กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคด้านความรู้และการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา ประจำปี 2565 (ประเภทที่ 1)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคด้านความรู้และการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา ประจำปี 2565 (ประเภทที่ 1)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา

ชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ จำนวน ๔ ภารกิจ คือการผลิตสื่อและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคด้านความรู้ในการบริโภคและเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรม การสร้างและขยายเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของผู้บริโภคในท้องถิ่น และการตรวจสอบด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ 6 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยาวัตถุเสพติด เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง และวัตถุอันตรายที่ใช้บ้านหรือทางสาธารณสุข
ปัจจุบันกระแสการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากประชาชนหันมาสนใจการดูแลสุขภาพ โดยประชาชนมักแสวงหาผลิตภัณฑ์เหล่านี้ตามที่ต้องการจากทั้งโรงพยาบาล คลินิก ร้านชำ ตลาดนัดหรือรถเร่ รวมทั้งทางสื่อออนไลน์ มีทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐานรับรองจาก อย. ประกอบกับการสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วขึ้น สามารถรับข่าวสารด้านการโฆษณาหลากหลายช่องทาง ซึ่งบางครั้งมีการหลอกลวงหรือโอ้อวดเกินจริง โดยจากการดำเนินงานของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ประจำปี 2563 พบว่า มีผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ เข้าข่ายผิดกฎหมาย 150 ผลิตภัณฑ์ และจากสถิติรับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคในระบบร้องทุกข์ผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำเดือน กันยายน - พฤศจิกายน 2564 พบเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภค ประเภทผลิตภัณฑ์สุขภาพ เวชภัณฑ์ยา และอาหารเสริม จำนวน 68 เรื่อง ทั้งนี้ นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมอาหารและยา (อย.) ได้รับรายงานปัญหาจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อความงามในปัจจุบันพบว่า ผู้บริโภคที่ได้รับอันตรายจากการใช้เครื่องสำอางทาสิวฝ้า หน้าขาว ที่ผสมสารห้ามใช้ สารปรอท ทำให้เกิดการแพ้ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษสะสมของปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบสารไฮโดรควิโนน ทำให้เกิดการแพ้ ระคายเคือง เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวร รักษาไม่หายและกรดเรทิโนอิกหรือ กรดวิตามินเอ เมื่อใช้แล้วเกิดอาการหน้าแดง ระคายเคือง แสบร้อนรุนแรง เกิดการอักเสบ ผิวหน้าลอกอย่างรุนแรง และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ (เจาะลึกสุขภาพ, 2557) รวมทั้ง ปัญหาการปลดล็อคสารเสพติด กรณีการใช้ใบกระท่อมในระยะยาวส่งผลต่อจิตใจและระบบประสาท และหากใช้ใบกระท่อมเป็นประจำอาจมีผลข้างเคียง เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ รู้สึกกระวนกระวาย สับสน เซื่องซึมเคลื่อนไหวช้า ร่าเริงผิดปกตินอนไม่หลับ หรือร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา ไตเกิดความเสียหาย ทำให้ปัสสาวะมีสีเข้มมาก ผิวหนังเป็นสีเหลือง เกิดจากตับทำงานอย่างหนักในการกรองสารพิษออกจากร่างกาย รวมทั้งการกัญชาที่มีปัญหาเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากข้อมูลจะเห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่มักเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากการโฆษณาและบุคคลรอบข้างโดยยังไม่ได้ศึกษาข้อมูลที่ถูกต้อง และอาจเกิดอันตรายจากผลิตภัณฑ์นั้นๆได้ นอกจากนี้ จากการสำรวจร้านชำในเขตเทศบาลนครยะลา ปี 2563 จำนวน 413 ร้าน พบร้านชำที่ขายยามีจำนวน 86 ร้าน ที่สำคัญพบร้านชำขายยาไม่ถูกต้อง จำนวน 13 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 15.17 (รายงานจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา, 2564)
ดังนั้น การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคด้านความรู้และรู้จักเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง งานเภสัชกรรม เทศบาลนครยะลา จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคด้านความรู้และการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา ประจำปีงบประมาณ 2565 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย

ผู้เข้าอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการอบรมมากกว่าร้อยละ 80 (วัดจากแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม)

80.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้อง
  1. ผู้เข้าอบรมสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องมากกว่าร้อยละ 80
  2. ร้อยละ 90 ของผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/07/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมความรู้และการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมความรู้และการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 สิงหาคม 2565 ถึง 23 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24135.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,135.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>