กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ตำบลอ่างทอง ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะขนุน

1.นายทวีชูศรีเพชร
2.นางหัชชกานต์ขวัญมิ่ง
3.นางชนวรรณสารพร
4.นางสาวจิตรวรรณแดงสกุล
5.นางสาวกันติมาขวัญเพชร

โรงพยาบาลส่งเสิมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะขนุน ตำบลอ่างทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีจำนวนผู้ป่วยมากเป็นอันดับ 1 ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปีงบประมาณ 2565 ตำบลอ่างทอง มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 196 ราย ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 454 ราย การคัดกรองและป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และช่วยลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโล๊ะขนุน ตำบลอ่างทอง จึงมุ่งเน้นกิจกรรมการให้บริการเชิงรุกในชุมชน แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1709 คนซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในอนาคตได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองฯ และค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโหิตสูง 2.เพื่อพัฒนาทักษะและความรู้เครือข่ายแกนนำชุมชนในการตรวจคัดกรองฯ เพื่อนำไปสู่การปฎิบัติงานในชุมชน 3.เพื่อเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

1.ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรอง โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ครอบคลุมมากกว่า ร้อยละ 90
2.เครือข่ายแกนนำชุมชนมีความรู้ในการตรวจคัดกรองฯและนำไปสู่การปฎิบัติงาน ในชุมชน ร้อยละ 80 3.ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

3.00 1709.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,709
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพ อสม.ผู้ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพ อสม.ผู้ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับแกนนำชุมชน อสม. คนละ 1 มื้อๆละ 80 บาท จำนวน 115 คน เป็นเงิน 8,050 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับแกนนำชุมชน อสม. จำนวน 115 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,750 บาท 3.ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองความเสี่ยงด้วยวาจา จำนวน 1,200 แผ่นๆละ 1 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครือข่ายแกนนำได้รับการพัฒนาทักษะ สามารถให้ความรู้และบริการตรวจวัด คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจอยู่ในระดับผิดปกติ ได้รับการส่งต่อวินิจฉัยและรักษา
3.เครือข่ายแกนนำได้รับการพัฒนาทักษะ สามารถให้ความรู้และบริการตรวจวัด คัดกรองกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง
4.ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงได้รับการเยี่ยมและเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพจากเจ้าหน้าที่/แกนนำเครือข่ายอย่างต่อเนื่องลดอัตราป่วยและการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้


>