กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านบางม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยาวชนกับการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านบางม่วง

โรงพยาบาลบางใหญ่

1.นางสาวณมญแก้วบุญมา 2.นางสาวชรินทร์ทิพย์ศุภเมธีวกุล 3.นางสาวปาริตาปอสูงเนิน

ห้องประชุมชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา โรงพยาบาลบางใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กและเยาวชนขาดความรู้เรื่องสมุนไพรไทยและภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทย

 

0.00

พืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน แต่เมื่อแพทย์แผนปัจจุบันเริ่มเข้ามามีบทบาทในบ้านเรา ทำให้ผู้คนหันมาสนใจแพทย์แผนตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ ภูมิปัญญาและองค์ความรู้ในรการดูแลสุขภาพแบบเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอด ทำให้ภูมิปัญญาไทยที่มีการสืบทอดมาแต่ช้านานถูกบดบังและถูกกลืนหายไปในที่สุด
กลุ่มงานแพทย์แผนไทยได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงอยากปลูกฝังภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยแก่เยาวชน เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่ได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้าน สามารถประยุกต์เอาสมุนไพรที่มีอยู่รอบตัวมาใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัวเบื้องต้น
ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มการเข้าถึงการบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลบางใหญ่ จึงจัดทำโครงการเยาวชนกับการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย เพื่อขอการสนับสนุนจากกองทุนเทศบาลตำบลบ้านบางม่วง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักสมุนไพรพื้นบ้าน ได้สังเกตุ สัมผัส ได้รู้สรรพคุณของสมุนไพรและการนำไปใช้ประโยชน์

นักเรียนสามารถบอกชื่อสมุไพร สรรพคุณ ปละวิธีนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนสามารถนำประโยชน์จากสมุนไพรมาดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัวในเบื้องต้นได้

นักเรียนสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ในโรงเรียน ครอบครัว และมีการใช้ประโยชน์จากสมุนไรในการดูแลสุขภาพตัวเองเพิ่มมากขึ้น

0.00
3 นักเรียนสามารถอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมและคุณค่าของความเป็นไทย

นักเรียนเกิดการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย และมีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมและคุณค่าของความเป็นไทย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 เยาวชนกับการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 เยาวชนกับการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมในหน่วยงานเพื่อจัดทำแผนงานโครงการเสนอขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลบ้านบางม่วง 2.จัดทำแผนวิธีการดำเนินงานโครงการและเขียนโครงการ เสนอโครงการขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านบางม่วง 3.เจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทยประชุมร่วมกับคณะครู อาจารย์ผู้ดูแลเด็กนักเรียน จำนวน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนเปรมประชา โรงเรียนวัดพระเงิน โรงเรียนวัดสังวรณ์ 4.ประสานงานกับครูอาจารย์ผู้ดูแลเด็กนักเรียน โดยขอให้ส่งรายชื่อแกนนำหรือตัวแทนโรงเรียนเปรมประชา จำนวน 20 คน แกนนำหรือตัวแทนโรงเรียนวัดพระเงิน จำนวน 20 คน แกนนำหรือตัวแทนโรงเรียนวัดสังวรณ์ จำนวน 20 คนเพื่อเข้ารับการอบรม 5.จัดเตรียมอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรมอบรม 6.จัดการอบรมให้ความรู้ ภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ดังนี้ -ให้นักเรียนได้ศึกษาลักษณะทางพฤษศาสตร์ของพืชสมุนไพรในชุมชน (โดยใช้พืชสมุนไพรสด) -ให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงสรรพคุณ ส่วนที่ใช้ วิธิการนำมาใช้ประโยชน์ - สอนและสาธิตการทำลูกประคบสมุนไพรและให้นักเรียนฝึกปฏิบัติทำลูกประคบสมุนไพรสด 7.สรุปผลการดำเนินตามงานตามโครงการ พร้อมจัดส่งรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุน รายละเอียดงบประมาณ ดังนี้ 1.ค่าวัสดุสมุนไพรในการสอนและสาธิต ลูกประคบสมุนไพรสด จำนวน 120 ลูกๆละ 60 บาท เป็นเงิน 7,200.-บาท ประกอบด้วย
-หัวไพลสด จำนวน 20 กิโลกรัม -เหง้าขมิ้น จำนวน 4 กิโลกรัม -หัวตะไคร้ จำนวน 8 กิโลกรัม -ผิวมะกรูด จำนวน 8 กิโลกรัม -ใบมะขาม จำนวน 2 กิโลกรัม -การบูน จำนวน1 กิโลกรัม -เกลือป่นจำนวน 1 กิโลกรัม -ผ้าดิบขาวขนาด 50 ซม.x 50 ซม. จำนวน 120 ผืน -เชือกผ้าสีขาวขนาด 120 ซม.จำนวน120 เส้น 2.ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสอนและสาธิต เป็นเงิน 3,000.-บาท ประกอบด้วย -ตาชั่งสปริงจานกลม ขนาด 7 กิโลกรัม จำนวน 1 เครื่อง -ถุงมือยางชนิดใช้แล้วทิ้งจำนวน 2 กล่อง -หมวกคลุมผมชนิดใช้แล้วทิ้ง จำนวน 1 ห่อ -กำละมังขนาดใหญ่ จำนวน 5 ใบ -โปสเตอร์ภาพ จำนวน 10 แผ่น -ฟิวเจอร์บอร์ดจำนวน 5 แผ่น 3.ค่าแฟ้มเอกสาร จำนวน 60 แฟ้มๆละ 15 บาท เป็นเงิน 900.- บาท 4.ค่าปากกา จำนวน 60 ด้ามๆละ 10 บาท เป็นเงิน 600.- บาท 5.ค่าสมุดปกอ่อน จำนวน 60 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 600.-บาท 6.ค่าจ้างทำป้ายไวนิล ขนาด 1 เมตร x 2.50 เมตร จำนวน1ป้าย เป็นเงิน 400.-บาท 7.ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม วิทยากร ผู้จัดโครงการ และอาจารย์ผู้ดูแลเด็กนักเรียนจำนวน 70 คนๆละ 70 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,900.-บาท 8.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม วิทยากร ผู้จัดโครงการ และอาจารย์ผู้ดูแลนักเรียนจำนวน 70 คนๆละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,900.-บาท 9.ค่าวิทยากร- วิทยากรเดี่ยว ชั่วโมงละ 600 บาท x จำนวน 3 ชั่วโมง x 1 คน เป็นเงิน 1,800.-บาท - วิทยากรกลุ่ม ชั่วโมงละ 600 บาท x จำนวน3 ชั่วโมง x 3 คน เป็นเงิน 5,400.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แกนนำนักเรียนสามารถบอกชื่อสมุนไพร สรรพคุณ และวิธีนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง 2.แกนนำนักเรียนสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ในโรงเรียน ครอบครัว และมีการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในการดูแลสุขภาพตัวเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

นักเรียน เยาวชนเกิดความรู้รักษ์สมุนไพรไทย ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยสร้างความรักความผูกพันในครอบครัวและสังคมไทยต่อไป


>