กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการลดโรค ลดเสี่ยง หลีกเลี่ยงความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงปี 2565

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดโรค ลดเสี่ยง หลีกเลี่ยงความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โคกสัก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน

หมู่ที่ 4 บ้านต้นสนหมู่ที่ 8 บ้านทุ่งโต๊ะหย๊ะหมู่ที่ 13 บ้านทุ่งนายพัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนมีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวนิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มีการเคลื่อนไหวทางร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรค ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วมและเสียชีวิตก่อนวันอันควรโรคความดันโลหิตสูงเป็นภาวะโรคไร้เชื้อเรื้อรังที่มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบเร็วขึ้นในกลุ่มอายุน้อยและพบเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น (พานทิพย์ แสงประเสริฐ,๒๕๕๔)ปัจจุบันประชากรโลกรวมทั้งประเทศไทยที่ประสบอยู่ โดยคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.๒๕๖๘ จะประสบปัญหาโรคความดันโลหิตสูง ๑.๕ ล้านคน (จดหมายข่าว วช,๒๕๔๙)ซึ่งอัตราตายต่อประชากรแสนคน จากโรคความดันโลหิตสูงเท่ากับ ๓.๙ ส่วนอัตราป่วยในต่อแสนประชากรด้วยโรคความดันโลหิตสูงเท่ากับ ๘๖๐.๕๓ (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข,๒๕๕๑)อันตรายจากภาวะของโรคนี้คือ ผู้ป่วยอาจมีอาการของโรคเพียงเล็กน้อย เช่น มึนศรีษะท้ายทอย หรือไม่มีอาการเลยได้นานหลายปี จึงเป็นการยากในการตรวจสอบ จนกระทั่งปรากฎร่องรอยที่เป็นอันตรายต่อชีวิตหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย และนำไปสู่โรคอันตรายอื่นอีก เช่นโรคของหลอดเลือดสมองโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต ซึ่งผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด(ปิยะมิตร ศรีธาราและคณะ,๒๕๕๑)เพราะฉะนั้นการตรวจพบโรคความดันโลหิตสูงตั้งแต่เริ่มแรกและได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง รวมทั้งการมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพจะสามารถควบคุมโรคและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ การปรับพฤติกรรมการบริโภคโดยลดอาหารเค็มและไขมันสูง การควบคุมความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ลดการดื่มแอลกอฮอล์งดบุหรี่ เป็นการช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตได้ นอกจากนี้การออกกำลังกายซึ่งเป็นกิจกรรมการออกแรงเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น ข้อต่อส่วนต่างๆของร่างกายอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอจึงจะ เป็นการเสริมสร้างสุขภาพให้แข้งแรงยิ่งขึ้นหรือคงไว้ซึ่งสมรรถภาพของร่างกายและลดระดับความดันโลหิตได้(สุรเกียรติ อาชานุภาพ,๒๕๕๐) จากการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลของประชาชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสนหมู่ที่ 13ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ปี ๒๕64 จำแนกตามปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยพบว่าประชากรดังกล่าวที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 180 คนโดยส่วนใหญ่ประชากรป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงอัตราความชุกเทากับ ๕๒.๗๓ ต่อพันประชากร ซึ่งพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมเสี่ยงในการดำเนินชีวิต เช่น การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารรสจัด (หวาน มัน เค็ม) เช่น แกงส้ม ปลาเค็ม การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เป็นต้น จากผลกระทบและสภาพปัญหาและสาเหตุดังกล่าวข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการลดโรค ลดเสี่ยง หลีกเลี่ยงความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นสน ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุงปี 2565ขึ้นเพื่อให้ประชาชนมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหา ควบคุมระดับความดันโลหิตสูงให้คงที่ปกติ ไม่ส่งผลร้ายจนเกิดภาวะแทรกซ้อน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอัตราการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ ปชช.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน

1.จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 2.ประเมินผลจากแบบทดสอบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันได้ตามเกณฑ์

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันได้ตามเกณฑ์ร้อยละ ๕๐

0.00
3 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม

กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/08/2022

กำหนดเสร็จ 10/08/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่ม เสี่ยง ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มป่วย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่ม เสี่ยง ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่ม เสี่ยง  วันที่ 4 สิงหาคม 2565 -  ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม   จำนวน  5๐  คน และผู้ดำเนินการ  จำนวน 4 คน      รวม 54 คน  จำนวน ๑ มื้อ ๆละ ๖๐ บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน และผู้ดำเนินการ จำนวน 4 คน  รวม 54 คน  จำนวน 2 มื้อๆละ ๒0 บาท
-  ค่าสมนาคุณวิทยากร  จำนวน 6 ชั่วโมงๆ.ละ 300 บาท
ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มป่วย  วันที่ 5 สิงหาคม 2565 -  ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม   จำนวน  5๐  คน และผู้ดำเนินการ  จำนวน 4 คน      รวม 54 คน  จำนวน ๑ มื้อ ๆละ ๖๐ บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน และผู้ดำเนินการ จำนวน 4 คน  รวม 54 คน  จำนวน 2 มื้อๆละ ๒0 บาท
-  ค่าสมนาคุณวิทยากร  จำนวน 6 ชั่วโมงๆ.ละ 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 สิงหาคม 2565 ถึง 5 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14400.00

กิจกรรมที่ 2 พบกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การสาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพและกิจกรรมการตรวจหาเกลือในอาหารในกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
พบกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การสาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพและกิจกรรมการตรวจหาเกลือในอาหารในกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-พบกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร  การสาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพและกิจกรรมการตรวจหาเกลือในอาหารในกลุ่มเสี่ยง วันที่ 9 สิงหาคม 2565 -  ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม   จำนวน  5๐  คน และผู้ดำเนินการ  จำนวน 4 คน      รวม 54 คน  จำนวน ๑ มื้อ ๆละ ๖๐ บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน และผู้ดำเนินการ จำนวน 4 คน  รวม 54 คน  จำนวน 2 มื้อๆละ ๒0 บาท
-  ค่าสมนาคุณวิทยากร  จำนวน 6 ชั่วโมงๆ.ละ 300 บาท พบกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร  การสาธิตเมนูอาหารเพื่อสุขภาพและกิจกรรมการตรวจหาเกลือในอาหารในกลุ่มป่วย วันที่ 10 สิงหาคม 2565 -  ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม   จำนวน  5๐  คน และผู้ดำเนินการ  จำนวน 4 คน      รวม 54 คน  จำนวน ๑ มื้อ ๆละ ๖๐ บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน และผู้ดำเนินการ จำนวน 4 คน  รวม 54 คน  จำนวน 2 มื้อๆละ ๒0 บาท
-  ค่าสมนาคุณวิทยากร  จำนวน 6 ชั่วโมงๆ.ละ 300 บาท
-เครื่องตรวจวัดความเค็มในอาหารแบบพกพา  จำนวน 3 เครื่องๆละ   2,950 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 สิงหาคม 2565 ถึง 10 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,650.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกกิจกรรม/ทุกรายการ สามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย
2. กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสม
3. อัตราการเกิดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยงลดลงและผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเกณฑ์
4. ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายร้อยละ 90
5. กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ100


>