กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ควบคุม ก่อนการระบาดโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทับ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ

เขตพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์ผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลนาทับ พบว่ามีผู้ป่วยต่อเนื่องในทุกๆปี จากข้อมูลทางระบาดวิทยา ของ รพ.สต.นาทับ ข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี (ปี 2560-2564) พบผู้ป่วยตามลำดับดังนี้ ปี 2560 จำนวน 21 ราย ปี 2561 จำนวน 16 ราย ปี 2562 จำนวน 12 ราย ปี 2563 จำนวน 6 ราย ปี 2564 จำนวน 0 ราย และในปี พ.ศ.2565 พบผู้ป่วยทั้งหมด 6 ราย อาศัยอยู่หมู่ที่ 1 จำนวน 1 ราย หมู่ที่ 10 จำนวน 1 ราย หมู่ที่ 12 จำนวน 2 ราย และหมู่ที่ 13 จำนวน 2 ราย ซึ่งโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ ซึ่งการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในฤดูฝย สาเหตุเกิดจากน้ำขังในภาชนะต่างๆ ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพนั้นควรเตรียมความพร้อม ควบคุมและกำจัดยุงลายก่อนถึงช่วงระบาดของโรค ประกอบกับพื้นที่ตำบลนาทับเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และมีลำคลองหลายสาย ด้วยสภาพอากาศร้อนชื้นและมีฝนตกต่อเนื่องเกือบตลอดทั้งปี ทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในหมู่บ้าน จึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก โดยการวางแผนงานกิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในทุกๆปี กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาทับ ร่วมกับอสม.ในพื้นที่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ ได้ร่วมกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ควบคุม ก่อนการระบาดโรคไข้เลือดออก เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดในพื้นที่ตำบลนาทับต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.ลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออก
2.ลดอัตราป่วยตายของโรคไข้เลือดออก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2022

กำหนดเสร็จ 30/04/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพ่นหมอกควัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพ่นหมอกควัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-กิจกรรมพ่นหมอกควัน 1.โรงเรียน 3 แห่งจำนวน3 ครั้ง 2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4แห่งจำนวน8 ครั้ง 3.วัด 1แห่งจำนวน2ครั้ง 4.มัสยิด-บาลาย6แห่งจำนวน12 ครั้ง 5.หน่วยงานราชการ1แห่งจำนวน 2 ครั้ง -ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (เบนซิน+โซล่า) จำนวน 22,500 บาท -ค่าจ้างพ่นหมอกควัน30 ครั้งๆละ 300 บ. = 9,000 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนในพื้นที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก 2.ไม่มีอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก 3.ชุมชนสามารถป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อในชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในพื้นที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
2.ไม่มีอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก
3.ชุมชนสามารถป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อในชุมชน


>