กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยเน้นที่ ครอบครัวและเครือข่ายชุมชน”ตำบลกาบัง ปีงบประมาณ 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยเน้นที่ ครอบครัวและเครือข่ายชุมชน”ตำบลกาบัง ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกาบัง

-

ตำบลกาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ก้าวออกจากครอบครัวเข้าสู่สังคมใหม่ อันได้แก่ระบบการศึกษาโรงเรียน ชุมชนและครอบครัวมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญยิ่งในการส่งเสริมศักยภาพเด็กวัยนี้ให้มีร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาที่ดี เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาค

 

71.79

เด็กวัยเรียนเป็นวัยที่ก้าวออกจากครอบครัวเข้าสู่สังคมใหม่ อันได้แก่ระบบการศึกษาโรงเรียน ชุมชนและครอบครัวมีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบที่สำคัญยิ่งในการส่งเสริมศักยภาพเด็กวัยนี้ให้มีร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาที่ดี เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตอย่างไรก็ตาม มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มีภาวะเสี่ยงหรือปัญหาพฤติกรรมและปัญหาอารมณ์ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ทั้งปัญหาการเรียน หรืออาการผิดปกติทางกายอื่นๆ การดูแล ช่วยเหลือ หรือเฝ้าระวังที่เหมาะสมจากทุกฝ่ายจะช่วยให้เด็กต่อสู้และผ่านพ้นปัญหาไปได้ในที่สุด โดยสถานการณ์ความฉลาดทางสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ จากการสำรวจข้อมูลความฉลาดทางสติปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ ปี พ.ศ. 2563 ในเด็กนักเรียน ป.1 จำนวน 319 คน (กรมสุขภาพจิต) พบว่าเด็กจังหวัดยะลามีความฉลาดทางสติปัญญาเฉลี่ย 66.66 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ (100) ส่วนความฉลาดทางอารมณ์ พบว่า มีความฉลาดทางอารมณ์ เฉลี่ย 45.90 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 70) และพบว่าผลการประเมินปัญหาพฤติกรรม-อารมณ์ (เด็กนักเรียน ป.1 จำนวน 264 คน ใช้แบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน) อยู่ในระดับเสี่ยง ร้อยละ 8.5 และอยู่ในระดับมีปัญหา ร้อยละ 8.5 นอกจากนี้ยังว่าเด็กนักเรียน ป.1 สงสัยเป็นออทิสซึม ปัญหาการเรียนรู้ (LD) เรียนรู้ช้า และสมาธิสั้นตามลำดับ
จากข้อมูลงานสุขภาพจิตโรงพยาบาลกาบังตำบลกาบัง พบว่าในปี 2564มีจำนวนเด็กชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนเขตตำบลกาบัง ที่เข้ารับการตรวจวัดระดับความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) จำนวน 25 ราย มีระดับความฉลาดทางสติปัญญาเฉลี่ย 71.79 ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ (100) นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนเด็ก ที่อายุ 6-12 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นออทิสซึม ปัญหาการเรียนรู้ (LD) จำนวน 8 ราย เรียนรู้ช้า (ID) จำนวน 15 ราย และสมาธิสั้นมีจำนวน 2 ราย
จากปัญหาดังกล่าว งานสุขภาพจิตเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกาบัง ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัด “โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กวัยเรียนด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยเน้นที่ครอบครัวและเครือข่ายชุมชน” ขึ้น เพื่อค้นหาและเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและคนในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120
กลุ่มวัยทำงาน 126
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2022

กำหนดเสร็จ 29/07/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รุ่นที่1 กิจกรรมอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใส่ใจรักเพื่อนเตือนเพื่อน เดือน กรกฎาคม 2565 ฐาน1.ทักษะการเรียนรู้ กลุ่ม2.ทักษะการยอมรับ ฐาน3.ทักษะการปฏิเสธ รุ่นที่2 กิจกรรมอบรมแลกเปลี่ยนเรียนในกลุ่มผู้ปกครองเด็กและแกนนำเครือข่ายวัยรุ่น เดือน กรกฎาคม 2565

ชื่อกิจกรรม
รุ่นที่1 กิจกรรมอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใส่ใจรักเพื่อนเตือนเพื่อน เดือน กรกฎาคม 2565 ฐาน1.ทักษะการเรียนรู้ กลุ่ม2.ทักษะการยอมรับ ฐาน3.ทักษะการปฏิเสธ รุ่นที่2 กิจกรรมอบรมแลกเปลี่ยนเรียนในกลุ่มผู้ปกครองเด็กและแกนนำเครือข่ายวัยรุ่น เดือน กรกฎาคม 2565
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 246 คนx50บาทx1มื้อ                    เป็นเงิน  12,300  บาท          - ค่าอาหารว่างและเครื่องและเครื่องดื่ม จำนวน 246  x25บาทx2มื้อ             เป็นเงิน  12,300   บาท          - ค่าติดตามเยี่ยมศูนย์ ทีมวัยรุ่นในชุมชน/รร. จำนวน 8 คน x8ครั้งx100บาท   เป็นเงิน   6,400   บาท
    • ค่าวิทยากร จำนวน5ชั่วโมงๆละ300บาทx2วัน                      เป็นเงิน   3,000   บาท           - ค่าจัดจ้างทำป้ายไวนิล โครงการขนาด 2 x2.5เมตรx1ป้าย                      เป็นเงิน   1,250   บาท           - ค่าวัสดุจัดอบรม                                                                         เป็นเงิน  10,700  บาท                                  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น      45,950 บาท  (สี่หมื่นห้าพันเก้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 24 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ มีทักษะในการช่วยเหลือปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ก้าวร้าว อย่างถูกต้องและเหมาะสม (ประเมินจากแบบทดสอบก่อนและหลังอบรม)   ๒.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการค้นหาและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเด็กในชุมชน   ๓.ผู้เข้ารับการอบรมมีการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพจิตเด็กและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตในเด็กและวัยเรียน   4.ผู้เข้ารับการอบรมมีแนวทางการแก้ไขปัญหาแนวทางปฏิบัติตัวและแนวทางการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ มีทักษะในการช่วยเหลือปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ก้าวร้าว อย่างถูกต้องและเหมาะสม (ประเมินจากแบบทดสอบก่อนและหลังอบรม)ร้อยละ80
๒.ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการค้นหาและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเด็กในชุมชน
๓.ผู้เข้ารับการอบรมมีการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพจิตเด็กและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตในเด็กและวัยเรียน
๔.ผู้เข้ารับการอบรมมีแนวทางการแก้ไขปัญหาแนวทางปฏิบัติตัวและแนวทางการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม


>