กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขภาวะทุพโภชนาการและโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กอายุ 6 เดือน - 5 ปี ตำบลตันหยงจึงงา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขภาวะทุพโภชนาการและโรคโลหิตจางที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กอายุ 6 เดือน - 5 ปี ตำบลตันหยงจึงงา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 6 เดือน- 5 ปีที่มีภาวะซีด

 

46.67
2 ร้อยละของเด็กอายุ 6 เดือน-5ปี ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

41.23
3 ร้อยละของมารดาที่กำลังให้นมบุตรที่มีภาวะซีด

 

50.00

ช่วงอายุแรกเกิดถึง 5 ปี เป็น“โอกาสทอง” ในการ พัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวที่คุ้มค่ามากที่สุด การส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโต ด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่าง ๆ อย่างเต็มศักยภาพ ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี ส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตดี มีร่างกายแข็งแรง สติปัญญาดี มีความสามารถในการเรียนรู้ สร้างระบบภูมิต้านทานโรคและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง คลินิกเด็กดีคุณภาพ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นสถานที่หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญ ในการกระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโต และ มีพัฒนาการ อย่างรอบด้านอย่างเต็มศักยภาพในภาวะแวดล้อมที่ปลอดภัย จากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทยอายุ 6 เดือน – 12 ปี ระหว่างปีพ.ศ.2553-2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey (SENUTS) เด็กไทยกลุ่มปฐมวัยมีความชุกโลหิตจางสูงในเขตชนบทถึงร้อยละ 41.7 และเขตเมืองมีความชุกร้อยละ 26โลหิตจางในเด็กมีสาเหตุหลักมาจาก1) การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่พียงพอในขณะที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโตจึงต้องการธาตุเหล็กมากขึ้นและ 2) สาเหตุจากการเสียเลือด อาจเกิดเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ หรือจากเลือดออกเรื้อรัง เช่น พยาธิปากขอ มีแผลในกระเพาะอาหาร และการเสียเลือดจากประจำเดือนในเด็กหญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นต้น ทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ก่อ ให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร
จากสถานการณ์ด้านภาวะการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย (0 –5 ปี) ในพื้นที่ /รพ.สต ตันหยงจึงงา พบว่ามีเด็กอายุ 0-5 ปี จำนวน 114 คน มีปัญหาน้ำหนักน้อยต่ำกว่าเกณฑ์ 47 คน คิดเป็นร้อยละ 41.23 และเด็กที่มีอายุ 6 เดือน - 1 ปี จำนวน 15 คน มีภาวะโลหิตจาง 7 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67 ทั้งนี้ การขาด/พร่องธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ที่ก่อให้เกิดโลหิตจางในเด็ก และเป็นภาวะที่พบบ่อยที่สุดของภาวะขาดสารอาหาร ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ธาตุเหล็กมีมากในสมองเป็นส่วนประกอบของไมอีลินชีท นิวโรทรานสมิตเตอร์ และมีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรค ดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการทำงานด้านกายภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองของเด็กก่อนวัยเรียน โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปีอีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กวัยเรียน และอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้
ดังนั้น รงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา จึงได้จัดทำโครงการที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างมีคุณภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริม จะช่วยกระตุ้นการเข้าถึงบริการป้องกันโลหิตจางของเด็กปฐมวัยและเด็กโตให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพเพื่อให้เด็กปฐมวัยเติบโตได้อย่างมีศักยภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะซีดในเด็กอายุ 6 เดือน - 5 ปี

เด็กอายุ 6 เดือน- 5 ปี ได้รับการคัดกรองภาวะซีด ร้อยละ 80

20.00 100.00
2 เพื่อให้เด็กอายุ 6 เดือน- 5 ปี ที่มีภาวะซีดได้รับการดูแล

เด็กอายุ 6 เดือน- 1 ปี มีภาวะซีดลดลง ร้อยละ 50

47.00 24.00
3 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็ก อายุ 0 - 5 ปี

เด็กที่มีอายุ 0 - 5 ปีมีภาวะทุพโภชนาการลดลง ร้อยละ 50

41.23 20.50
4 เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวัง และดูแล

เด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการส่งเสริมโภชนาการ ร้อยละ 100

41.23 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองและประเมินโภชนาการและภาวะซีดในเด็กอายุ 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองและประเมินโภชนาการและภาวะซีดในเด็กอายุ 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงวัดรอบศีรษะ และเจาะเลือดดูระดับความเข้มข้นของเลือด เป้าหมาย 20 คน -ค่าเครื่องตรวจระดับความเข้มข้นของเลือดในเด็ก(heamatocute) พร้อมแผ่นตรวจ จำนวน 1 เครื่องเป็นเงิน40,000 บาท -ค่าจ้างเหมาทำป้ายประชาสัมพันธ์ขนาด 2 ตารางเมตรๆละ 250 บาทเป็นเงิน500 บาท -ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ สำหรับการสัมภาษณ์เด็กจำนวน 20 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท -ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 2 เครื่องๆละ 500 บาท เป็นเงิน1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 6 เดือน - 5 ปี ได้รับการประเมินภาวะทุพโภชนาการและภาวะซีด ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้มารดาและอสม.ประจำละแวกเกี่ยวกับภาวะซีดและผลกระทบจากภาวะซีด ในเด็กอายุ 6 เดือน – 1 ปี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้มารดาและอสม.ประจำละแวกเกี่ยวกับภาวะซีดและผลกระทบจากภาวะซีด ในเด็กอายุ 6 เดือน – 1 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและภาวะซีด ,การนวดเพื่อกระตุ้นโกรทฮอร์โมน
2.การสาธิตเมนูอาหารสำหรับเด็ก - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน ๆ 1 มื้อๆละ ไม่เกิน 50 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 20 คน ๆ ละ 2 มื้อๆละ ไม่เกิน 35 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท - ค่าตอบแทนการบรรยาย จำนวน 3 คน ๆ ละ 2 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอุปกรณ์และวัตถุดิบสำหรับสาธิตการประกอบอาหาร เป็นเงิน 2,000 บาท - คู่มือโภชนาการสำหรับการดูแลเด็ก จำนวน20 เล่ม ๆละ 70 บาทเป็นเงิน 1,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มารดา/ผู้ดูแลเด็ก อาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการในเด็ก 0-5 ปีร้อยละ 80 2.มารดา/ผู้ดูแลเด็กสามารถจัดปรุงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชาการให้เด็กได้อย่างหมาะสมร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9400.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมภาวะโชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมภาวะโชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดหาอาหารเสริมที่มีคุณค่าทางอาหารเหมาะสมและสอดคล้องกับนิสัยการกินของเด็ก
2.จ่ายยาเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กที่มีภาวะซีดและมาดาที่ให้นมบุตรที่มีภาวะซีดร่วมด้วย
- ค่านม จำนวน 20 คน วันละ 2 กล่องๆ 10 บาท 100 วัน เป็นเงิน40,000 บาท (คละรสตามความต้องการของเด็ก) - ค่าไข่ จำนวน 20 คน เดือนละ 2 แผง ๆ ละ 140 บาท 3 เดือน เป็นเงิน 16,800 บาท - ยาเสริมธาตุเหล็กแก่เด็ก จำนวน 20 คนๆละ 2 ขวดๆละ 100 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ปัญหาภาวะทุพโภชนาการและภาวะซีดในเด็ก 0 -5 ปี ลดลงร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
60800.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามและประเมินภาวะโภชนาการและภาวะซีด

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินภาวะโภชนาการและภาวะซีด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามชั่งน้ำหนักเด็ก วัดส่วนสูง รอบศีรษะ
2.เจาะหาระดับความเข้มข้นของเลือดเดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน (เจาะเลือดโดยเจ้าหน้าที่) 3.ติดตามและประเมินการรับประทานอาหารเสริมที่สนับสนุน
-ค่าตอบแทนอสม.ติดตามเด็ก จำนวน 20 คนๆละ 50 บาท เดือนละ 1 ครั้งเป็นเวลา 3 เดือน เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการติดตามและประเมินผลภาวะโภชนาการและได้รับการส่งต่อกรณีที่มีความผิดปกติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 115,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กไทยช่วงอายุ 6 เดือน– 5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางและยาเสริมธาตุเหล็กได้อย่างทั่วถึง
เด็กที่มีภาวะซีดได้รับการติดตามดูแล


>