการเข้าสู่ภาวะทุพพลภาพออกไป
สังคมผู้สูงอายุและพิการตลอดจนผู้ด้อยโอกาสในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกาหลงในปัจจุบันกำลังมุ่งเข้าสู่สังคมแห่งผู้สูงวัยทั้งนี้ผู้สูงอายุคนพิการตลอดจนผู้ด้อยโอกาสส่วนหนึ่งยังขาดการดูแลเอาใจใส่ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังหรืออยู่กับเด็กในวัยเรียนและก่อนวัยเรียนโดยบุตรหลานวัยทำงานต้องดิ้นรนออกไปทำงานนอกพื้นที่เพราะสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันเกิดการชะลอตัวค่าครองชีพเครื่องอุปโภคบริโภคมีราคาสูงรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายทำให้บุตรหลานไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุบางรายปล่อยให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพังด้วยเงินเบี้ยยังชีพเท่านั้นผู้สูงอายุคนพิการและผู้ด้อยโอกาสหลายรายในสังคมมีโรคประจำตัวหรือต้องเป็นผู้ป่วยติดเตียงไม่มีโอกาสได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มหรือชมรม ต่าง ๆ บางรายอาจเกิดความน้อยใจหรือหมดกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป
คณะกรรมการบริหารจัดการศูนย์ ฯ องค์การบริหารส่วนตำบลกาหลงจึงได้จัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุคนพิการและผู้ด้อยโอกาสองค์การบริหารส่วนตำบลกาหลงเพื่อเกิดการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและฟื้นฟูสภาพร่างกายให้แข็งแรงลดภาวะแทรกซ้อนและดำเนินการใช้ชีวิตได้อย่างปกติมีความสุขทั้งด้านร่างกายจิตใจสังคมทางปัญญาและสิ่งแวดล้อมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าต้องได้รับการดูแล

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

100.00 1.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

80.00 1.00
3 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น

50.00 1.00
4 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลงลด

80.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2022

กำหนดเสร็จ 31/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมย่อย1 ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้องทำความเข้าใจโครงการ จัดตั้งศูนย์ ฯ และประชาสัมพันธ์ศูนย์ ฯ และโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อย1 ประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้องทำความเข้าใจโครงการ จัดตั้งศูนย์ ฯ และประชาสัมพันธ์ศูนย์ ฯ และโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 250 บาท 1.2 โต๊ะ – เก้าอี้สำนักงาน 1 ชุด ๆ ละ เป็นเงิน 6,000 บาท 1.3 ล๊อกเกอร์ 4 ชุด ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 1.4 จัดซื้ออุปกรณ์ วัสดุสำนักงาน เช่น ลิ้นชักพลาสติกใส่เอกสารขนาด A4, กระดาษ A4, ปากกา, ดินสอ, ยางลบ, หมึกลบคำผิด, ไม้บรรทัด, แป้นหมึกสีน้ำเงิน, น้ำหมึกสีน้ำเงิน, ที่เย็บกระดาษ, ลวดเย็บกระดาษ, กรรไกร, ฟิวเจอร์บอร์ด, กระดาษกาว 2 หน้า และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมเป็นเงิน เป็นเงิน 5,000 บาท 1.5 เครื่องตรวจวัดความดันโลหิต 1 เครื่อง ราคาเครื่องละ ๆ เป็นเงิน 3,500 บาท 1.6 เครื่องวัดไข้ 1 เครื่องราคาเครื่องละเป็น เงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 19,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 1 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ผู้สูงอายุไดัรับการตรวจสุขภาพและได้รับการดูแลสุขภาพได้ทันท่วงที ผลลัพธ์ ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีไม่เป็นโรคได้ง่าย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19750.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพตนเองในวัยผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพตนเองในวัยผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (กลุ่มเป้าหมายหมู่บ้านละ 10 คน จำนวน 4 หมู่บ้าน,เจ้าหน้าที่ผู้เข้าร่วมประชุม) จำนวน 60 คน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท 2.2 ค่าถ่ายเอกสารเอกสารให้ความรู้เกี่ยวกับศูนย์ 500 บาท 2.3 ค่าจ้างเหมารถรับ – ส่ง ผู้สูงอายุในวันที่จัดกิจกรรมให้ความรู้ เป็นเงิน 4,000 บาท 2.4 ค่าวัสดุอุปกรณ์วันจัดกิจกรรมให้ความรู้ เช่น กระดาษ A4, ปากกา, ดินสอ, กระดาษคลิปชาร์ต และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 1,000 บาท 2.5 ค่าวิทยากรในการให้ความรู้ จำนวน 2 คน จำนวน 2 ช.ม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท รวมเป็นเงิน 9,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>