กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหมอยาน้อยสืบสานภูมิปัญญาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา

อสม. หมู่ที่ 1

1. นางยุพินทองอุไร
2. นางพานีคงศรีประพันธ์
3. นางประไพคงทน
4. น.ส.อัญชลีพรหมเทพ
5. นางปิยวดีชุมทอง

ตำบลลำพะยาอำเภอเมืองจังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรที่กำหนดมาจากธรรมชาติ และมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะทาง ในทางสุขภาพ อันหมายถึง การส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย เป็นการดูแลสุขภาพในชุมชนแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้

การส่งเสริมสุขภาพ เป็นกระบวนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสุขภาพกายแข็งแรง เจริญเติบโตปราศจากโรคภัย ไข้เจ็บ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพ แต่ขาดในเรื่องความตระหนักและจะกลับมาใส่ใจสุขภาพเมื่อเกิดการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับตนเองหรือคน ในครอบครัว การดำรงชีวิตในปัจจุบันที่มีความเร่งรีบ ประกอบกับการพัฒนาทางด้านการแพทย์ที่ประชาชนไม่สามารถ พึ่งพาตนเองได้ในการดูแลรักษาสุขภาพ

กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายส่งเสริมการใช้การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือกในระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับ โดยมียุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัย การบริการด้านการแพทย์ทางเลือก ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพร และการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก การใช้ และเพิ่มการเข้าถึงบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เพื่อเป็นการรักษาภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย และส่งเสริมการปลูกและใช้สมุนไพร เป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมโดยอาศัยการนำเอาองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผน ไทย การแพทย์พื้นบ้านและสมุนไพร รวมถึงการนำเอาธรรมชาติรอบตัวมาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ เช่น การออกกำลังกาย ด้วยท่าฤาษีดัดตน การรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติบำบัด จะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลรักษา สุขภาพตนเองได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำเนียบ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กกลุ่มวัยเรียนมีความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ด้านการแพทย์แผนไทย/สมุนไพร เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในโรงเรียนและครอบครัวของตนเองรวมไปถึงชุมชนด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ความรู้ด้านภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรส่งเสริมอนุรักษ์สมุนไพรไทยในการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาโรค การดูแลสุขภาพและการทำผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเด็กวัยเรียน
  1. ร้อยละ 60 มีความรู้ด้านภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรส่งเสริมอนุรักษ์สมุนไพรไทยในการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาโรค
0.00
2 2 เพื่อนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยไปเผยแพร่ในกลุ่มเด็กวัยเรียน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  1. ร้อยละ 60 สามารถนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยไปเผยแพร่ในกลุ่มเด็กวัยเรียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
0.00
3 3 เพื่อให้กลุ่มเด็กวัยเรียน สามารถดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลใกล้ชิดด้านการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆโดยใช้สมุนไพรได้อย่างถูกต้อง
  1. ร้อยละ 80 สามารถดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลใกล้ชิดด้านการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆโดยใช้สมุนไพรได้อย่างถูกต้อง
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 42
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2022

กำหนดเสร็จ 31/12/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพเรื่องการเรียนรู้สมุนไพรใกล้ตัวใช้ในการรักษาโรค

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมพัฒนาศักยภาพเรื่องการเรียนรู้สมุนไพรใกล้ตัวใช้ในการรักษาโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดอบรมพัฒนาศักยภาพเรื่องการเรียนรู้สมุนไพรใกล้ตัวใช้ในการรักษาโรค จำนวน 42 คน
2.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การทำยาสมุนไพร เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์
2.1 การทำยาดมสมุนไพร

1.ค่าอาหารกลางวัน 60 บ. x 42คน x 1 มื้อเป็นเงิน 2,520 บาท

2.ค่าอาหารว่าง 25 บ. X 42 คน x 2 มื้อเป็นเงิน 1,050 บาท

3.ค่าสมนาคุณวิทยากร300 บ. x 4 ชม. x 1 วัน เป็นเงิน 1,200 บาท

4.ค่าวัตถุดิบ/วัสดุสำหรับทำยาดมสมุนไพรเป็นเงิน 12,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16770.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,770.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 60 มีความรู้ด้านภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรส่งเสริมอนุรักษ์สมุนไพรไทยในการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาโรค
2. ร้อยละ 60 สามารถนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยไปเผยแพร่ในกลุ่มเด็กวัยเรียน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. ร้อยละ 80 สามารถดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลใกล้ชิดด้านการเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆโดยใช้สมุนไพรได้อย่างถูกต้อง


>