กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

โรงเรียนชุมชนวัดปิยาราม

-

โรงเรียนชุมชนวัดปิยาราม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันขยะมูลฝอยในโรงเรียน เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคของเด็กนักเรียนแปรเปลี่ยนไปทำให้โรงเรียนต้องรับภาระในการกำจัดขยะเป็นจำนวนมาก โรงเรียนชุมชนวัดปิยารามจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางให้กับนักเรียนในโรงเรียน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดปริมาณขยะในโรงเรียนและลดปัญหาขยะที่ตกค้างในชุมชนได้อีกทางหนึ่งอีกทั้งยังเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนในโรงเรียนจะร่วมมือกันลดและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นด้วยการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทและนำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อส่งเสริมให้เด็กในโรงเรียนรู้จักและเข้าใจการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีสร้างรายได้จากการจำหน่ายวัสดุรีไซเคิล 2เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียน 3 เพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 4เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรคติดต่อมาสู่นักเรียนในโรงเรียนที่เกิดจากปัญหาขยะมูลฝอย

เชิงปริมาณ
1. ร้อยละของโรงเรียน นักเรียนมีการคัดแยก ขยะ 4 ประเภทอย่างถูกวิธีไม่นอยกวาร้อยละ 80 2. ร้อยละ100 ของโรงเรียนที่มีการคัดแยกขยะ ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เชิงคุณภาพ1. ร้อยละ ของระดับความสําเร็จของการดําเนินการ ตามโรงเรียนมาตรฐานสิ่งแวดล้อมศึกษา ด้านการสร้างจิตสํานึกการบริหารจัดการขยะ ระดับ 3 ขึ้นไป
2. ร้อยละของโรงเรียน มีการจัดกิจกรรมและการ จัดการเรียนรู้ด้านการจัดการขยะในสาระการเรียนรู้แกนกลางที่เกี่ยวข้องระดับ 3 ขึ้นไป

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 104
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)

ชื่อกิจกรรม
โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมประกวดสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้
- รางวัล ชุดเครื่องเขียน จำนวน 10 x 50 บาท   เป็นเงิน 500 บาท
2.โครงการอบรมการจัดการขยะ
- อาหารว่างนักเรียน จำนวน 104 x 25 บาท   เป็นเงิน 2,600 บาท
3.กิจกรรมคัดแยกขยะ
-   ถังขยะแยกชนิด  จำนวน 8 x 1,450  บาท      เป็นเงิน 11,600 บาท
-   เหล็กทำขาตั้งถังขยะ  จำนวน 6 x 350 บาท    เป็นเงิน 2,100 บาท
4. กินอาหารให้หมดไม่เหลือเศษอาหาร
5. กิจกรรมนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์
6.กิจกรรมธนาคารขยะ
-  ป้ายไวนิล ขนาด 200x150 ซม. จำนวน 3 x 400 บาท   เป็นเงิน 1,200 บาท
-  ป้ายไวนิล ขนาด ุ60 x 200 ซม. จำนวน 3 x 300 บาท  เป็นเงิน 900 บาท
-  สีน้ำมัน 2 กระป๋อง x 900 บาท  เป็นเงิน 1,800 บาท
7. กิจกรรมใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
- ผ้าด้ายดิบ  70 หลา  x 28 บาท    เป็นเงิน 1,960 บาท
8. ปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์                                                                                                                                                                                                                                        - อิฐบล็อก  50 ก้อน x  7  บาท  เป็นเงิน 350 บาท - ท่อซีเมนต์ขนาด 80 ซม. จำนวน 12 x 300 บาท   เป็นเงิน 3,600 บาท
- ปูนซีเมนต์  จำนวน 6 x 165 บาท    เป็นเงิน 990 บาท
- ปุ๋ยคอก  จำนวน 10 x 50 บาท     เป็นเงิน 500 บาท
         รวมเป็นเงินทั้งสิ้น    27,750  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 มิถุนายน 2565 ถึง 28 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.โรงเรียนเกิดเเนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการขยะ เเละมีข้อมูลปริมาณขยะเพื่อใช้ในการวางแผนการทำกิจกรรมต่อไป 2.นักเรียนในเเต่ละช่วงชั้น สามารถคบริหารจัดการขยะได้ เเละนักเรียนได้คิดสร้างสรรค์ผลงานประดิษฐ์จากขยะเหลือใช่ 3.นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เเละสามารถแยกประเภทของขยะได้ถูกต้อง เเละนักเรียนมีรายได้จากการคัดเเยกขยะ 4.โรงเรียนมีปริมาณขยะที่ลดลง เนื่องจากนักเรียน ครู บุคลากร มีการจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3Rs ได้เเก่ Reduce(ลดการใช้)Reuse(การใช้ซ้ำ) และ Recycle(การนำกลับมาใช้ใหม่) เเละได้ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดสรา้งสรรค์ ได้ประดิษฐ์ชิ้นงานจากวัสดุที่ไม่ใช้เเล้ว 5.นักเรียนมีทักษะในการเย็บถุงผ้า เเละร่วมกันรณรงค์ ส่งเสริมในการใช้ถุงผ้า เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจในการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง
2.นักเรียนครู และบุคลากรทางการศึกษา สามารถคัดแยกขยะ นำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ และปริมาณขยะในโรงเรียนลดลง
3.นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีระบบการจัดการขยะอย่างถูกวิธี
4.เป็นการบูรณาการ การทำงานร่วมกันและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันทั้งส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ ผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชน4


>