กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพชุมชนตำบลกาหลง ปี 2565 ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพชุมชนตำบลกาหลง ปี 2565 ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่

ตำบลกาหลง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (เนื้อสัตว์ ข้าว พืชผัก ผลไม้ ไขมัน) ครบ 3 มื้อ

 

50.00
2 ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

 

30.00
3 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

30.00
4 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

60.00
5 ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ

 

90.00
6 ร้อยละของครัวเรือนที่มีการจัดเก็บพันธุ์ข้าว ผัก และมีการเพาะพันธุ์ปลา กุ้ง ปู ในชุมชน

 

90.00

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ ผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคที่ส่งผลโดยตรงต่อภาวะสุขภาพ ประกอบด้วย อาหาร ยา เครื่องสำอาง อาหารเสริม เป็นต้น แม้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวล้วนมี มาตรการภาครัฐ สำหรับควบคุมคุณภาพมาตรฐานและโดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่ก็มีรายงานการตรวจพบ สารอันตรายห้ามใช้หรือสิ่งควบคุมเกินมาตรฐานกำหนดในผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ มาโดยตลอด การดำเนินเผ้าระวังความปลอดภัยในการบริโภค ด้านอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ ในชุมชน เนื่องจาก พบว่าในหมู่บ้านที่ห่างไกลความเจริญ สื่อความรู้ต่าง ๆ เข้าไม่ถึงหรือยังมีน้อย พบว่ามีร้านค้าในชุมชนรวมทั้งรถเร่ นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทย มาจำหน่ายแก่ประชาชนในชุมชน ประกอบกับในปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพในคลื่นวิทยุชุมชน ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภคด้านต่าง ๆ อาจตก เป็นเหยื่อหรือได้รับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเชื่อโฆษณาเหล่านั้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์ยาปฎิชีวะนะและอาหารเสริมที่มีส่วนผสมสเตียร้อยด์ ทำให้เกิดการรับสารที่อัตรายและได้รับ อย่างไม่สมเหตุสมผล ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนระยะยาว
จากการสำรวจร้านค้าปี 2563 ครั้งที่ 1และ2 ร้านชำ จำนวน 25 ร้าน และแผงลอยจำนวน 7 ร้าน เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ พลร้ายขายของชำขายขนมหมดอายุและเสื่อมสภาพ 7 ร้าน ร้อยละ 21.87 ฉลากขนมไม่มี อย. 9 ร้าน ร้อยละ 28.12 ฉลากขนมไม่มีวัน เดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุ 5 ร้าน ร้อยละ 15.62 ขนมไม่มีฉลาก/ฉลากไม่ครบถ้วน ร้อยละ 21.52
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ จึงมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินงาน คุ้มครองผู้บริโภค ในชุมชนด้วยพลังของชุมชน เป็นระบบเครื่อข่าย และคณะทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่ เฝ้าระวังรถเร่ หรือผลิตภัณฑ์สภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ในชุมชน ทำให้ชุมชนปลอดภัยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ เฝ้าระวัง ความปลอดภัยของประชาชน และชุมชนเขตตำบลกาหลง ที่ครอบคลุมและต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (เนื้อสัตว์ ข้าว พืชผัก ผลไม้ ไขมัน) ครบ 3 มื้อ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ ครบ3 มื้อ เพิ่มขึ้น

50.00 1.00
2 ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย ลดลงเหลือ

30.00 1.00
3 ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6  ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ลดลงเหลือ

60.00 1.00
4 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์

ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์ เพิ่มขึ้น

30.00 1.00
5 เพื่อลดพฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มรสหวานจัด

ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ ลดลง

90.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมปรึกษาหารือคณะกรรมการ ภาคเครือข่าย ในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคและผลิตภัณฑ้สุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมปรึกษาหารือคณะกรรมการ ภาคเครือข่าย ในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคและผลิตภัณฑ้สุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่าง จำนวน 10 คน 25 บาท 1มื้อ เป็นเงิน 250บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในชุมชนในโรงเรียน และในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในชุมชนในโรงเรียน และในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่าง 25 บาท 50 คน 2 มื้อ  เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท 50 คน 1 มื้อ  เป็นเงิน 3,000 บาท   -  ค่าป้ายไวนิล  เป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 3,250 บาท รวมเป็นเงิน 9,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้เรื่อง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ส่งเสริมให้มีและการใช้สมุนไพร
2.ภาคเครือข่าย อสม. ผู้ประกอบการร้านค้า แผงลอย มีองค์ความรู้ และมีส่วนร่วม ดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคยาไม่ปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สุขภาพ


>