กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันวัยใสใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง

โรงเรียนสามแยกบ้านเนียง(สิทธิพันธ์อนุกูล)

โรงเรียนสามแยกบ้านเนียง(สิทธิพันธ์อนุกูล)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมสุขภาพเป็นกิจกรรมที่สำคัญและจำเป็นเพราะการมีสุขภาพที่ดี สมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจเป็นพื้นฐานของมนุษย์ที่ผู้อื่นไม่สามารถหยิบยื่นให้ได้ การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่ง เพื่อเป็นการกระตุ้นปลูกจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนเกิดการเรียนรู้ถึงประโยชน์และคุณค่าด้านสุขภาพที่เหมาะสม เอาใจใส่ตนเอง มีพลานามัยสมบูรณ์ รักสะอาดปราศจากโรค มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี
โรงเรียนสามแยกบ้านเนียง(สิทธิพันธ์อนุกูล) จึงเล็งเห็นถึงปัญหาในการบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อาหารสำเร็จรูป อาหารขยะ ฯลฯ อันเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบปัญหาการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ การเลือกกินอาหารที่ชอบ การไม่กินผักผลไม้ เป็นต้น จากปัญหาดังกล่าวทางโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการวัยใสใส่ใจสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2565 ขึ้น เพื่อให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ โดยมุ่งเน้นการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการกินที่ถูกต้องและสุขภาพ พลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการบริโภคอาหาร 2. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการเลือกบริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์ 3. เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่ถูกต้องและเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 290
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 - จัดฝึกอบรมการให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ - ให้ความรู้เรื่องวิธีการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ - สาธิตการประกอบอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการในลักษณะของฐานการเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
- จัดฝึกอบรมการให้ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ - ให้ความรู้เรื่องวิธีการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ - สาธิตการประกอบอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการในลักษณะของฐานการเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์                         เป็นเงิน  2,300  บาท
  • ค่าอาหารว่าง 290 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ   เป็นเงิน 14,500  บาท
  • ค่าป้ายไวนิลขนาด 90×200 ซม.             เป็นเงิน     450  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ครู นักเรียนและผู้ปกครอง เห็นความสำคัญในการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์
- นักเรียนเกิดพฤติกรรมที่ดีในการเลือกรับประทานอาหาร
- นักเรียนรู้จักดูแลสุขภาพของตนเอง
- นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน


>