กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

เทศบาลตำบลอ่างทอง

ตำบลอ่างทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

61.12
2 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

55.45
3 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

30.12
4 ร้อยละของหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน

 

63.11

เนื่องจากสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ จากสภาพสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสภาพแวดล้อม ทำให้หลายๆ คนมองข้ามการออกำลังกาย หลายคนอ้างไม่มีเวลา บางคนเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นการออกกำลังกาย จึงเป็นสาเหตุต้นๆ ที่ทำให้สุขภาพอ่อนแอลงและอาจจะประสบปัญหาการเจ็บป่วยต่างๆ ตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน และอื่นๆอีกมากมาย ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆที่มีความสะดวกสบาย ทำให้วิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไป ประชาชนมีการออกกำลังกายน้อยลง ทำให้สุขภาพร่างกายของประชาชนในปัจจุบันแย่ลงจากเดิม วัดได้จากสภาวะสุขภาพที่ดี คนที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น โรคอ้วนลงพุงเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณะสุขที่สำคัญของประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมไม่ออกกำลังกายและพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งถ้าหากประชาชนได้รับการแนะนำการออกกำลังกายที่ถูกวิธีและสม่ำเสมอก็สามารถลดปัญหาและส่งเสริมสุขภาพกายและ ใจได้ดี มีความเป็นอยู่อย่างมีความสุขทั้งทางรางกาย จิตใจ สังคม อารมณ์และสติปัญญา โดยให้ประชาชนสามารถดูแลและสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้เป็นอย่างดี และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ดังนั้น จึงได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนได้มาใส่ใจในการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

61.12 65.12
2 เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

55.45 57.32
3 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

30.12 33.23
4 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน

ร้อยละของหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน

63.11 65.45

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/05/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมผู้เข้าร่วมกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค วันละ1 ชั่วโมง - ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2×2.4 จำนวน 1 xป้าย เป็นเงิน500บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน1,200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2566 ถึง 30 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีสุขภาพดี
  2. ประชาชนเห็นความสำคัญของการส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  3. ประชาชนมีการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคอย่างต่อเนื่อง
  4. ประชาชนได้ผ่อนคลายความเครียดด้วยการเต้นแอโรบิค
  5. ประชาชนเกิดความรักใคร่สามัคคีจากการพบปะพูดคุยที่ได้ร่วมทำกิจกรรมแอโรบิคกันเป็นประจำ
  6. มีพื้นที่ที่เอื้อต่อการออกกำลังกายของคนในชุมชน มีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน 7.ประชาชนใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1700.00

กิจกรรมที่ 2 ค่าจ้างวัดดัชนีมวลกาย ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
ค่าจ้างวัดดัชนีมวลกาย ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน ก่อนออกกำลังกาย ดัชนีมวลกาย (BMI) ครั้งละ 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2566 ถึง 30 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ทราบค่าดัชนีมวลกาย คือได้ทราบมาตรฐานเพื่อประเมินสภาวะของร่างกายว่า มีความสมดุลของน้ำหนักตัวต่อส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ ค่าดัชนีมวลกายนี้เป็นการคัดกรองเพื่อระบุผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือภาวะอ้วนและผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 3 ออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค

ชื่อกิจกรรม
ออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค วันละ1 ชั่วโมง จำนวน 40 คน - ค่าตอบแทนวิทยากรผู้สอนนำเต้น วันละ 1 ชั่วโมงๆละ 200 บาท จำนวน 60 ชั่วโมง เป็นเงิน 12,000บาท - ค่าน้ำดื่มบริการผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 60 ครั้ง ๆ ละ 40 บาทเป็นเงิน 2400บาท - ค่าเครื่องเสียงพร้อมลำโพง จำนวน 1 ชุดเป็นเงิน2,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2566 ถึง 30 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีสุขภาพดี
  2. ประชาชนเห็นความสำคัญของการส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  3. ประชาชนมีการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคอย่างต่อเนื่อง
  4. ประชาชนได้ผ่อนคลายความเครียดด้วยการเต้นแอโรบิค
  5. ประชาชนเกิดความรักใคร่สามัคคีจากการพบปะพูดคุยที่ได้ร่วมทำกิจกรรมแอโรบิคกันเป็นประจำ
  6. มีพื้นที่ที่เอื้อต่อการออกกำลังกายของคนในชุมชน มีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน 7.ประชาชนใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16400.00

กิจกรรมที่ 4 ค่าจ้างวัดดัชนีมวลกาย ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
ค่าจ้างวัดดัชนีมวลกาย ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน ก่อนออกกำลังกาย วัดดัชนีมวลกาย (BMI) ครั้งละ 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2566 ถึง 30 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ทราบค่าดัชนีมวลกาย คือได้ทราบมาตรฐานเพื่อประเมินสภาวะของร่างกายว่า มีความสมดุลของน้ำหนักตัวต่อส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ ค่าดัชนีมวลกายนี้เป็นการคัดกรองเพื่อระบุผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือภาวะอ้วนและผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 5 ประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2566 ถึง 30 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ทราบผลสำเร็จของโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1ประชาชนมีสุขภาพดี
2ประชาชนเห็นความสำคัญของการส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสม
3ประชาชนมีการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิคอย่างต่อเนื่อง
4ประชาชนได้ผ่อนคลายความเครียดด้วยการเต้นแอโรบิค
5ประชาชนเกิดความรักใคร่สามัคคีจากการพบปะพูดคุยที่ได้ร่วมทำกิจกรรมแอโรบิคกันเป็นประจำ
6มีพื้นที่ที่เอื้อต่อการออกกำลังกายของคนในชุมชน มีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน 7.ประชาชนใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด


>