กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาลูปัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย ศพด.กาลูปัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาลูปัง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง

นางสาวพาตีเม๊าะ สะมะอิโทร0624072834

ศพด. กาลูปัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โภชนาการมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กวัย 0-5 ปี เด็กวัยก่อนเรียนหรือปฐมวัย มักจะมีปัญหาเรื่องการรับประทานอาหารอันเนื่องมาจากสาเหตุการสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากกว่าและยังไม่รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดังนั้นโภชนาการที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากร่างกายต้องการเสริมสร้างการเจริญเติบโตและพัฒนาการ เด็กอายุระหว่าง 0-5 ปี มีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ โดยเฉพาะด้านร่างกายมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การให้อาหารเด็กอย่างไม่เหมาะสมหรือไม่ครบทั้ง 5 หมู่
จะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก มีระดับสติปัญญาไม่ดีเท่าที่ควร และเจ็บป่วยบ่อย ด้วยเหตุนี้ เด็กวัยก่อนเรียนจึงควรได้กินอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละชนิดควรกินให้หลากหลาย วันละ 3 มื้อ และดื่มนมเป็นอาหารเสริมให้เพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพตามที่ร่างกายเด็กต้องการในแต่ละมื้อ แต่ละวัน เพื่อให้เด็กได้รับอาหารที่ครบถ้วนและปลอดภัย จึงจะสามารถป้องกันแก้ไข และฟื้นฟูภาวะทุพโภชนาการของเด็กได้
ในการนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง ได้รับการขอความร่วมมือจากสถาบันนโยบายสาธารณะของมหาวิทยาลัยสงชลานครินทร์เรื่องการขับเคลื่อนแผนอาหารและโภชนาการในระดับท้องถิ่นซึ่งพบว่าปัญหาที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการของเด็กในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในส่วนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคือ ศพด.ยังไม่มีการกำหนดนโยบายด้านอาหาร รวมถึงระบบการประเมินตนเองเพื่อการพัฒนาซึ่งการดำเนินการด้านอาหารและโภชนาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง มีการจัดอาหารกลางวันและอาหารเช้า ให้เด็กเล็กภายในศพด.กาลูปัง ได้รับประทานทุกวันแต่ยังไม่ได้มีการติดตามและประเมินผลภาวะทุพโภชนาการเด็กอย่างต่อเนื่องและเป็นรายบุคคล
ดังนั้น เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาลูปัง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย ศพด.กาลูปัง ขึ้นโดยมีกิจกรรมจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการให้แก่ครูผู้ดูแลเด็ก แม่ครัว ผู้ปกครองมีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ให้แก่เด็กเล็กอย่างต่อเนื่อง การจัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกิน อ้วน หรือน้ำหนักน้อย ผอม เตี้ย แล้วแจ้งให้ผู้ปกครอง หรือขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ รพ.สต.กาลูปัง ในการแก้ไขปัญหาในกรณีที่พบว่าเด็กมีปัญหาด้านภาวะทุพโภชนาการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดจำนวนเด็กเล็กในศพด.กาลูปังที่ไม่ได้รับประทานอาหารเช้าในศพด.กาลูปัง ร้อยละ 70

จำนวนเด็กเล็กในศพด.กาลูปังที่มีภาวะส่วนสูง และน้ำหนักสมส่วน และได้รับประทานอาหารเช้าทุกวัน

70.00
2 2. เพื่อเฝ้าระวังและแก้ไขภาวะทุพโภชนาการในเด็กปฐมวัย ศพด.กาลูปัง

 

0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตด้านร่างกายและการมีพัฒนาการที่ดีให้แก่เด็กเล็กใน ศพด.กาลูปัง

 

0.00
4 4. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการ ในเด็กปฐมวัยของศพด.กาลูปัง

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครอง 50
รพ.สต. 2

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 31/10/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดบริการอาหารเช้าให้เด็กเล็กในศพด.กาลูปัง

ชื่อกิจกรรม
จัดบริการอาหารเช้าให้เด็กเล็กในศพด.กาลูปัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ุจัดบริการอาหารเช้าให้เด็กเล็กใน ศพด.กาลูปัง จำนวน 50 คน ได้รับประทานตลอดปีการศึกษา 1/2565 ไม่ใช้งบประมาณโครงการ (ใช้งบประมาณ ศพด.)

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กเล็กในศพด.กาลูปัง ได้รับประทาอาหารเช้าทุกวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เรื่องอาหารและโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครูจัดบอร์ดเกี่ยวกับภาวะโภชนาการที่ดีและเหมาะสมในเด็กปฐมวัย และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองได้ศึกษาหาความรู้ และเห็นความสำคัญของการให้เด็กได้รับประ่ทานอาหารครบ 5 หมู่

งบประมาณ1,500บาทได้แก่ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์

  1. ค่าฟิวเจอร์บอร์ด ขนาด 65*120 ซม.จำนวน3แผ่นแผ่นละ65บาท เป็นเงิน 195 บาท

  2. ค่ากระดาษสี2หน้า ขนาด 52*77 ซม. จำนวน4แผ่นแผ่นละ50บาท เป็นเงิน 200 บาท

  3. เทปสติกเกอร์ตีเส้น ขนาด 10 มม.จำนวน4ม้วนม้วนละ30บาทเป็นเงิน 120 บาท

  4. โปสเตอร์เกียวกับภาวะโภชนาการที่ดีสำหรับเด็ก 2-5 ขวบ จำนวน5แผ่นแผ่นละ 35 บาท เป็นเงิน 175 บาท

  5. ดอกไม้ตกแต่งบอร์ดจำนวน8ชิ้นชิ้นละ 30 บาท เป็นเงิน 240บาท

  6. กระดาษ A480 แกรม จำนวน3รีม รีมละ 190บาท เป็นเงิน 570 บาท

    (ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง ครู  แม่ครัว มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ และตระหนักถึงความสำคัญของภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 3 เก็บข้อมูล ช่ังน้ำหนัก วัดส่วนสูง

ชื่อกิจกรรม
เก็บข้อมูล ช่ังน้ำหนัก วัดส่วนสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครูผู้ดูแลเด็กชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ให้แก่เด็กเล็กอย่างต่อเนื่องทุกเดือน และจัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกิน อ้วน หรือน้ำหนักน้อย ผอม เตี้ย แล้วแจ้งให้ผู้ปกครอง หรือขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ รพ.สต.กาลูปัง ในการแก้ไขปัญหาในกรณีที่พบว่าเด็กมีปัญหาด้านภาวะทุพโภชนาการ

งบประมาณ 1,500บาทดังนี้

ค่าถ่ายเอกสารและเข้าเล่มข้อมูลและน้ำหนักส่วนสูงเด็กรายบุคคล จำนวน50เล่ม เล่มละ30บาทเป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีข้อมูลน้ำหนัก ส่วนสูง ของเด็กสำหรับใช้ประเมินผลภาวะทุพโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมติดตามประเมินผลภาวะโภชนาการของเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
ประชุมติดตามประเมินผลภาวะโภชนาการของเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ครูเชิญผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ รพ.สต. เข้าประชุม ทุกสิ้นเดือนตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงกันยายน เพื่่อประเมินผลภาวะโภชนาการเด็กจากข้อมูลน้ำหนักและส่วนสูงที่บันทึกไว้ งบประมาณ7,000บาท ดังนี้

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม เดือนละครั้ง จำนวน 4 เดือน จำนวน45คนคนละ 35 บาท/ครั้ง เป็นเงิน 6,300 บาท

  2. ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.2*1.00 เมตร จำนวน 1ป้าย เป็นเงิน 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและการมีภาวะโภชนาการที่ดีในเด็กเล็กภายใน  ศพด.กาลูปัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กเล็กในศพด.กาลูปังได้รับประทานอาหารเช้าร้อยละ 70
2. เด็กเล็กภายในศพด.กาลูปัง มีการเจริญเติบโตทางร่างกายที่สมบูรณ์ตามวัยและมีพัฒนาการที่ดี
3. เกิดการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กเล็กใน ศพด.กาลูปัง
4. เกิดเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและการมีภาวะโภชนาการที่ดีในเด็กเล็กภายใน ศพด.กาลูปัง


>