กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพแกนนำบ้านบ่อเตย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่1

1นางกาญจนา อูมา
2นางรอกีย๊ะ มะแซ
3นางสุดสายใจ บ่อเตย
4นางสาวนูรมา ยูโซะ
5นางอารีย์ เจ๊ะแว

หมู่ที่1บ้านบ่อเตย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ทักษะความสามารถในการช่วยฟื้นคืนชีพของคนในชุมชน

 

30.00

จากข้อมูลปัญหาสาธารณสุข ปี2563 พบว่าประชาชนในพื้นที่เสียชีวิตด้วยโรคฉุกเฉินใน5อันดับแรก ได้แก่โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง อุบัติเหตุและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน นอกจากนั้นยังพบวมามีเหตุฉุกเฉินที่ทำให้ประชาชนเสี่ยงต่อการเสียชีวิตทั้งจากอุบัติเหตุทางถนน จมน้ำ และภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและภาวะน้ำตาลต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน การช่วยเหลือที่ถูกวิธี จะทำให้ลดอัตราป่วยเสียชีวิตได้ ซึ่งในสภาวะปัจจุบันตามข้าวพบว่ามีดารา คนดังหรือประชาชนทั่วไปเกิดภาวะฉุกเฉินดังกล่าว แต่ไม่ได้รับการช่วยเหลือทันที ณ ที่เกิดเหตุจึงทำให้สถิติการเสียชีวิตและพิการเพิ่มขึ้น จากการศึกษาวิจัยห่วงโซ่การรอดชีวิตพบว่าหากมีการช่วยชีวิตนอกโรงพยาบาลจะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินได้ถึงร้อยละ66 และสามารถลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลถึงร้อยละ26 ดังนั้นการสนับสนุนประชาชนให้มีการช่วยฟื้นคืนชีพ หรือการฝึกทำCPR ให้เป็นทุกคน จะสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีได้ เพราะการช่วยฟื้นคืนชีพหรือการฝึกทำCPR เป็นหน้าที่ของทุกคน ไม่ใช่เฉพาะแพทย์หรือเจ้าหน้าที่พยาบาล หากหัวใจหยุดเต้น จะมีเวลาเพียงไม่กี่นาที ก่อนสมองจะขาดออกซิเจน แต่ขณะนั้นหากไม่มีการช่วยฟื้นคืนชีพหรือการทำCPR ก็อาจส่งผลให้สมองตาย ทางอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่่ที่1บ้านบ่อเตยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวในข้างต้น จึงจัดฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน(CPR) แก่อสม. ที่เป็นกำลังหลักในการดำเนินงานสาธารณสุขในพื้นที่ และแกนนำในชุมชนรวมทั้งเด็กและเยาวชนเพื่อให้ได้รับความรู้ที่ถูกต้องและได้รับการฝึกฝนอย่างชำนาญ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ช่วยเหลือผู้อื่นได้ในภาวะฉุกเฉินก่อนนำส่งโรงพยาบาลต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจุดเสี่ยงก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนลง

 

0.00
2 เพื่อลดความรุนแรงจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุและการเจ็บป่วย

ผู้บาดเจ็และผู้ป่วยที่พิการและเสียชีวิตลดลง

30.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำในหมู่บ้าน 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/10/2022

กำหนดเสร็จ 31/10/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดเลือกผู้เข้าอบรม

ชื่อกิจกรรม
คัดเลือกผู้เข้าอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เตรียมรายชื่อผู้เข้ารับการอบรมจำนวน50คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 3 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีเป้าหมายพร้อมในการอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพโรคฉุกเฉินที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่เป็นปัญหา งบประมาณ -ค่าอาหารว่าง จำนวน2มื้อๆละ25บาท จำนวน50คน เป็นเงิน 2,500บาท -ค่าวิทยากร เป็นเงิน1, 600บาท -ค่าอาหารกลางวัน50บาท/คน50คน เป็นเงิน2,500บาท -ค่าป้ายโครงการจำนวน1ป้าย เป็นเงิน600บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน1,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 ตุลาคม 2565 ถึง 10 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้และสามารถปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8200.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินการช่วยฟื้นคืนชีพผู้เข้าร่วมโครงการหลังการอบรม งบประมาณ -ค่าวิทยากร เป็นเงิน600บาท -ค่าอาหารว่าง จำนวน1มื้อๆละ25บาท เป็นเงิน1,250บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 ตุลาคม 2565 ถึง 17 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีฟได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1850.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,050.00 บาท

หมายเหตุ :
รายจ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

แกนนำทุกคนมีความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีทักษะและสามารถปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพได้


>