กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ภูมิคุ้มกันโรคครบตามเกณฑ์ ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการดูแลสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้มีสุขภาพดี ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารถูกต้อง เหมาะสม และพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการที่ดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดีมีพัฒนาการที่สมวัย รวมทั้งการได้รับภูมิคุ้มกันด้านต่างๆล้วนเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียน ๐-๕ ปี เป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่สำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ ๒ ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีคามสำคัญต่อการเจริญเติบโตพัฒนาขอเด็กวัยก่อนเรียน ปัญหาสุขภาพทางด้านสุขภาพที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวการณ์เจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง อีกทั้งไม่ตระหนักเท่าที่ควร
จากสถาณการณ์ดังกล่าว ทางรพ.สต.มะรือโบออก ได้มีการประเมินผลสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน (๐-๕ ปี) จากเด็กทั้งหมด ๔๘๙ คน จะพบว่าพื้นที่เขตรพ.สต.มะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ในปีที่ผ่านมา มีเด็กอายุ 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์อายุน้อยกว่าร้อยละ 95 เด็กได้รับการประเมินคัดกรองพัฒนาการ คิด เป็นร้อยละ ๙๕.๕๖ (เกณฑ์ได้รับ ๑๐๐ %)รวมทั้งมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
ดังนั้นรพ.สต.มะรือโบออกได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ภูมิคุ้มกันโรคครบตามเกณฑ์ปี ๒๕๖๖

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็ก ๐-๕ ปี มีความรู้ความเข้าในการดูแลสุขภาพเด็ก

ร้อยละ ๘๐ ของผู้ปกครองเด็ก ๐-๕ ปีที่เข้าร่วมอบรม มีความรู้ความเข้าในการดูแลสุขภาพเด็ก

63.00 55.00
2 เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการสมวัย

ร้อยละ ๘๐ ของเด็ก ๐-๕ ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ

63.00 55.00
3 เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติที่ไม่ดีเกี่ยวกับวัคซีนในชุมชน

เด็กที่มีอายุครบ 1 ปี  2 ปี  3 ปี และ 5 ปี  ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์อายุ  เพิ่มขึ้นจากเดิม  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

63.00 55.00
4 เพื่อให้เด็ก ๐-๕ ปี มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน

ร้อยละ ๖๐ ของเด็ก ๐-๕ ปี มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน

63.00 55.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 63
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๐๘.๓๐ น. - ๑๙.๐๐ น. ลงทะเบียนผู้เข้ารับการ - อบรม ๐๙.๐๐ น. - ๑๐.๓๐ น. - ให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีน พื้นฐานที่เด็กควรได้รับตามเกณฑ์อายุ และการดูแล บุตรภายหลังได้รับวัคซีน ๑๐.๓๐ น. - ๑๑.๐๐ น. - พักรับประทานอาหารว่าง
๑๑.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น. ให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็กและเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาน้ำหนักและส่วนสูงในเด็ก ที่ไม่ตามเกณฑ์ ๑๒.๐๐ น. - ๑๓.๐๐ น. - พักรับประทานอาหาร กลางวัน ๑๓.๐๐ น. - ๑๔.๓๐ น. ให้ความรู้เรื่องการประเมิน พัฒนาการในแต่ละช่วงวัย ๑๔.๓๐ น. - ๑๕.๐๐ น. - พักรับประทานอาหารว่าง
๑๕.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. - นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความตระหนักและใส่ใจในการแลบุตร

1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ที่เข้าอบรมจำนวน 63 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,780 บาท 2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่เข้าอบรม จำนวน 63 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 3,150 บาท 3.ค่าสมุด จำนวน 63 เล่ม x 15 บาทเป็นเงิน 945 บาท 4.ค่าปากกา จำนวน 63 ด้าม x 5 บาท เป็นเงิน 315 บาท 5.ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร 63 ใบ x 80 บาท เป็นเงิน5,040บาท 6.ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 7.ค่าไวนิล 1 ชุด x 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปีที่เข้าร่วมอบรม มีความรู้ความเข้าในการดูแลสุขภาพเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16730.00

กิจกรรมที่ 2 สาธิตการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
สาธิตการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของเด็ก 0-5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตาม/เยี่ยมบ้านโดยทีมกรณีวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก/เด็กขาดตรวจคัดกรองพัฒนาการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม/เยี่ยมบ้านโดยทีมกรณีวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก/เด็กขาดตรวจคัดกรองพัฒนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กที่มีอายุครบ 1 ปี2 ปี3 ปี และ 5 ปีได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์อายุเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 25

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,730.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของเด็ก
2. เด็ก 0-5 ปี ในเขตตำบลมะรือโบออกได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 90
3. ช่วยลดการเกิดปัญหาทางสุขภาพของชุมชนในอนาคต
4. เด็กที่ขาดวัคซีนได้รับการเยี่ยมบ้าน/ติดตาม
5. เด็ก 0-5 ปี มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน


>