กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรียุคใหม่ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน

-

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนโต๊ะเหลง (หลังเก่า) หมู่ที่ 4 ต.ควนโดน อ.ควนโดน จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากในอดีตสตรีที่มีหน้าที่เพียงเป็นแม่บ้านดูแลบุตรหลานในครอบครัวของตนเท่านั้น แต่ในปัจจุบันนี้เป็นที่ยอมรับแล้วว่าสตรีมีบทบาทยิ่งขึ้น ทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง สตรีเริ่มมองเห็นคุณค่าของตัวเองในการเป็นสมาชิกหนึ่งในสังคมที่มีส่วนต้องรับผิดชอบสังคมเท่าเทียมบุรุษ มีความกล้าแสดงออกมากขึ้นนอกจากนี้สังคมทั่วไปก็หันมาสนใจ เปิดกว้างและยอมรับบทบาทสตรีมากขึ้น ให้ความสำคัญให้โอกาสกับสตรีได้มีโอกาสใช้ศักยภาพของตนในการร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น พัฒนาบ้านเมือง ไม่ว่าจะเป็นสตรีในชุมชนเมือง และสตรีในชุมชนชนบท ล้วนมีความสำคัญ ต่อการพัฒนาชุมชนของตน ซึ่งเรียกว่าปัจจุบันนี้สตรีถือเป็นพลังที่สำคัญของชุมชนและที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือสตรีเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างครอบครัวซึ่งถือเป็นสถาบันที่มีความสำคัญยิ่งในการสร้างประเทศชาติ นอกจากสตรีจะมีหน้าที่ในการเลี้ยงดูบุตรหลานให้เจริญเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพของประเทศชาติ สตรียังมีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการในครอบครัวของตนอีกด้วย จะเป็นว่าสตรีเป็นผู้ที่มีบทบาทในสังคมเป็นอย่างมาก ดังนั้นสมควรอย่างยิ่งที่สตรีจะต้องได้รับการดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมให้สตรีเป็นผู้ที่มีศักยภาพ มีความพร้อม มีสุขภาพทางด้านร่างกายและจิตใจที่ดี ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นหน่วยงานท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนมาโดยตลอด ประกอบกับพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 (และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 6 พ.ศ.2552) องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่ตามมาตร 67(6) ส่งเสริมการพัฒนา สตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตร 16 (10) การส่งเสริม สงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ประกอบกับในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมามีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ส่งผลให้กลุ่มสตรีและประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนและประสบภาวะยากลำบากในการดำรงชีวิตเนื่องจากไม่สามารถทำมาหากินได้อย่างปกติ บางส่วนต้องว่างงาน กระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันและถึงแม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการเพื่อเยียวยากลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดครั้งนี้ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งดูแลประชาชนในแต่ละท้องที่ ได้ให้การช่วยเหลือแล้ว แต่ยังพบว่ามีบางส่วนที่ได้รับการช่วยเหลือไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ และบางส่วนเกินศักยภาพในการให้ความช่วยเหลือของท้องถิ่น ทำให้สตรีในท้องถิ่นมีการว่างงานเพิ่มขึ้น รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย และมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สุขภาพกายและจิตย่ำแย่
องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดนได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิต บทบาทและหน้าที่ของสตรีในตำบลควนโดน จึงจัดทำโครงการสตรียุคใหม่ใส่ใจสุขภาพขึ้น เพื่อให้สตรี มีโอกาสได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใช้ชีวิตประจำวันที่ส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีการดูแลสุขภาพเบื้องต้นการหลีกเลียงการปฏิบัติตนที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของตนเอง และของบุคคลรอบข้างความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่สมวัย ความรู้เกี่ยวกับโรคภัยต่าง ๆ ที่มักเกิดกับสตรี ควบคู่กับการส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างรายได้ ลดปัญหาการว่างงานในชุมชน สร้างรายได้ลดรายจ่าย เพื่อให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และยังเป็นการสร้างคุณค่าและเพิ่มบทบาทของผู้หญิงในสังคมให้เกิดการยอมรับมากยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ส่งเสริมบทบาทให้กับสตรีในสังคม

ร้อยละ 90 สตรีเป็นผู้มีศักยภาพ มีความพร้อม มีสุขภาพทางด้านร่างกายและจิตใจดี

80.00
2 ลดอัตราความเสี่ยงสตรีจะมีปัญหาสุขภาพจิต

ร้อยละ 90 สตรีใช้เวลาว่างเพื่อมาประกอบอาชีพ และหารายได้เพิ่มให้กับครอบครัว

80.00
3 ป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายและโรคภัยไช้เจ็บที่เกิดจากการขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง

ร้อยละ 90 สตรีมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและโภชนาการที่ถูกต้องและมีประโยชน์

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2022

กำหนดเสร็จ 15/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่และตัวแทนกลุ่มสตรีแต่ละหมู่บ้านร่วมกันประชุมวางแผนในการดำเนินโครงการฯ
  2. เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้กลุ่มเป้าหมายได้ทราบอย่างทั่วถึง
  4. ประสานวิทยากรเพื่อให้การอบรม
  5. ดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้และกิจกรรมต่าง ๆ

5.1 กิจกรรมตรวจสุขภาพ เช่น วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว ฯลฯ

5.2 กิจกรรมประกวดสตรี 4 ดี

  • ประกวดสตรีที่มีความดันดี, น้ำหนักดี, ส่วนสูงดี และรอบเอวดี (ตามมาตรฐานการตรวจสุขภาพเบื้องต้น)

    โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้
    (1) ค่าของขวัญและของรางวัลจำนวน 10 รางวัล ๆ ละ 200.-บาทเป็นเงิน 2,000.-บาท

(2) ค่าจัดทำเอกสารในการประกวด จำนวน 80 ชุด เป็นเงิน 200.-บาท

5.3กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ

หัวข้อ "ปรับปรุงมอง เปลี่ยนความคิด พิชิตโรค"

หัวข้อ "สุขภาพดีด้วยโภชนาการ"

โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้
(1) ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600.-บาทเป็นเงิน 1,800.-บาท

(2) ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.00 x 3.00 ม. จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 450.-บาท

(3) ค่าเช่าเครื่องขยายเสียงพร้อมอุปกรณ์จำนวน 1 วันเป็นเงิน 1,500.-บาท

(4) ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 50.-บาทจำนวน 80 คนเป็นเงิน4,000.-บาท

(5) ค่่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 25.-บาทจำนวน 80 คนเป็นเงิน 2,000.-บาท

(6) ค่าเอกสารประกอบการฝึกอบรมจำนวน 80 ชุด ๆ ละ 30.-บาทเป็นเงิน 240.-บาท

(7) วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมเป็นเงิน 4,625.-บาทแยกเป็น

(7.1) แฟ้มพลาสติกจำนวน 80 แฟ้ม ๆ ละ 30.-บาทเป็นเงิน 2,400.-บาท

(7.2) สมุด จำนวน 80 เล่ม ๆ ละ 10.-บาทเป็นเงิน 800.-บาท

(7.3) ปากกา จำนวน 80 เล่ม ๆ ละ 10.-บาทเป็นเงิน 800.-บาท

(7.4) กระดาษ A4 ขนาด 80 แกรมจำนวน 2 รีม ๆ ละ 135.-บาท เป็นเงิน 270.-บาท
(7.5) กระดาษการ์ดสีขนาด 120 แกรม จำนวน 2 รีม ๆ ละ 130.-บาท เป็นเงิน 260.-บาท

(7.6) กระดาษฟลิปชาร์ท จำนวน 10 แผ่น ๆ ละ 5.-บาทเป็นเงิน 50.-บาท

(7.7) ปากกาเคมีจำนวน 3 ด้าม ๆ ละ 15.-บาทเป็นเงิน 45.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 15 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16815.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมอาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ปั้นจักรยานรณรงค์เรื่องสุขภาพและจัดคาราวานเข้าเรียนรู้ด้านการส่งเสริมอาชีพ
ฐานที่ 1 "กลุ่มเพาะเห็ดบ้านหัวสะพานเหล็ก"

ฐานที่ 2 "กลุ่มขนมพื้นเมืองกลุ่มแม่บ้านบ้านควนโต๊ะเหลง"

โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้

(1) ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600.-บาท เป็นเงิน 1,800.-บาท

(2) ป้ายรณรงค์การออกกำลังกาย ขนาด 0.80 x 1.00 เมตรจำนวน 9 ป้าย ๆ ละ 120.-บาท 1,080.-บาท

(3) ป้ายรณรงค์ด้านโภชนาการ จำนวน 20 ป้าย ๆ ละ 100.-บาทเป็นเงิน2,000.-บาท

(4) ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 25.-บาท จำนวน 80 คนเป็นเงิน 2,000.-บาท

(5) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (วัสดุ/อุปกรณ์ที่ใช้ในการสาธิตทำขนม) เป็นเงิน 1,305.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 15 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8185.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถั่วเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สตรีมีบทบาทมากขึ้นและเป็นที่ยอมรับของสังคม
2. สตรีมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีการโภชนาการที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์
3. สร้างอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว


>