กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและใส่ใจดูแลแม่และเด็ก ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

รพ.สต.ควนโดน

ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อม ก่อนการตั้งครรภ์ การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ และการดูแลหลังคลอด เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยจาก ภาวะแทรกซ้อน และมีคุณภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปัญหางานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญและเด่นชัด คือ การมาฝากครรภ์ช้าอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ มีภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ มารดาตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยง และมารดาหลังคลอดไม่มีความรู้ด้านการวางแผนครอบครัว

จากกการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพและการวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุขงานอนามัยม่และเด็ก ประจำปี 2564 พบว่า ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ผลการดำเนินงานยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด หากหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจาง จะส่งผลกระทบทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ส่งผลให้ทารกคลอดก่อนกำหนด คลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมทารกเสียชีวิตในครรภ์ มารดาตกเลือดและติดเชื้อหลังคลอด และพบว่ามารดาตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เช่น เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (ครรภ์เป็นพิษ) ภาวะคลอดก่อนกำหนด มีประวัติผ่าตัดคลอดเพิ่มมากขึ้น ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาในระยะยาว และต่อเนื่อง แนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวคือต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพและเสริมทักษะการดูแลหลังคลอด และทารกควรได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ ตอบสนองความต้องการของเด็กทุกด้านตามวัย การมีส่วนร่วมของชุมชน เครือข่ายและชมรม อสม.ที่เข้มแข็ง เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและใส่ใจดูแลแม่และเด็กปีงบประมาณ 2565 ขึ้น เพื่อลดปัญหาดังกล่าว และเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 หญิงตั้งครรภ์และสามี /ญาติ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลตนเองและลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ -หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ร้อยละ 60
-หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ 90

60.00 80.00
2 เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้รับการส่งต่อได้ทันท่วงที และได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100

80.00 100.00
3 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนมารดาหลังคลอด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน

-ร้อยละของเด็กตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงอายุต่ำกว่า  6 เดือน มีค่าเฉลี่ยกินนมแม่อย่างเดียว ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50

50.00 60.00
4 เพื่อสร้างแกนนำ ภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ และสามารถติดตาม ค้นหาหญิงตั้งครรภ์/กลุ่มเสี่ยงในชุมชนได้

เกิดแกนนำ ภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ และสามารถติดตาม ค้นหาหญิงตั้งครรภ์/กลุ่มเสี่ยงในชุมชนได้

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 116
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพัฒนาทักษะ แกนนำอสม./ภาคีเครือข่าย เพื่อดูแลหญิงตั้งครรภ์ในชุมช

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาทักษะ แกนนำอสม./ภาคีเครือข่าย เพื่อดูแลหญิงตั้งครรภ์ในชุมช
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาทักษะ แกนนำอสม./ภาคีเครือข่าย เพื่อดูแลหญิงตั้งครรภ์และเฝ้าระวังติดตามหญิงตั้งครรภ์ผิดนัดฝากครรภ์
ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และการเข้าถึงคลินิกตั้งครรภ์ไม่พร้อม / การวางแผนครอบครัว -ค่าอาหารกลางวัน 50 บ. x 100 คน =5,000 บ. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บ. x 2 มื้อ x 100 คน= 5,000 บ.
-ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆ ละ 300 บ.=1,800 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11800.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ กิจกรรมโรงเรียนพ่อ แม่ (หลักสูตร 1 หลักสูตร 2 ) ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และสามี / ญาติผู้ดูแล และการตรวจคัดกรองทารกกลุ่ม อาการดาวน์ซินโดร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ กิจกรรมโรงเรียนพ่อ แม่ (หลักสูตร 1 หลักสูตร 2 ) ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และสามี / ญาติผู้ดูแล และการตรวจคัดกรองทารกกลุ่ม อาการดาวน์ซินโดร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมโรงเรียน พ่อ แม่ หลักสูตร 1 หลักสูตร 2 กิจกรรมการดูแลหญิงตั้งครรภ์ อย่างมีคุณภาพ ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงสูง -ค่าอาหารกลางวัน 50 บ. x 62 คน x 2 วัน =6,200 บ. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บ. x 2 มื้อ x 62 คน x 2 วัน = 6,200 บ. -ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน คนละ 3 ชม.ๆ ละ  300 บาท  x  2 วัน = 3,600 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และประกวดคุณแม่ต้นแบบด้านการดูแลตนเองและลูกน้อย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และประกวดคุณแม่ต้นแบบด้านการดูแลตนเองและลูกน้อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และประกวดคุณแม่ต้นแบบด้านการดูแลตนเองและลูกน้อย - ค่าอาหารกลางวัน 50 บ. x 54 คน
=2,700 บ. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บ. x 2 มื้อ x 54 คน  = 2,700 บ. -ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชม.ๆ ละ  300 บาท      = 1,800 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์/สามี/ญาติ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลตนเองและลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ
2.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการเฝ้าระวังป้องกัน ไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
3.ภาคีเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้องสามารถประเมินภาวะผิดปกติและส่งต่อได้ทันท่วงที
4.เด็กแรกเกิด – อายุต่ำกว่า ๖ เดือน กินนมแม่อย่างเดียว


>