กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุสุขภาพดีตามวิถีแบบพอเพียง ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทร ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงและเตรียมพร้อมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขเป็นเรื่องสำคัญ ในปัจจุบันผู้สูงอายุ ต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัว ทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจและค่านิยม ต่างๆประกอบกับวัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพในด้านภูมิ ความรู้ภูมิธรรม ภูมิปัญญา สมควรส่งเสริมให้เป็นทรัพยากรที่เข้มแข็งและมีคุณค่าให้ยาวนานที่สุด
จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวด้านต่างๆและค่านิยมต่างๆ ซึ่งก่อให้ผู้สูงอายุเกิดความเครียด ความคับข้องใจ วิตกกังวล แยกตัวออกจากสังคม ขาดสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว ท้อแท้และเบื่อหน่ายในชีวิต ประกอบกับวัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ หากผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลใกล้ชิดด้วยแล้ว จะยิ่งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุว้าเหว่ มีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลงจนเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง แยกตัวออกจากสังคมเป็นผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตใจที่รุนแรงและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
สถานการณ์ผู้ป่วยผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทรปัจจุบัน มีผู้สูงอายุเป็นผู้ป่วยติดเตียง 12 คน ติดบ้าน 30 คน ติดสังคม 974 คนจึงได้จัดทำโครงการผู้สูงอายุสุขภาพดีตามวิถีแบบพอเพียง ปีงบประมาณ2565 เพื่อส่งเสริมสุขภาพร่างกาย จิตใจและสังคม มีความรู้ แนวทางการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย ให้แก่ผู้สูงอายุ และมีความสุขในการใช้ชีวิต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้และแนวทางการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย

ผู้สูงอายุมีความรู้ ร้อยละ 80 หลังการอบรม โดยวิธีการการถามตอบ

180.00 144.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมประเมินสุขภาพตนเองได้ถูกต้อง

ผู้สูงอายุ ร้อยละ 80 ประเมินสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง

180.00 144.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 180
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมประเมินและให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมประเมินและให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย
ให้ความรู้และแนวทางการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวัยสูงอายุ 1.2 กิจกรรมย่อยอบรมการประเมินสุขภาวะสุขภาพในตนเอง โดยใช้เครื่องมือการประเมิน ADL/การตรวจวัดความดันโลหิต/การประเมินค่าผล DTX (จำนวน 2 วัน  วันละ 90 คน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีความรู้ หลังการอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีทักษะและแนวทางการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพในการดูแลตนเองได้
2. ลดความเสี่ยงและความรุนแรงจากอุบัติเหตุ การเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุลดลง
3. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการดูแลรักษา/ส่งต่อ
4. ผู้สูงอายุที่มีทักษะการประเมินผลทางสุขภาพ การประเมินคะแนนADL การประเมินค่าความดันโลหิตและค่าDTX


>