กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมแกนนำครอบครัวเพื่อคัดกรองผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) บ้านไสยางผึ้ง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะแพน

ชมรมสร้างสุขภาพหมู่ที่ 9 บ้านไสยางผึ้ง

1 นายพันธ์ อ่อนเกลี้ยง

2 นายโอภาส แก้วขาว

3 นางวิไลวรรณ บัวศรี

4 นางกาญจนี วิชัยศร

5 นางปรีดา นุ่นปาน

หมู่ที่ 9 ต.ตะแพน อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้ โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคน ไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมอย่าง รุนแรง ซึ่งขณะนี้สถานการณ์การระบาดของโรคกำลังแพร่กระจายอย่างไม่หยุดยั้งและยังไม่สามารถควบคุมได้ซึ่งโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะแพร่กระจายผ่านฝอยละอองเป็นหลัก จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ติดเชื้อไอ จาม หรือหายใจออก ฝอยละอองเหล่านี้มีน้ำหนักมากเกินกว่าจะลอยอยู่ในอากาศ และจะตกลงบนพื้นหรือพื้นผิวอย่างรวดเร็วซึ่งอาจติดเชื้อ ได้จากการหายใจเอาไวรัสเข้าสู่ร่างกายเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโดยการสัมผัส พื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสแล้วสัมผัสตา จมูก หรือปากของตนเองจะทำให้เกิดอาการไข้สูง ไอ จาม มีการอักเสบของปอดและ เยื้อหุ้มปอดอย่างรุนแรง จนอาจทำให้เสียชีวิตสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ ในการระบาดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ระบบสาธารณสุขที่ให้บริการรักษาเข้าสู่ภาวะวิกฤตในการให้การดูแลผู้ป่วย ทั้งขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อบุคลากรและสถานที่ ที่ให้การรักษามีอัตราครองเตียงสูงมากยิ่งขึ้น มีผลกระทบขยายวงกว้างไปยังทุกจังหวัดในประเทศ จังหวัดพัทลุงยังมีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จากข้อมูลการแพร่ระบาดในปัจจุบันผู้ติดเชื้อโคโรนา 2019 ของจังหวัดพัทลุง ณ วันที่ 3 เมษายน 2565 มีผู้ป่วยสะสม 19,191 ราย อำเภอศรีบรรพต จำนวน 2,503 ราย
พื้นที่ ม.๙ บ้านไสยางผึ้ง มีผู้ติดเชื้อจำนวน ๓๔ ราย และผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่แพร่ระบาดเสี่ยงสูง หรือผู้สัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย ตามนิยามผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อสูง ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชมรมสร้างสุขภาพบ้านไสยางผึ้ง ได้เล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันและควบคุมการแพ่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงจัดทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดเชิงรุกลดผู้ติดเชื้อรายใหม่กำหนดมาตรการความคุมป้องกันตามมาตรการNew Normal และ DMHTT อย่างเข้มงวดเพียงพอมีประสิทธิภาพ กรณีที่มีการตรวจคัดกรองขั้นต้นด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ให้ผลเป็นบวก ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ทันต่อสถานการณ์ ตามบทบาทหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการป้องกันและควบคุมและระงับโรคติดต่อ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ชมรมสร้างสุขภาพม.๙ บ้านไสยางผึ้ง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ขึ้น ลดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เกิดประโยชน์แก่ประชาชนทุกกลุ่มวัยในพื้นที่ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 -เพื่อให้แกนนำครอบครัวมีความรู้และเฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ให้ความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาด ในชุมชน -เพื่อสร้างความตระหนักให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติให้สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจ ATK ที่ถูกต้องได้มาตรฐานทุกราย

2.ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และมีทักษะการตรวจATK ที่ถูกต้อง

50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมแกนนำครอบครัวให้ความรู้การคัดกรองเบื้องต้น ATK ด้วยตนเอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมแกนนำครอบครัวให้ความรู้การคัดกรองเบื้องต้น ATK ด้วยตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) ประชุมทีมภาคีเครือข่ายสุขภาพระดับพื้นที่ และผู้เกี่ยวข้อง จนท. หน่วยบริการ อสม. และแกนนำชุมชน เพื่อชี้แจงกระบวนการและมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 นำไปดำเนินการตามโครงการ
2) เจ้าหน้าที่หน่วยบริการ/อสม./แกนนำชุมชน/และผู้ที่เกี่ยวข้อง

-ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คน ๆละ 2 มื้อๆ25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
-ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ300 บาทเป็นเงิน1,500 บาท
-ค่าชุดตรวจ ATK จำนวน 50 ชุดๆละ70บาทเป็นเงิน 3,500บาท

เป็นเงินทั้งสิ้น10,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มิถุนายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-แกนนำครอบครัว ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 จำนวน ๕๐ คน

-ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจติดเชื้อโรคโควิด-19

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-แกนนำครอบครัว ได้เฝ้าระวัง คัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ได้รับความรู้ด้านระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 เพื่อไม่ให้เป็นพาหะนําโรคระบาดในชุมชน
-ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง และครอบครัวที่มีพฤติกรรมตามหลัก New Normal และ DMHTT สามารถลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดติดเชื้อโรคโควิด-19 -มีกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลกันและกันในการป้องกันการระบาดของโรคโควิด19


>