กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มสงสัยป่วย (Home BP) ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชุมชน กม.5

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มสงสัยป่วย (Home BP) ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ชุมชน กม.5

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง

กลุ่มอสม.ชุมชน กม.5

1.นาย อับดุลซอมะ แดบ๊อกเบอร์โทร 0987274849
2....................................................................
3. ..................................................................
4....................................................................
5. ..................................................................

ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองเบตง ตำบลเบตง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

50.00
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

50.00

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง ทุกชนิด เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ในปัจจุบันประเทศไทยให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้น เนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มี จำนวนเพิ่มขึ้นจากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ขององค์การอนามัยโลก พบว่า 1ใน๑๐ ของประชาชน ในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ 1ใน๓ มีภาวะความดันโลหิตสูง
การค้นหาและการตรวจสุขภาพของประชาชนตามกลุ่มอายุตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ เป็นภารกิจในการดำเนินงานสร้างหลักสุขภาพถ้วนหน้าที่มุ่งเน้นให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพมาก ขึ้น โดยเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยถือว่าสุขภาพเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน สำหรับการตรวจ สุขภาพในกลุ่มอายุต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มวัยทำงาน และวัยสูงอายุเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจาก พฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ อาทิ เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการทำงาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่การบริโภค เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะเครียด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการดูแลสุขภาพประชาชน เพื่อ ป้องกันและควบคุมกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เหล่านี้โดยการตรวจค้นหา คัดกรองสุขภาพของประชาชนและการควบคุม ปัจจัยเสี่ยงจากการเกิดของโรคเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนยังไม่ตระหนักถึงการดูแลและตรวจสุขภาพเพราะ คิดว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีอาการของโรค
กลุ่ม อสม. ชุมชนชุมชนกาแป๊ะกอตอในพบว่าปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง พบว่าปี ๒๕๖๑ มีประชากรอายุ๓๕ ปีขึ้นไปที่ได้รับ การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ๓,๒๒๔ ราย คิดเป็นร้อยละ๖๙.๓๗ พบเป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน ๘๗๔ ราย คิดเป็นร้อย ละ ๒๗.๐๗ กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๑๔๔ ราย คิดเป็นร้อยละ๒.๑๓ และพบผู้ป่วยรายใหม่ ของโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 4 ราย คิดเป็น ๖๔.๘๘ ต่อแสนประชากร และจากข้อมูล ณ กันยายน ๒๕๖๒ พบว่าปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ตำบลเสาธง มีกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๑๒๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓.๘๓ มีอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ ๑๑๔ ราย คิดเป็น ๑,๐๒๘.๘๘ ต่อแสนประชากร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน

ร้อยละ50ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน

50.00 60.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ จากกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ50ของกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง

20.00 10.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

50.00 30.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

50.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 0.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล ในการดูแลเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง
อย่างเพียงพอ
๒.ประชาชนตำบลเสาธง ที่เป็นกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง ได้รับการเฝ้าระวังตรวจวัด
ความดันโลหิตที่บ้าน
3.สามารถลดผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ จากกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง
4.กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดความดันโลหิตสูงที่ถูกต้อง


>