กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตีย

ตำบลบูกิต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติที่กำหนดสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปซึ่งตามการคาดประมาณการประชากรประเทศไทยของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2566 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 20.66 ของประชากรทั้งประเทศ และคาดว่าในปี พ.ศ. 2578 จะมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 28.55 ของประชากรทั้งประเทศ ทั้งนี้ การเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์สังคมสูงอายุจึงเป็นประเด็นที่สำคัญ เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพ ซึ่งกระทบต่องบประมาณด้านการรักษาพยาบาล โดยสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย ได้คาดประมาณการด้านงบประมาณในการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เฉลี่ยประมาณ 15,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์จึงเป็นประเด็นสำคัญ เพื่อลดภาระด้านเศรษฐกิจของประเทศ สังคม และครอบครัว
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอสะเตียเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ บนฐานข้อมูลและองค์ความรู้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (GOAL) “ผู้สูงอายุสุขภาพดี ดูแลตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี”พร้อมทั้งการขับเคลื่อนในการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพแกนนำให้บรรลุวัตถุประสงค์มีความรอบรู้ทางด้านการดูแลส่งเสริมสุขภาพ ทบทวนแผนปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและขับเคลื่อนการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างความเข้าใจการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุสู่การปฏิบัติ

1.จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม ร้อยละ90 2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ มีการทบทวนแผนปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและขับเคลื่อนการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ ร้อยละ 80

0.00
2 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพบแกนนำผู้สูงอายุ ให้มีความรอบรู้ทางด้านการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 80

0.00
3 3. เพื่อทบทวนแผนปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

1.มีการทบทวนแผนปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและขับเคลื่อนการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ ปีละ3 ครั้ง

0.00
4 4.เพื่อกำกับ ติดตาม และขับเคลื่อนการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ
  1. สมาชิกชมรมและแกนนำผู้สูงอายุสามารถขับเคลื่อนและพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล1ชมรม
  2. ผลการดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์โครงการฯ ร้อยละ60
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ ปี 2565 จำนวน 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ ปี 2565 จำนวน 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ ปี 2565 จำนวน 1 ครั้ง ๑.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน X ๒๕ บาทX๒ มื้อ ๑ วัน เป็นเงิน 2,500 บาท ๒.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนX ๖๐ บาท X ๑ มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท ๓.ค่าวิทยากร ๖๐๐ บาท x ๖ ชม
เป็นเงิน ๓,๖๐๐ บาท 4.ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ผืน ขนาด 1 x 1.5 เมตรเป็นเงิน 500บาท รวม 9,600บาท วัสดุสำนักงาน ๑.ปากกาจำนวน 50 ด้าม X 5 บาท เป็นเงิน 250 บาท ๒.สมุด จำนวน 50 เล่ม X 20 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท 3.ค่ากระเป่าเอกสาร 50 ใบ X 80 บาท เป็นเงิน 4,000บาท รวม5,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เชิงปริมาณ : จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม ร้อยละ90 2.เชิงปริมาณ : กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ มีการทบทวนแผนปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและขับเคลื่อนการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุ ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14850.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 25 คน X 25 บาทX 2 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 1,250 บาท ๒.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 25 คน X ๖๐ บาทX ๑ มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 1,500 บาท รวม 2,750  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เชิงคุณภาพ : สมาชิกชมรมและลแกนนำผู้สูงอายุสามารถขับเคลื่อนและพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล1ชมรม 2.เชิงคุณภาพ : ผลการดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์โครงการฯ ร้อยละ60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สมาชิกชมรมและแกนนำผู้สูงอายุ มีความรู้ ความเข้าใจ การดำเนินงานด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
2.สมาชิกชมรมและแกนนำผู้สูงอายุ ปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สมาชิกชมรมและลแกนนำผู้สูงอายุ ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีความรอบรู้ทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ


>