กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนามาตรฐานคุณภาพบริการ เพื่อแม่ลูกปลอดภัย ห่างไกล ภาวะโลหิตจางตำบลกาบัง ประจำปี2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

รพ.สต.บ้านบันนังดามา

รพ.สต.บ้านบันนังดามา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย

 

5.00
2 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

5.00
3 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

5.00

ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งสุขภาพของมารดา และทารกในครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจะมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรงจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการตกเลือดในระหว่างคลอด และมีโอกาสติดเชื้อในระยะหลังคลอดสูง จากรายงานของงานอนามัยแม่และเด็ก พบว่าสาเหตุการตายของมารดา อันดับหนึ่ง คือ ภาวะตกเลือดหลังคลอดและจากสถิติประจำปีงบประมาณ 2563 ของจังหวัดยะลาพบว่า อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง เท่ากับร้อยละ 17.65 และระดับอำเภอกาบังอยู่ที่ร้อยละ12.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 10
และจากผลการดำเนินงานแม่และเด็ก 3 ปีย้อนหลังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา พบว่า ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 เท่ากับร้อยละ 16.80 ปีงบประมาณ 2563 เท่ากับร้อยละ 17.65 และในปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมา เท่ากับร้อยละ 17.85 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด ( เป้าหมายน้อยกว่า 10 % )ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์เป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมารดาและทารก ทำให้เกิดการคลอดทารกก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม แล้ว ยังมีผลกระทบถึงพัฒนาการเด็กและสติปัญญาในการเรียนรู้ต่ำ ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมารดาและทารกในอำเภอกาบัง
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็กอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบันนังดามา จึงได้จัดทำโครงการ แก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ขึ้นภายใต้โครงการ พัฒนามาตรฐานคุณภาพบริการ เพื่อแม่ลูกปลอดภัย ห่างไกล ภาวะโลหิตจางโดยให้ความรู้แก่กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขผู้นำชุมชนแกนนำสตรีและหญิงมีครรภ์ในเขตรับผิดชอบ มีความรู้ในงานอนามัยแม่และเด็ก การประชาสัมพันธ์ และการสร้างกระแสอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้หญิงมีครรภ์ฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์การฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอตามเกณฑ์จะช่วยให้ทราบถึงการเจริญเติบโตรวมถึงความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการขาดธาตุเหล็ก รวมทั้งการดูแลด้านโภชนาการ เพื่อป้องกัน ภาวะโลหิตจางในแม่และเด็ก

1.ร้อยละ 80 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการขาดธาตุเหล็กและโภชการที่เหมาะเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางในแม่และเด็ก ผ่านการประเมินจากแบบทดสอบก่อน/หลังเข้าอบรม
2.ร้อยละของภาวะโลหิตจางลดลงกว่าปีที่ผ่านมา

5.00 10.00
2 2. เพื่อส่งเสริมการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์

1.ร้อยละ 80 มีการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์

5.00 10.00
3 3. เพื่อการเฝ้าระวังการคลอดก่อนกำหนดและสามารถประเมินภาวะเสี่ยงซีดขณะตั้งครรภ์

ร้อยละ 90 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแล และติดตามจนถึงหลังคลอด

5.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำหมู่บ้านด้านอนามัยแม่และเด็ก 12

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรม

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางแก่กลุ่มเป้าหมาย

- ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 คน * 50 บาท * 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 คน * 35 บาท * 2 มื้อเป็นเงิน 7,000 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท * 2 วันเป็นเงิน 2,400 บาท 4. ค่าจัดทำป้ายไวนิล ขนาด 2 เมตร * 2.5 เมตร * 250 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท 5. ค่าวัสดุอุปกรณ์เป็นเงิน5,600บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 หญิงตั้งครรภ์มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการขาดธาตุเหล็กและโภชการที่เหมาะ เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางในแม่และเด็ก ผ่านการประเมินจากแบบทดสอบก่อน/หลังเข้าอบรม
  2. ร้อยละ 80 มีการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21250.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามการเยี่ยมโดยแกนนำหมู่บ้านด้านอนามัยแม่และเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการเยี่ยมโดยแกนนำหมู่บ้านด้านอนามัยแม่และเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดประชุมคณะทำงานแกนนำหมู่บ้านด้านอนามัยแม่และเด็ก
    • ค่าอาหารกลางวันประชุมคณะทำงาน จำนวน 12 คน * 50บาท * 1 มื้อ * 2 วัน เป็นเงิน 1,200 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มประชุมคณะทำงาน จำนวน 12 คน * 35บาท * 2 มื้อ* 2 วันเป็นเงิน 1,680 บาท



    1. ค่าออกเยี่ยมติดตามหญิงตั้งครรภ์/หลังคลอด ในกลุ่มแกนนำหมู่บ้านด้านแม่และเด็กวันละ 12 คน* 6 วัน* 120 บาทเป็นเงิน 8,640 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแล และติดตามจนถึงหลังคลอด
ร้อยละ 100 ทีมเครือข่ายสามารถส่งต่อหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงได้ทันเวลา ร้อยละ 75 สามารถติดตามเยี่ยมหลังคลอดครบตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11520.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,770.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ลดลงกว่าปีที่ผ่านมา ไม่เกินร้อยละ 10


>