กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรู้เท่าทัน ลดปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนตำบลมะรือโบออก ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก

1. นางสาวนูรฮายาตี สะมะแอ
2. นางสาวอุบลวรรณ เส่งสีแดง
3. นางรอตีป๊ะ ตะเย๊าะ
4. นางกลือซง แวบือซา
๕. นางนารีย๊ะ เจ๊ะเต๊ะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1

จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่าในประชากร 4 คนจะมีผู้มีปัญหาสุขภาพจิต 1 คน และอีก 2 คนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิต เช่น เป็นญาติพี่น้อง คนในครอบครัว เป็นต้น สำหรับโรคทางจิตเวชประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคทางจิตทั้งหมดจำนวน 1,152,044 ราย ส่วนใหญ่จะเริ่มป่วยในช่วงปลายวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ อายุระหว่าง 15-35 ปี ซึ่งเป็นช่วงชีวิตของการทำ งานและการสร้างครอบครัว และจากการศึกษาดัชนีวัดความสูญเสียทางสุขภาพ หรือ DALYs พบว่า ในปี พ.ศ. 2562 คนไทยสูญเสียสุขภาวะ (DALYs) ทั้งที่ควรจะมีชีวิตอยู่อย่างสุขภาพดี โดย 10 อันดับแรกสำหรับเพศชายมีโรคซึมเศร้าอยู่ในอันดับที่ 10 และในเพศหญิงโรคซึมเศร้าอยู่อันดับที่ 3 การสำรวจระดับชาติล่าสุดในปี 2561 พบคนไทยร้อยละ 14 หรือ 9 ล้านกว่าคนมีปัญหาสุขภาพจิตและในภาวะวิกฤต จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหา จึงสำรวจประชนชนที่มารับบริการใน รพ.สต มะรือโบออก พบว่า มีปัญหาสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งการประกอบอาชีพของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตเอง คนใกล้ชิดและครอบครัว หากมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดีและมีแนวทางในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตก็จะช่วยลดสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบเหล่านี้ลงได้ ดังนั้น ทางชมรม อาสาสมัครสาธารณสุข ได้เล็งเห็นถึงปัญหาสุขภาพจิตของคนในชุมชน จึงได้จัดที่โครงการ รู้เท่าทัน ลดปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนตำบลมะรือโบออก ปี ๒๕๖๖ เพื่อส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ที่อาจเกิดแก่ประชาชนในชุมชนได้

4.00

จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่าในประชากร 4 คนจะมีผู้มีปัญหาสุขภาพจิต 1 คน และอีก 2 คนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิต เช่น เป็นญาติพี่น้อง คนในครอบครัว เป็นต้น สำหรับโรคทางจิตเวชประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคทางจิตทั้งหมดจำนวน 1,152,044 ราย ส่วนใหญ่จะเริ่มป่วยในช่วงปลายวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ อายุระหว่าง 15-35 ปี ซึ่งเป็นช่วงชีวิตของการทำ งานและการสร้างครอบครัว และจากการศึกษาดัชนีวัดความสูญเสียทางสุขภาพ หรือ DALYs พบว่า ในปี พ.ศ. 2562 คนไทยสูญเสียสุขภาวะ (DALYs) ทั้งที่ควรจะมีชีวิตอยู่อย่างสุขภาพดี โดย 10 อันดับแรกสำหรับเพศชายมีโรคซึมเศร้าอยู่ในอันดับที่ 10 และในเพศหญิงโรคซึมเศร้าอยู่อันดับที่ 3 การสำรวจระดับชาติล่าสุดในปี 2561 พบคนไทยร้อยละ 14 หรือ 9 ล้านกว่าคนมีปัญหาสุขภาพจิตและในภาวะวิกฤต
จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหา จึงสำรวจประชนชนที่มารับบริการใน รพ.สต มะรือโบออก พบว่า มีปัญหาสุขภาพจิตที่เพิ่มขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งการประกอบอาชีพของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตเอง คนใกล้ชิดและครอบครัว หากมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดีและมีแนวทางในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตก็จะช่วยลดสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบเหล่านี้ลงได้
ดังนั้น ทางชมรม อาสาสมัครสาธารณสุข ได้เล็งเห็นถึงปัญหาสุขภาพจิตของคนในชุมชน จึงได้จัดที่โครงการ รู้เท่าทัน ลดปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนตำบลมะรือโบออก ปี ๒๕๖๖ เพื่อส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ที่อาจเกิดแก่ประชาชนในชุมชนได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ครอบครัว และประชาชนในชุมชม

ร้อยละ ๘๐ ของประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ครอบครัว และประชาชนในชุมชม

300.00 250.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารรณสุขในการดำเนินงานด้านสุขภาพจิต

ร้อยละ๘๐ ของอาสาสมัครสาธารณสุขสามารถประเมินปัญหาสุขภาพจิต ของประชาชนในชุมชน

300.00 250.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/09/2022

กำหนดเสร็จ 31/10/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ลงสำรวจในหมู่บ้านเพื่อพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
ลงสำรวจในหมู่บ้านเพื่อพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความร่วมมือ เข้าร่วมกิจกรรมแลกแปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต ต่อตนเอง ครอบครัว และชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้ กิจกรรมย่อย

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ กิจกรรมย่อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม ๐8.30 น. - ๐9.00 น.- ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม ๐9.00 น. - 10.00 น. – อบรมแนวคิดและความจำเป็นในการดูแลสุขภาพจิตของประชาชน (ตามช่วงชีวิตและกลุ่มโรคที่เจ็บป่วย) 10.00 น. - 10.15 น. - พักรับประทานอาหารว่าง 10.16 น - 12.00 น. – วิธีการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน 12.00 น. - 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 14.๓๐ น. – ประเมินความเสี่ยงภัยสุขภาพจิต ความก้าวหน้าของโรคและการจัดการรวมถึงการบันทึกข้อมูล 14.30 น. - 15.30 น. – ประเมินความรู้เกี่ยวกับการจัดการสุขภาพจิตของตนเอง ครอบครัว และชุมชน 15.30 น. - 16.30 น. - ซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับความรู้และร่วมกันแสดงความคิดเห็น งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ที่เข้าอบรมจำนวน 55 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,300 บาท 2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่เข้าอบรม จำนวน 55 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 2,750 บาท ๓.ค่าสมุด จำนวน 55 เล่ม x 15 บาทเป็นเงิน 825 บาท ๔.ค่าปากกา จำนวน 55 ด้าม x 5 บาท เป็นเงิน 275 บาท ๕.ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร 55 ใบ x 80 บาท เป็นเงิน 4,400บาท ๖.ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาm ๗.ค่าไวนิล ๑ ชุด x 500 บาท เป็นเงิน 500 บาท รวมเป็นเงิน 15,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง ครอบครัว และประชาชนในชุมชม ร้อยละ 80 อาสาสมัครสาธารณสุขสามารถประเมินปัญหาสุขภาพจิต ของประชาชนในชุมชน ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15050.00

กิจกรรมที่ 3 ศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

ชื่อกิจกรรม
ศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 กันยายน 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุขที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถประเมินตนเอง และครอบครัวได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในชุมชนสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติใช้กับตนเอง
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถประเมินสุขภาพจิตได้ด้วยตัวเอง
3. ชุมชนลดการเกิดปัญหาสุขภาพจิต


>