กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลปริก

คณะกรรมการมัสยิดทุ่งออก

1. นายอิมรอนนุ้ยโดด061- 263- 6560
2. นายอรุณ แหล่ทองคำ
3. นายอีฉา นุ้ยโดด
4. นายโสย มุ่งมานะชัย
5. นายอาหลี หมัดหนิ

มัสยิดทุ่งออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลปริกมีทั้งหมด ๗ ชุมชน ซึ่งทั้งหมดรวมอยู่ในเขตความรับผิดชอบสนับสนุนและส่งเสริมด้านการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขตที่ ๑๒ จังหวัดสงขลา โดยมีชุมชน ๕ ชุมชน จากทั้งหมด ๗ ชุมชน ในพื้นที่เทศบาลตำบลปริกใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ทั้งการเผยแพร่คำสอนให้คนยึดมั่นหลักบัญญัติของอิสลาม อันครอบคลุมวิถีแห่งการดำเนินชีวิต ทุกกระบวนการและกิจกรรมแห่งชีวิต หมายรวมถึงความเชื่อทางจิตวิญญาณ ความเชื่อเกี่ยวกับร่างกาย ในรูปแบบของการปฏิบัติศาสนกิจ พิธีกรรม การอบรมสั่งสอน รูปแบบการดำเนินชีวิตในครอบครัว สังคม ประเทศชาติและการดำเนินชีวิตในโลก ชุมชนทุ่งออก ตั้งอยู่ที่หมู่ ๒ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มีครัวเรือนจำนวน 221 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมดจำนวน 424 คน (ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ 30 มกราคม 2564) มีคณะกรรมการมัสยิดจำนวน 15 คน มีแกนนำด้านสุขภาพจำนวน 8 คน และมีจำนวนประชาชนจิตอาสาอีกหลายสิบคน ประชาชนในชุมชนทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม โดยมีมัสยิดกลางทุ่งออกเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในชุมชน ส่งผลให้กิจวัตรประจำวันของประชาชนในชุมชนมีความผูกพันกับมัสยิด กล่าวคือ ในการดำเนินชีวิตประจำวันประชาชนต้องปฏิบัติศาสนกิจละหมาด 5 เวลา และในทุกวันศุกร์ถือเป็นวันสำคัญที่มุสลิม (ผู้ชายทุกคน) ต้องมาปฏิบัติศาสนกิจที่มัสยิด รวมถึงวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม เช่น ในช่วงเดือนถือศีลอด (รอมฎอน) และวันตรุษ (อีดิ้ลฟิตรีและอิดิ้ลอัฎฮา) ประชาชนทุกครัวเรือนจะมารวมตัวเพื่อปฏิบัติศาสนกิจ ณ มัสยิด นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ในการจัดการเรียนการสอนศาสนาของประชาชนทุกช่วงวัยในชุมชน
มัสยิดกลางทุ่งออก เป็นมัสยิดที่ตั้งอยู่ติดกับถนนกาญจนวนิช ซึ่งเป็นถนนสายหลักที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงเป็นมัสยิดที่มีผู้คนทั่วไปทั้งคนไทยและคนมาเลเซียที่เดินทางผ่านไป- มา แวะเวียนมาปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อหรือพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังเป็นพื้นที่ที่คนในชุมชม และองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนใช้เป็นพื้นที่ในการจัดกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ในชุมชนเองยังมีการจัดการเรียนการสอนศาสนาทั้งในภาคค่ำสำหรับประชาชนทั่วไปในชุมชนและผู้ที่สนใจ วันเสาร์และวันอาทิตย์ สำหรับเด็กและเยาวชนในชุมชนทุ่งออกและชุมชนใกล้เคียง ซึ่งเรียกว่าโรงเรียนตาดีกา จากจำนวนกิจกรรม และจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มีเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลให้เกิดความสุ่มเสี่ยงทางด้านสุขภาวะที่สามารถเกิดปัญหาและแพร่กระจายไปในชุมชนทุ่งออกและชุมชนใกล้เคียงในพื้นที่เทศบาลตำบลปริกได้ โดยสาเหตุของปัญหาทางสุขภาวะที่เกิดขึ้นในเชิงประจักษ์ คือ การสูบบุหรี่ในพื้นที่บริเวณมัสยิด การจัดการขยะและสภาพแวดล้อมที่ยังไม่ถูกต้องและเหมาะสมสามารถเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ การรักษาความสะอาดของห้องส้วมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การรักษาความสะอาดของสถานที่เอาน้ำละหมาด การรักษาความสะอาดของจุดสัมผัสร่วมต่างๆ ภายในบริเวณมัสยิด เป็นต้น โดยสาเหตุของปัญหาเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนได้โดยตรงและทางอ้อมในรูปแบบของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ และโรคระบาดต่างๆ ทั้งที่เป็นโรคระบาดประจำถิ่น เช่น ไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา ไข้ฉี่หนู ท้องร่วง ตาแดง หรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องของคนในชุมชน และโรคอุบัติใหม่ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโรคฝีดาษลิง เป็นต้น ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคณะกรรมการมัสยิดกลางทุ่งออก ประชาชนในชุมชนทุ่งออกเอง มีแนวคิดเพื่อยกระดับการพัฒนามัสยิดให้เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ของคนในชุมชนและทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน อีกทั้งยังมีแนวคิดในการเสริมสร้างการเรียนรู้ให้ประชาชนทุกเพศวัยในชุมชนสามารถรู้เท่าทันและสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทางสุขภาวะที่จะเกิดขึ้นในชุมชน ทั้งในภาวะปกติ และภาวะฉุกเฉิน เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างสุขภาวะในชุมชนอย่างยั่งยืน
ดังนั้นคณะกรรมการมัสยิดกลางทุ่งออก และแกนนำด้านสุขภาพ จิตอาสาภายในชุมชนทุ่งออก จึงขอดำเนิน “โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก” ขึ้น เพื่อสร้างกระบวนการให้คณะกรรมการมัสยิดกลางทุ่งออก แกนนำด้านสุขภาพ จิตอาสาภายในชุมชนทุ่งออก และประชาชนทุกเพศวัย มีความตระหนักถึงกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะ สามารถรู้เท่าทันและสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทางสุขภาวะที่จะเกิดขึ้นในชุมชนทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน เพื่อเป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะอย่างยั่งยืน และเป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ (นำร่อง) ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 มัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก

ชื่อกิจกรรม
มัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. ประชุม คณะกรรมการมัสยิด กลุ่มแกนนำมัสยิด คณะกรรมการชุมชน ครูโรงเรียนตาดีกา แกนนำด้านสุขภาพ  เจ้าหน้าที่ชุมชน และจิตอาสา เพื่อชี้แจงการดำเนินงานและจัดทำโครงการ  - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 40 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าป้ายผ้า 400 บาท
รวมเป็นเงิน 1,400 บาท ๒. อบรมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการมัสยิด กลุ่มแกนนำมัสยิด คณะกรรมการชุมชน ครูโรงเรียนตาดีกา แกนนำด้านสุขภาพ เจ้าหน้าที่ชุมชน และจิตอาสา และประชาชนทั่วไป เช้า : (๑) เรื่อง รู้รับ- ปรับตัว ให้ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทางสุขภาวะที่จะเกิดขึ้นในชุมชนทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน (๒) เรื่อง การนำเกณฑ์การประเมิน/ ตัวชี้วัดเรื่องศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ และการนำหลักคำสอนของศาสนามาใช้ให้เกิดสุขภาพแบบองค์รวม บ่าย:  ร่วมกันพัฒนามัสยิด  - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าป้ายผ้า/ ไวนิลโครงการอบรมเป็น 400 บาท
- ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชม.x 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 60 คน x 50 บาท x 1 มื้อ = 3,000 บาท
- ค่าวัสดุ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระดาษ ปากกาปากกาเคมี ค่าถ่ายเอกสาร เทปกาว สมุด หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในกิจกรรม เป็นเงิน 2,200 บาท
รวมเป็นเงิน 10,400 บาท ๓. จัดกิจกรรม “ชาวชุมชนทุ่งออกรู้รับ ปรับตัว” ให้แก่คณะกรรมการมัสยิด แกนนำมัสยิด คณะกรรมการชุมชน แกนนำสุขภาพ เจ้าหน้าที่ชุมชน จิตอาสา ครู/ นักเรียนโรงเรียนตาดีกา และประชาชนที่สนใจ เช้า: จัดกิจกรรม “ชาวชุมชนทุ่งออกรู้รับ ปรับตัว” ให้ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทางสุขภาวะ โดยการนำหลักคำสอนของศาสนามาใช้ให้เกิดสุขภาพแบบองค์รวม ให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมิน/ ตัวชี้วัด เรื่องศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ เพื่อเป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะอย่างยั่งยืน
โดยจัดในรูปแบบของสภากาแฟ ซึ่งจะแบ่งจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมออกเป็น ๔ กลุ่ม และจัดฐานการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น ๔ ฐาน ประกอบไปด้วย
ฐานที่ ๑ ฐานรู้รับปรับตัวการจัดการขยะและปรับปรุงภูมิทัศน์ ฐานที่ ๒ ฐานรู้รับปรับตัว โรคระบาด
ฐานที่ ๓ ฐานรู้รับปรับตัว ลด ละ เลิก บุหรี่
ฐานที่ ๔ ฐานรู้รับปรับตัวนำหลักคำสอนของศาสนามาใช้ให้ทำให้เกิดสุขภาพดีแบบองค์รวม (โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง ๔ กลุ่มจะได้ร่วมเข้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครบทั้ง ๔ ฐานการเรียนรู้) บ่าย : ร่วมกันพัฒนามัสยิด - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าวิทยาการ 600 บาท X 3 ชม. = 1,800 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 100 คน X 50 บาท = 5,000 บาท -เอกสารใบความรู้ 2,000 บาท - ค่าป้าย 400 บาท รวมเป็นเงิน 14,200 บาท
๔. จัดกิจกรรมเดินรณรงค์“ชาวชุมชนทุ่งออก รู้รับ ปรับตัว” ให้ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทางสุขภาวะ เพื่อเป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะอย่างยั่งยืน เช่น การจัดการขยะขยะการปรับปรุงภูมิทัศน์ การดูแลความสะอาดภายในภายนอกบริเวณมัสยิด การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการส่งเสริมการลด ละ เลิก บุหรี่ เป็นต้น    
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน X
25 บาท X 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท - วัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการเดินรณรงค์ 2,000 บาท - ป้ายผ้า 4 ผืน ผืนละ 400 บาท = 1,600 บาท รวมเป็นเงิน 6,100 บาท
กิจกรรมถอดบทเรียน 
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน X 25 บาท X 1=1,000 บาท - ค่าป้าย  400 บาท รวมเป็นเงิน 1,400 บาท จัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงาน         
- ค่าจ้างเหมาทำเอกสารสรุปผลเข้าเล่ม  และถ่ายสำเนา
รวมเป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงินสุทธิ ทั้งสิ้น 34,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. คณะกรรมการมัสยิด แกนนำมัสยิด คณะกรรมการชุมชน แกนนำด้านสุขภาพ เจ้าหน้าที่ชุมชน จิตอาสา ครู/ นักเรียนโรงเรียนตาดีกา และประชาชนที่สนใจ ในสังกัดมัสยิดกลางทุ่งออก เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักสามารถรู้เท่าทันและสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทางสุขภาวะที่จะเกิดขึ้นในชุมชนทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน เพื่อเป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะอย่างยั่งยืน
๒. คณะกรรมการมัสยิด แกนนำมัสยิด คณะกรรมการชุมชน แกนนำด้านสุขภาพ เจ้าหน้าที่ชุมชน จิตอาสา ครู/ นักเรียนโรงเรียนตาดีกา และประชาชนที่สนใจ ในสังกัดมัสยิดกลางทุ่งออก เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักในการดำเนินกิจกรรมตามเกณฑ์การประเมิน/ ตัวชี้วัด เรื่องศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ และการนำหลักคำสอนของศาสนานำมาใช้ให้เกิดสุขภาพแบบองค์รวม
๓. มัสยิดกลางทุ่งออกมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ตามการประเมิน/ ตัวชี้วัด เรื่องศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ มีภูมิทัศน์ที่ดีมีความสะอาด มีความสะดวก น่าอยู่ น่าใช้ดำเนินกิจกรรม ไม่เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค และปราศจากโรคติดต่อต่างๆ
๔. เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ผลักดันให้มัสยิดกลางทุ่งออก เป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ (นำร่อง) ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข


>