กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุตำบลบูกิต ประจำปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

ชื่อกลุ่ม กลุ่มอาวุโสตำบลบูกิต
1. นายอันวาร์ เจ๊ะหามะ
2. นายบีรอมลี วาเด็ง
3. นายอดิศรนิยมรัฐ
4. นายฮารง แงมะ
5. นายมูฮัมหมัดซอบรีสุหลง

ในพื้นที่ หมู่ ที่ 8 ตำบลบูกิต อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อย่างเต็มตัวแล้วทั้งนี้การที่ประเทศใดจะถูกจัดให้อยู่ใน "สังคมผู้สูงอายุ" ประเทศนั้นจะต้องมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ปี พ.ศ. 2558 มีผู้สูงอายุอยู่ที่ ร้อยละ 13.8 และคาดว่าปี 2568 ผู้สูงอายุจะอยู่ที่ ร้อยละ 20 การที่สังคมไทยก้างสู่สังคมผู้สูงอายุย่อมส่งผลกระทบที่สำคัญ 2 ประการค่อ 1. ปัญหาที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุเอง ปัญหาด้านสุขภาพ เมื่อบุคคลอย่างเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ร่างกาย หรือ อวัยวะที่ใช้งานมามาก ส่งผลให้เจ็บป่วย โรคภัยไข้เจ็บ มากขึ้น กระทบเกี่ยวกับทุกระบบของร่างกาย ทั้งในด้านตา หู ระบบทางเดินหายใน ผิวหนัง ความดันโลหิต โรคหัวใจ ระบบย่อยอาหาร โรคเกี่ยวกับระบบประสาท กล้ามเนื้อ กระดูก ฯลฯ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ เมื่ออยู่ในวัยทำงาน สามารถหารายได้เลี้ยงตัวเองเลี้ยงครอบครัวได้อย่างเต็มที่ แต่เมื่ออย่างเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ สมรรถภาพในการทำงานลดน้อยลง ส่งผลถึงอาชีพและการหารายได้ลดลง ทำให้ผู้สูงอายุปรับตัวไม่ทัน คิดมาก มองตนเองเป็นคนไร้ค่า รู้สึกเหว่หว้า ถูกทอดทิ้ง หมดกำลังใน 2. ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคม เมื่อผู้สูงอายุมากขึ้นแน่นอนสังคมผู้สูงอายุ จะถูกมองว่าเป็นการเพิ่มภาระให้แก่สังคม การที่ประชากรไทยมีอายุสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นไปอีก เพราะประชากรวัยทำงานต้องออกจากกำลังแรงงานปกติแล้ว ผู้สูงอายุต้องกลายเป็นผู้ที่ต้องพึ่งพิงทางเศรษฐกิจต่อประชากรวัยแรงงาน กลายเป็นภาระหนักให้กับประชากรวันแรงงานในร่นต่อๆ ไป ประกอบกับผู้สูงอายุมีแนวโน้มอายุยืนขึ้นไปอีก จึงเป็นภาระของครอบครัวและสังคมที่เกี่ยวข้องในที่สุด ดังนั้นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น กลุ่ม อาวุโสตำบลบูกิต จึงตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ที่มีสุขภาพที่แข็งแร็ง ไม่มีโรค ผู้สูงอายุได้มีสุขภาพกายที่แข็งแรงมีสุขภาพจิตที่แจ่มใส จึงมีความจำเป็นในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย อารมณ์ให้กับผู้ที่เข้าวัยผู้สูงอายุในชุมชนตำบลบูกิต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ผู้สูงอายุเกี่ยวกับสาเหตุและการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งการเฝ้าระวังตนเองและหลีกเลี่ยงที่จะทำให้เกิดความพิการในวัยผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

0.00
2 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพผู้สูงอายุในความช่วยเหลือตนเองเพื่อสุขภาพ กาย ใจ สังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมและการทำกิจกรรมภายในครอบครัวและชุมชนด้วยความภาคภูมิใจ

ลดจำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นแกนนำของหมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นแกนนำของหมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์ตามหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความสนใจในกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพ เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพ โดยผู้สูงอายุต้นแบบ (ไม่มีโรค ร่างกายแข็งแรง )

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพ เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพ โดยผู้สูงอายุต้นแบบ (ไม่มีโรค ร่างกายแข็งแรง )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพโดยผู้สูงอายุต้นแบบ ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x60 บาท x1 มื้อ เป็นเงิน 3000 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 25 บาทx 2 มื้อเป็นเงิน 2500 บาท ค่ากระเป๋า สมุด ปากกาจำนวน 50 ชุด x 100 บาทเป็นเงิน 5000 บาท ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน x 6 ชม. x 600 บาทเป็นเงิน 3600 บาท ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.5 x 3 เมตรx 250 บาท เป็นเงิน 1125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทราบถึงความสำคัญและความจำเป็นของการเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15225.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,225.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ
2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจในสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมผู้สูงอายุ
3. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตให้มีความสุขได้ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสังคม


>