กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปริก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อนามัยแม่และเด็ก “นมแม่ สายใยรักแห่งครอบครัว”ประจำปี 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปริก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนเสม็ด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนเสม็ด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณมีนโยบายส่งเสริม สนับสนุน และปกป้องให้เด็กทุกคนได้กินนมแม่อย่างเต็มที่ตามคำแนะนำขององค์กรอนามัยโลก (WHO) ว่า “เด็กตั้งแต่แรกเกิด – 6 เดือน ควรได้รับนมแม่อย่างเดียวและกินนมแม่ควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปี หรือมากกว่านั้น” ประเทศไทยจึงได้ตั้งเป้าหมายในปี 2568 ได้ว่า “ร้อยละของเด็กแรกเกิด – 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียวร้อยละ 50” ซึ่งในสถานการณ์ของประเทศไทยปัจจุบันนั้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน มีเพียงร้อยละ 14 ซึ่งยังต่ำกว่าตราเฉลี่ยทั่วโลก และต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สาธิต, 2564) และจากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนเสม็ด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีเพียงร้อยละ 62.50 เท่านั้น ซึ่งยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้อาจเพราะมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต สภาพเศรษฐกิจ และสังคม ครอบครัวที่เคยอยู่พร้อมหน้ากัน พ่อ แม่ ลูก และญาติ แม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ลาหลังคลอดไม่ได้ มีความจำเป็นต้องละทิ้งเด็กไว้กับปู่ ย่า ตา ยาย ที่มีประเพณี ความเชื่อ ทัศนคติดั้งเดิม และมีความรู้ไม่เพียงพอ ทำให้เด็กได้รับนมแม่อย่างเดียวจนอายุ 6 เดือนลดน้อยลง
ดังนั้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับลูก (Good start) เป็นอาหารธรรมชาติ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคแก่ทารก และสามารถเสริมสร้างความรัก ความผูกพันระหว่างแม่กับลูก จากการที่แม่ได้สัมผัสลูกแบบเนื้อแนบเนื้อ ทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่น มั่นคง ปลอดภัย การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยให้ลดการเสียเลือดหลังคลอดน้อยลง รูปร่างแม่คืนสู่สภาพเดิมได้เร็ว ช่วยให้แม่และลูกไม่เป็นโรคอ้วน หากให้นมแม่เป็นเวลานานจะช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ นอกจากนี้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อนมผสม และอุปกรณ์ในการชงนม (พรพิมล อาภาสสกุล, 2559)
การจัดโครงการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพื่อสร้างรากฐานที่ดีของชีวิตจึงมีเป้าหมายเพื่อเป็นการเพิ่มความรู้และทัศนคติ เรื่องความสำคัญและประโยชน์ของนมแม่ ความแตกต่างของนมแม่และนมผสม หลักการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การจัดท่าให้นมแม่ที่ถูกต้อง แม่ทำงานสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ และเพิ่มทักษะการนวดเต้านม การบีบเก็บน้ำนม และการนำน้ำนมที่เก็บไว้ออกมาใช้ ซึ่งคาดหวังว่าโครงการนี้จะนำไปสู่ความตั้งใจของหญิงตั้งครรภ์และบุคคลในครอบครัว และสามารถประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 ต่อเนื่องจนถึงอายุ 2 ปี หรือมากกว่านั้น ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพื่อเป็นการสร้างรากฐานที่ดีของชีวิตให้กับหญิงตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้มารดาหรือผู้เลี้ยงดูมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และอาหารตามวัย
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยนาน 6 เดือน จนถึง 2 ปี หรือมากกว่า (จากการทำแบบสอบถาม)
0.00
2 2. เพื่อให้ทารกได้รับนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 2 ปี หรือมากกว่านั้น
  1. ระดับความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรม มากกว่าร้อยละ 80
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำสุขภาพ (อสม.) 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่แกนนำอนามัยแม่และเด็ก หญิงตั้งครรภ์ หญิงที่วางแผนอยากมีบุตร และหญิงหลังคลอด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่แกนนำอนามัยแม่และเด็ก หญิงตั้งครรภ์ หญิงที่วางแผนอยากมีบุตร และหญิงหลังคลอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก จำนวน 33,125 บาท (สามหมื่นสามพันหนึ่งร้อยยี่สิบสิบห้าบาทถ้วน) รายละเอียดดังนี้ 1. จัดประชุมแกนนำอนามัยแม่และเด็ก และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อวางแผนและค้นหาปัญหา - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 35 คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน875 บาท 2.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ - ค่าป้ายโครงการฯขนาด 1x3 เมตร ตารางเมตร 150 บาท จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน คนละ 60 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 6,000บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการอบรม
สมุด ปากกา แฟ้ม เอกสารอบรม 100 ชุด ชุดละ 60 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท ถุงเก็บน้ำนม ขนาด 8 oz. จำนวน 20 ถุง/กล่อง ราคา 100 บาท จำนวน 35 กล่อง
เป็นเงิน 3,500บาท ขวดนมเด็ก ขนาด 5 oz. ราคา 120 บาท จำนวน 35 ขวดเป็นเงิน 4,200บาท - ค่าเอกสารแบบทดสอบความรู้ ก่อน-หลัง จำนวน 100 ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 2,000บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน3,600 บาท 3.กิจกรรมการติดตามผล - ค่าพาหนะแก่แกนนำอนามัยแม่และเด็ก ออกติดตามบ้านหญิงหลังคลอด จำนวน 30 คน เที่ยวละ 25 บาท
ไป-กลับ รวม 2 เที่ยวเป็นเงิน 1,500บาท

รวมทั้งหมด33,125บาท

หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำอนามัยแม่และเด็ก หญิงตั้งครรภ์ หญิงที่วางแผนอยากมีบุตร และหญิงหลังคลอด มีความรู้ความเข้าใจ ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยนาน 6 เดือน 2.หญิงหลังคลอดสามารถปฏิบัติวิธีการให้นมลูกได้ถูกต้อง 3.หญิงหลังคลอดหรือผู้ดูแลมีความรู้และปฏิบัติได้ถูกต้องเกี่ยวกับการเก็บน้ำนมและการเอานมไปใช้ขณะที่แม่ ออกไปทำงานนอกบ้าน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33125.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,125.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำอนามัยแม่และเด็ก หญิงตั้งครรภ์ หญิงที่วางแผนอยากมีบุตร และหญิงหลังคลอด มีความรู้ความเข้าใจ
ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยนาน 6 เดือน
2.หญิงหลังคลอดสามารถปฏิบัติวิธีการให้นมลูกได้ถูกต้อง
3.หญิงหลังคลอดหรือผู้ดูแลมีความรู้และปฏิบัติได้ถูกต้องเกี่ยวกับการเก็บน้ำนมและการเอานมไปใช้ขณะที่แม่
ออกไปทำงานนอกบ้าน


>