กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาทักษะชีวิตประชาชน สุขภาพดี ชีวีมีสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

ศูนย์เยาวชนบ้านไอสะเตีย

นายมูฮัมหมัดตัรมีซี สะปากอ
นายอาซาน ซากาปลายะ
นายวาเอล เงาะโซ๊ะ
นายชาร์ฟัรฮัม ยูโซ๊ะ
นายมูฮัมหมัดกีพรี ดือราซอ

บ้านไอสะเตีย ม.8 ต.บูกิต อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

20.00
2 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

20.00
3 ร้อยละของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเครียดและเสี่ยงฆ่าตัวตาย

 

10.00

การส่งเสริมสุขภาพเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์ การส่งเสริมสุขภาพเป็นการลงทุนในสัดส่วนที่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาพยาบาลที่มีราคาแพง รัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องของการส่งเสริมดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของประชาชนทั้งประเทศ จึงกำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน ในเรื่องของการดูแลสุขภาวะและสุขอนามัยของประชาชนในชุมชน เชื่อว่าหากประชาชนมีสุขภาพที่ดีจะส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามไปด้วย และเมื่อประชาชนในชาติมีสุขภาพที่ดี ส่งผลให้การพัฒนาประเทศมีความเจริญก้าวหน้าและมันคง
เพื่อการตอบสนองต่อนโยบายและกลยุทธ์ของการส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะอนามัยของรัฐบาล เพื่อเป็นการรองรับการเปลี่ยนแปลงของปัญหาสุขภาพและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปตามบริบทของโลก ศูนย์เยาวชนบ้านไอสะเตีย นำนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยร่วมสร้างค่านิยมที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมดูแลสุขภาพอนามัยเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาทักษะชีวิตประชาชน สุขภาพดี ชีวีมีสุข เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรม สามารถดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ให้ปราศจากโรคภัย สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

20.00 30.00
2 เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

20.00 30.00
3 เพื่อลดภาวะภาวะเครียดและเสี่ยงฆ่าตัวตายเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป)  ที่มีภาวะเครียดและเสี่ยงฆ่าตัวตาย

10.00 5.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีการสร้างสุขภาพจิตที่ดี และสามารถปรับใช้ในการดำเนินได้อย่างถูกต้อง

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีการสร้างสุขภาพจิตที่ดี และสามารถปรับใช้ในการดำเนินได้อย่างถูกต้อง

20.00 30.00
5 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัย มีอารมณ์และจิตใจที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัย มีอารมณ์และจิตใจที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

20.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมงานก่อนจัดกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมงานก่อนจัดกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อธิบายความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์โครงการ และหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคน

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มิถุนายน 2565 ถึง 12 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานได้เข้าใจวัตถุประสงค์โครงการ และ หน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่เยาวชน ประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการ *ไวนิลโครงการ ขนาด 1.2x2.4=720บาท *ค่าวิทยากร 1x6x600=3,600บาท *ค่าอาหารกลางวัน 50x60=3,000บาท *ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 50x2x25=2,500บาท *ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม (กระเป๋า/สมุด/ปากกา) 50x50=2,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กรกฎาคม 2565 ถึง 16 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถดูแลสุขภาพอนามัยให้แข็งแรง ปราศจากโรคภัย มีอารมณ์และจิตใจที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12320.00

กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปและถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปและถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมสรุปถอดบทเรียนการจัดกิจกรรม สะท้อนปัญหาในการจัดงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กรกฎาคม 2565 ถึง 23 กรกฎาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รู้ปัญหาอุปสรรคในการจัดงานที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขในงานต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,320.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถดูแลสุขภาพอนามัยให้แข็งแรง ปราศจากโรคภัย มีอารมณ์และจิตใจที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ
2.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีการสร้างสุขภาพจิตที่ดี และสามารถปรับใช้ในการดำเนินได้อย่างถูกต้อง
3.ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัย มีอารมณ์และจิตใจที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


>