กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบ้านบ่อเตยร่วมใจ ลดขยะ ลดโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่1

1นางกาญจนา อูมา
2นางรอกีย๊ะ มะแซ
3นางสุดสายใจ บ่อเตย
4นางสาวนูรมา ยูโซะ
5นางอารีย์ เจ๊ะแว

หมู่ที่1บ้านบ่อเตย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

 

50.00
2 จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

 

0.00
3 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

30.00
4 ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

 

50.00

ขยะมูลฝอยนั้น นับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชากร ถ้าหากไม่มีการกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ปัญหาความสกปรกต่างๆที่เกิดจากขยะจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถ้ามองกันอย่างผิวเผินแล้ว ขยะมูลฝอยนั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อมนุษย์มากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อมนุษย์ ยังอยู่ในขั้นที่ไม่รุนแรงมากนัก ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงไม่ชัดเจนเท่าไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว ขยะมูลฝอยก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก และจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ด้วย ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
การกำจัดขยะไม่ให้มี คงกำจัดไม่ได้ เพราะในชีวิตประจำวันเราต้องใช้สิ่งของที่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค จึงจำเป็นต้องมี ของเหลือทิ้ง วิธีที่จะทำให้ขยะไม่เป็นปัญหากับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ก็คือการลดปริมาณขยะที่จะทิ้งลดลง โดยการนำสิ่งที่เป็นประโยชน์นั้นกลับมาใช้ประโยชน์อีก หรือการลดปริมาณการใช้และให้เหลือสิ่งที่จะทิ้งเป็นขยะจริงเพียงเท่าที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์อื่นใดได้อีก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

ร้อยละครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะ

50.00 90.00
2 เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน

ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

50.00 30.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนต้นแบบในจัดการขยะ

จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

30.00 60.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายจัดการขยะ

จำนวนหมู่บ้านที่มีนโยบายหรือมาตรการด้านการจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

0.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนทั่วไปในหมู่บ้าน 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 14/10/2022

กำหนดเสร็จ 22/10/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การคืนข้อมูลให้ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การคืนข้อมูลให้ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การให้ความรู้ ผลดีผลเสีย ของขยะมูลฝอย โรคที่มาจากขยะ ทุกคนคือเจ้าของชุมชน การสร้างมาตรการทางสังคม งบประมาณ ค่าป้ายโครงการขนาด1.2*2.4ม.จำนวน1ป้าย เป็นเงิน 600 บาท อาหารว่าง1มื้อๆละ25 บาท จำนวน50คน เป็นเงิน1,250 บาท เอกสารประกอบการอบรม จำนวน50ชุดๆ ละ38บาทเป็นเงิน1,900 บาท ค่าวิทยากรเป็นเงิน 500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 ตุลาคม 2565 ถึง 14 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้หลักการแยกขยะ/การทำปุ๋ยหมักโดยเริ่มจากบ้านของตนเอง ขยะที่แยกบางชนิดนำไปจำหน่ายได้ทำให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4250.00

กิจกรรมที่ 2 ประเภทของขยะ และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

ชื่อกิจกรรม
ประเภทของขยะ และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เรื่องประเภทของขยะ การจัดการขยะที่ถูกต้อง การทำปุ๋ยหมัก การรีไซเคิล เป็นต้น งบประมาณ -ค่าวิทยากร เป็นเงิน500บาท -ค่าอาหารว่างจำนวน1มื้อๆละ25บาท เป็นเงิน1,250บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ตุลาคม 2565 ถึง 21 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จากการติดตามจะทำให้ทราบได้ว่าผู้เข้าร่วมโครงการได้นำไปปฏิบัติที่บ้านตนเองหรือไม่และถูกต้องหรือถูกวิธีหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องทางผู้จัดสามารถแนะนำเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและเพื่อผลลัพธ์ที่ดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1750.00

กิจกรรมที่ 3 สร้างกระแสสังคม

ชื่อกิจกรรม
สร้างกระแสสังคม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์
งบประมาณ -ค่าอาหารว่าง จำนวน1มื้อๆละ25บาท เป็นเงิน1,250บาท -ป้ายไวนิล จำนวน1ป้าย ขนาด1.2*2.4ม.เป็นเงิน 600บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 ตุลาคม 2565 ถึง 22 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงปัญหาที่มาจากขยะมูลฝอย และร่วมด้วยช่วยกันในการจัดการขยะในครัวเรือนของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,850.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1มีความรู้เมื่อมีความรู้ก็สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
2มีการคัดแยกขยะเพื่อนำไปจำหน่าย/และหมัก เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวอีกช่องทาง
3เกิดความสามัคคี/การปรึกษาหารือเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีของคนในชุมชน


>