กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ตำบลทุ่งลาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการตำบลทุ่งลาน

1. นายแหลมแก้วอาภรณ์ประธาน
2.นายสุจินต์แก้วเอียดกรรมการ
3.นายจรูญ มลิวัลย์กรรมการ
4.นางบุญเรือนคงเสน กรรมการ
5.นางนพวรรณชิตวงศ์กรรมการ

ตำบลทุ่งลาน จัดอบรมในพื้นที่ อ.คลองหอยโข่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยได้เข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัย (Ageing Society) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นมา โดย ๑
ใน ๑๐ ของประชากรไทยเป็นประชากรที่มีอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ จะมีประชากรสูงอายุถึง
๑๓ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๒ ของประชากรทั้งหมด และภายในปี พ.ศ. ๒๕๘๓ ประเทศไทยจะมีประชากร
สูงอายุ ๒๑.๗ ล้านคน คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๑ ของประชากรทั้งหมด (สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ, ๒๕๕๓) แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรจะมีวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะ
ที่วัยเด็กและวัยแรงงานมีสัดส่วนลดลง โดยวัยเด็กมีอัตราลดลงร้อยละ ๑๒.๓ ต่อปี และวัยแรงงานมีอัตราลดลง
ร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ในขณะที่ วัยสูงอายุมีอัตราเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๓.๖ ต่อปี(สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ, ๒๕๖๐) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมสูงอายุของประเทศไทยมีสาเหตุหลัก
มาจากอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลง (Total Fertility Rate) ที่อยู่ตํ่ากว่าระดับการทดแทน โดยที่ปัจจุบัน ผู้หญิง
๑ คนมีบุตรเฉลี่ย ๑.๖ คน ซึ่งลดลงจากเมื่อ ๒๐ ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. ๒๕๔๒) ที่ ผู้หญิง ๑ คน มีบุตรเฉลี่ย ๒ คน
และบุตรเฉลี่ยจะลดลงเหลือ ๑.๔ คนในปี พ.ศ. ๒๕๗๒ ประกอบกับ ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และ
สาธารณสุขทําให้คนไทยมีอายุขัยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จากเดิมเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๐๘ คนไทยมีอายุเฉลี่ยที่ ๕๘ ปี และเพิ่ม
สูงขึ้นเป็น ๗๕ ปี ในปัจจุบัน (สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, ๒๕๖๒)ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. ๒๕๔๒ ในการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๖๕) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๓ ) และยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุของกระทรวงสาธารณสุข ครอบคลุม ๔ มิติ(มิติสุขภาพ มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม) รวมถึงสร้างความเข้มแข็งการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย ประกอบกับ เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๐ คณะรัฐมนตรี มีมติด้านการคุ้มครองสถานภาพผู้สูงอายุ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรหลักในการดำเนินงานร่วมกับภาครัฐ ภาคประชาชนในท้องถิ่น โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้สูงอายุที่ประสบความทุกข์ยากเดือดร้อนได้รับการดูแล จากการสำรวจภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลทุ่งลาน ปีงบประมาณ ๒๕๖5 พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 1,250คน เมื่อแบ่งตามกลุ่มศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันดัชนีบาร์เธอเอดีแอล(Barthel ADL Index) ในผู้สูงอายุ จำนวน 887 คน พบว่าเป็นผู้สูงอายุกลุ่ม 1 พึ่งตนเองได้ (คะแนน ADL ตั้งแต่ ๑๒ขึ้นไป) จำนวน 1,244 คนผู้สูงอายุกลุ่ม ๒ พึ่งตนเองไม่ได้ติดบ้าน (คะแนน ADL อยู่ในช่วง ๕-๑๑) จำนวน 19 คนผู้สูงอายุกลุ่ม ๓ พึ่งตนเองไม่ได้ติดเตียง (คะแนน ADL อยู่ในช่วง ๐-๔ ) จำนวน 7 คนประกอบกับตำบลทุ่งลาน ได้เข้าร่วมในการดำเนินงานตำบลLong term careเพื่อให้กระบวนการดำเนินงาน Long term care ในพื้นที่ตำบลทุ่งลานดำเนินการต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตามเกณฑ์การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง คือ Care giver(ผู้ดูแลผู้สูงอายุ) 1 คนดูแลผู้สูงอายุจำนวน 5 คนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการตำบลทุ่งลาน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖5 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 มีผู้ดูแลผู้สูงอายุ(Care giver)ที่ผ่านการอบรมหลักสูตร๗๐ ชม.ร่วมให้การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง

1.ร้อยละของ Care giver ที่ผ่านการอบรมร้อยละ100 2.สัดส่วนผู้ช่วยเหลือผู้ดูแลผู้สูงอายุเมื่อเทียบกับจำนวนผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดไม่เกิน ๑:๑๐ 3.กลุ่มผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์  ร้อยละ ๑๐๐ 4.กลุ่มผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการจัดการวางแผนการดูแล  ( Care Plan) 5.ร้อยละ ๑๐๐ของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ 6.จำนวนผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตามแผนการดูแลรายบุคคล( Care Plan)ที่มีระดับคะแนน ADL ดีขึ้นจากกลุ่มติดเตียงเป็นติดบ้านและกลุ่มติดบ้านเป็นกลุ่มติดสังคม

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
care giver 6

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ ๑ ขั้นเตรียมการ ๑.๑ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทีม LTC ระดับอำเภอ เทศบาลตำบลทุ่งลาน ร่วมปรึกษาหารือและวางแผนการจัดอบรม Care giver (ผู้ดูแลผู้สูงอายุ) ๑.๒ ประสานผู้นำชุมชน/อสม. ในการรับสมัครและคัดเลื

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๑ ขั้นเตรียมการ ๑.๑ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทีม LTC ระดับอำเภอ เทศบาลตำบลทุ่งลาน ร่วมปรึกษาหารือและวางแผนการจัดอบรม Care giver (ผู้ดูแลผู้สูงอายุ) ๑.๒ ประสานผู้นำชุมชน/อสม. ในการรับสมัครและคัดเลื
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดฝึกอบรม Care giver หลักสูตร ๗๐ ชม. ตำบลทุ่งลาน
รายละเอียด ดังนี้
( หมายเหตุ: สามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ )

-ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 6 คนX 50บาทX 12 มื้อ เป็นเงิน 3,600บาท -ค่าวิทยากรฝึกอบรมภาคทฤษฏี จำนวน 27 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 16,200 บาท -ค่าวิทยากรฝึกอบรมภาคทฤษฎีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น/ฝึกปฏิบัติการทำ CPR จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 2 คน เป็นเงิน3,600บาท -ค่าวิทยากรในการฝึกปฏิบัติงาน แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 2 คน เป็นเงิน3,600บาท -ค่าวิทยากรในการฝึกปฏิบัติงาน แผนกผู้ป่วยใน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 2 คน เป็นเงิน 3,600บาท -ค่าวิทยากรในการฝึกการปฏิบัติงานในชุมชน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม 6 คน x 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เช้า – บ่าย จำนวน 12 วัน เป็นเงิน 3,600บาท -ค่าถ่ายเอกสารเข้าเล่มคู่มือ 6 เล่มๆละ 200 บาท เป็นเงิน 1,200บาท รวมเป็นเงิน(เงินสามหมื่นเจ็ดพันสองร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) มีความรู้ ความเข้าใจ มีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงสามารถดำรงชีวิตอยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ๒.เกิดระบบบริการดูแลระยะยาวในชุมชนสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) มีความรู้ ความเข้าใจ มีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงสามารถดำรงชีวิตอยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
๒.เกิดระบบบริการดูแลระยะยาวในชุมชนสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่มีประสิทธิภาพ และพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น


>