กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทำนบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

อสม.ตำบลทำนบห่วงใย ร่วมเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน ตำบลทำนบ ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทำนบ

ชมรม อสม. ตำบลทำนบ

1.นายประกอบ เกษาทร
2.นางนุชนาฏ คงสุวรรณ
3.นางวรนุช ล้วนมณี
4.นางสาวสุนิตร ครุอำโพธิ์
5.นางราชาวดี มุณีศรี

พื้นที่ตำบลทำนบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

40.00
2 ร้อยละการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

 

60.00
3 ร้อยละของประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

 

60.00
4 ร้อยละของประชาชนเกิดพฤติกรรมและความร่วมมือในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง

 

65.00

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้น ได้ทั้งชุมชนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕ – ๑๔ ปีแต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วย ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัด ลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและ ร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน แนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อม ทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือบุคคล ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะจึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชน ทุกโรงเรียนทำได้ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใดชุมชนใดและโรงเรียนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆในชุมชน และโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าว ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผลจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืนสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๖๔ ในเขตพื้นที่อำเภอสิงหนคร พบว่า มีอัตราป่วยเป็นอันดับ๑๔ของจังหวัดสงขลาอัตราป่วยเท่ากับ๒.๔๗ต่อประชากรแสนคนตำบลที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ ต.ชิงโคต.สทิงหม้อต.ม่วงงามต.หัวเขาต.วัดขนุนต.บางเขียดต.ทำนบ ตามลำดับ
จากข้อมูลดังกล่าวทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลทำนบ ตระหนักถึงประชาชนนักเรียนและ เด็กเล็ก ในพื้นที่ของตำบลทำนบที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจึงได้จัดทำโครงการ “ อสม.ตำบลทำนบห่วงใยร่วมเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชนตำบลทำนบ ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ” ขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน วัด โรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลัง ความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน และให้ความรู้เพื่อเป็นการสร้างความตะหนัก และรับมือกับการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

40.00 10.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

60.00 95.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

60.00 98.00
4 ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมและความร่วมมือในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ประชาชนเกิดพฤติกรรมและความร่วมมือในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

65.00 98.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 5
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำโครงการชาวทำนบใส่ใจ เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดทำโครงการชาวทำนบใส่ใจ เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำโครงการ - เขียนโครงการ/แผนงาน/กิจกรรม - งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2565 ถึง 10 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีโครงการ/กิจกรรม เรียบร้อย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินงาน งบประมาณ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท X 50 คน         เป็นเงิน 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มิถุนายน 2565 ถึง 10 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กำหนดแผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

กิจกรรมที่ 3 กำหนดหลักเกณฑ์และกิจกรรมรณรงค์เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กำหนดหลักเกณฑ์และกิจกรรมรณรงค์เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำหนดหลักเกณฑ์และกิจกรรมรณรงค์เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มิถุนายน 2565 ถึง 17 มิถุนายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีกิจกรรมรณรงค์เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สำรวจลูกน้ำยุงลาย และ ป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สำรวจลูกน้ำยุงลาย และ ป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ดำเนินกิจกรรมรณรงค์ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
  2. จัดทำเอกสารและแผนการดำเนินโครงการ
  3. จัดกิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และสำรวจลูกน้ำยุงลาย งบประมาณ
  4. ป้ายรณรงค์ ขนาด 2 x 3 ม. จำนวน 9 แผ่นๆ ละ 1,000 บาท    เป็นเงิน   9,000 บาท
  5. ค่าทรายอะเบท    จำนวน 10  ถังๆ ละ 3,500 บาท      เป็นเงิน 35,000 บาท
  6. ค่ายาทากันยุง / กันแมลง  จำนวน 50 ซองๆ ละ 10 บาท   เป็นเงิน    500  บาท
  7. ค่าสเปรย์ฉีดยุง 300 มล.  จำนวน 70 กระป๋องๆ ละ 90 บาท เป็นเงิน   6,300 บาท ๕. แผ่นพับ / แบบสำรวจลูกน้ำ จำนวน 3,000 แผ่นๆละ 2 บาท    เป็นเงิน   6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
56800.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายตัวแก่ ในบ้านผู้ป่วยในชุมชน และในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายตัวแก่ ในบ้านผู้ป่วยในชุมชน และในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมฉีดพ่นหมอกควันในโรงเรียน และ มีผู้ป่วยในชุมชน งบประมาณ 1. น้ำยาพ่นหมอกควัน    จำนวน 2 ขวดๆ ละ 2,500 บาท  เป็นเงิน  5,000 บาท 2. ค่าน้ำมันเบนซิน      จำนวน 10 ลิตรๆ ละ 50 บาท    เป็นเงิน  500  บาท 3. ค่าน้ำมันโซล่า ( ดีเซล )    จำนวน 30 ลิตรๆ ละ 35 บาท    เป็นเงิน  1,050  บาท 4. ค่าจ้างพ่นหมอกควัน      จำนวน 2 คนๆละ 300 บาท  เป็นเงิน  1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 65,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
3. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
4. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ


>