กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก ฟันสวย ยิ้มใส โรงเรียนบ้านตะบิ้ง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

โรงเรียนบ้านตะบิ้ง

โรงเรียนบ้านตะบิ้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กวัยเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากมีโอกาสทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บปวด ขาดเรียน และกระทบการดำเนินกิจกรรมประจำวัน การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนจึงมีความสำคัญ และสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากได้ดีจึงมีผลต่อสุขภาพที่ดีด้วย แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีตัวปัญหาซึ่งเกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย เช่น โรคฟันผุซึ่งเป็นปัญหาในช่องปากที่พบได้ทั่วไปก็มีปัจจัยร่วมหลายอย่างที่ส่งเสริมให้เกิดโรคในช่องปาก เช่น อาจมาจากตัวบุคคลเองที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพช่องปาก และการทำความสะอาดช่องปากของตนเอง การอยู่ในครอบครัวที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ หรือ สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ไม่เอื้อต่อการใส่ใจสุขภาพช่องปาก นอกจากนี้สื่อโฆษณาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มก็มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมต่าง ๆ ล้วนมีส่วนทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน
ดังนั้นหากเราวางรากฐานเรื่องสุขภาพช่องปากแก่เด็กวัยเรียน พร้อมทั้งการเสริมความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธี ในรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็กนั้น ๆเพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักว่า เรื่องของทันตสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ และหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งจะทำให้ปัญหาสุขภาพในช่องปาก ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีด้วย
โรงเรียนบ้านตะบิ้งมีนักเรียน จำนวน 212 คน นักเรียนฟันผุ จำนวน 50 คน เหงือกอักเสบ จำนวน 100 คน นักเรียนที่ต้องคอยระวังจำนวน 65คน โรงเรียนบ้านตะบิ้งจึงมีความตระหนักต่อสุขภาพในช่องปากของนักเรียนเป็นอย่างมาก และเน้นให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพ เรื่องสุขภาพ และสุขภาพช่องปากมากขึ้น โดยจัดกิจกรรมที่สนุก เน้นการมีส่วนร่วม สอดแทรกไปกับความรู้ต่าง ๆเพื่อให้เด็กเกิดความตระหนักว่าเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาไม่ได้อยู่ไกลตัวของเรา และเพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปเผยแพร่ไปยังกลุ่มเพื่อน ผู้ใหญ่ผู้ใกล้ชิดต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพในช่องปากให้เด็กวัยเรียนชั้นอนุบาล 1-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2. เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในชีวิตประจำวันได้

1.ร้อยละของนักเรียนร่วมกันปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสุขภาพฟัน และช่องปาก 2.ร้อยละนักเรียนสามารถนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 210
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2022

กำหนดเสร็จ 25/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่าย-ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน ๆ ละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดืมของผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 230 คน ๆ ละ 25 บาท:มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 สิงหาคม 2565 ถึง 22 สิงหาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละนักเรียนนำความรู้ไปปฏิบัติในการรักษาความสะอาดในช่องปากได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9350.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การสาธิตการแปรงฟัน และการแปรงฟันหลังอาหารเที่ยงทุกวัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 การสาธิตการแปรงฟัน และการแปรงฟันหลังอาหารเที่ยงทุกวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การแปรงฟันหลังอาหารเที่ยงทุกวัน ค่าใช้จ่ายค่าวัสดุ
1. แปรงสีฟัน จำนวน 210 อัน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 6,300 บาท 2. ยาสีฟัน ขนาด 150 กรัม (แพคคู่) 82 แพ็คๆละ 150 บาทเป็นเงิน 12,300 บาท 3. แก้วน้ำสแตนเลส ขนาด 8 ซม. จำนวน 210 ใบ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 10,500 บาท 4. ถังน้ำพลาสติกมีฝาปิด ขนาด 5.5 กล. จำนวน 9 ใบ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีสุขนิสัยในการแปรงฟัน ไม่มีปัญหาในช่องปาก ฟันขาวสะอาดและแข็งแรง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กก่อนวัยเรียนและเด้กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะในการดูแลช่องปากและสุขภาพฟัน
2. เด็กก่อนวัยเรียนและเด้กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 แปรงฟันถูกวิธี
3. เด็กก่อนวัยเรียนและเด้กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีสุขภาพในช่่องปากที่ดี


>